ประธาน กสม.ยืนยันไม่ได้รวบอำนาจ จนทำให้กรรมการออก

กสม. 31 ก.ค.- ประธาน กสม.ยืนยันไม่ได้รวบอำนาจ จนเป็นเหตุให้ “อังคณา-เตือนใจ” ลาออก  พร้อมย้ำ  3 กสม.ที่เหลือจะทำหน้าที่ต่อไป  เตรียมส่งหนังสือด่วนถึงประธาน “ศาลฎีกา-ศาลปกครอง” เพื่อเลือก กสม.ชั่วคราว 


นายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)    แถลงข่าว หลังนางอังคณา นีละไพจิตร และนางเตือนใจ ดีเทศน์ ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น กสม.  ว่า ได้รับหนังสือลาออกจากทั้ง 2 คน ช่วงเช้าวันนี้ (31 ก.ค.) และจะทำหนังสือด่วนที่สุด วันนี้ ถึงประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองเพื่อให้ทำการคัดเลือก กสม.ขึ้นมาทำหน้าที่ชั่วคราว ระหว่างรอการสรรหา กสม.ชุดใหม่  ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน  เดิม กสม.มีจำนวน 7 คน  ในจำนวนนี้ 1 คนทำหน้าที่ประธาน   ซึ่งก่อนรัฐธรรมนูญ 60 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 เม.ย.มี กสม. 1 คน ลาออก และเมื่อ 1 มิ.ย. 62 ก็มี กสม.อีก 1 ลาออกไปทำหน้าที่ในองค์กรอื่น  จนล่าสุดมี กสม. 2 คน ยื่นหนังสือขอลาออก  ทำให้ขณะนี้เหลือ กสม.ทำหน้าที่อยู่ 3 คน

“การทำหน้าที่ของ กสม.ที่ผ่านมาต้องทำหน้าที่ในฐานะองค์กรกลุ่ม  ที่ต้องมีการให้ความเห็น  และเมื่อความเห็นต่างก็ต้องลงมติเป็นเอกฉันท์ ซึ่งหลายครั้งผมมักเป็นเสียงข้างน้อย  โดยเฉพาะการประชุม 2 ครั้งหลังสุด  แต่ผมก็เคารพเสียงข้างมากในการตัดสินใจ  ดังนั้น ข้อความที่ระบุว่า ประธาน กสม.รวบอำนาจไว้คนเดียวไม่เป็นความจริง” นายวัส   กล่าว 


นายวัส   กล่าวว่า การทำหน้าที่ของ กสม.มี 2 ส่วนสำคัญ คือ  1. เรื่องการคุ้มครองสิทธิ ที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน  แม้ไม่มีผู้ร้องเรียนก็สามารถหยิบยกขึ้นมาตรวจสอบเองได้  รวมทั้ง กรณีที่ กสม.ได้รับมอบหมายจากที่ประชุม  การที่ปรากฏว่าห้าม กสม.รับคำร้องจากชาวบ้านในข้อเท็จจริงไม่เคยมีการห้าม  แต่เป็นเพียงหนึ่งในวิธีการที่จะรับเรื่องร้องเรียน   

นายวัส   กล่าวว่า  2. ด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน  ก็มีการจัดเวทีให้ความรู้ส่งเสริมประชาชนเข้าใจในเรื่องสิทธิ   และส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าตั้งแต่มี กสม.ชุดนี้ เมื่อเดือน พ.ย. 58  ทำงานมา 3 ปีเศษ  เมื่อเข้าทำงานมีเรื่องร้องเรียนที่ค้างอยู่ 90%  แต่พอชุดนี้เข้ามาก็เร่งดำเนินการ  หลังปรับระบบการทำงานทำให้เรื่องร้องเรียนเสร็จไปถึง 81%  เหลือค้างไม่ถึง 20 % โดยเรื่องที่เหลืออยู่ในกระบวนการกลั่นกรอง

“ตอนที่มี กสม.เหลืออยู่ 5 คน  เราทำงานกันด้วยดีมาตลอด ความเห็นไม่ตรงกันก็ใช้วิธีการลงมติเพื่อหาข้อยุติ  รายงานการตรวจสอบที่ออกไปก็เป็นไปอย่างมีคุณภาพ  มีชื่อเสียงไปทั่วโลกที่ประเทศต่างๆ ชูประเทศไทยเป็นตัวอย่าง โดยเฉพาะการที่จะมาดูงานด้านสิทธิมนุษยชน  เช่น เนปาล  ยอมรับว่าเสียดายกับสิ่งที่เกิดขึ้น  การทำงานมีความเห็นแตกต่างกันได้  แต่ผลงานจะเป็นที่ยืนยัน  ซึ่งรายงานที่ กสม.ออกไปมีข้อโต้แย้งน้อยมาก” นายวัส กล่าว


อย่างไรก็ตาม นายวัส กล่าวว่า  การลาออกในขณะนี้ ทำให้เหลือ กสม.เพียง 3 คน ทำให้องค์ประชุมเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่ง  ในแง่ขององค์กรกลุ่มทำให้ไม่สามารถประชุมเพื่อออกรายงานของ กสม.ได้  แต่ทั้ง 3 คนก็จะยังคงทำหน้าที่ต่อไป      

ส่วนที่มีการอ้างว่า กสม.มีวางแนวปฏิบัติในเรื่องการให้ข่าวเคร่งครัดนั้น นายวัส  ยืนยันว่า ไม่ได้มีการห้าม เพราะไม่มีอำนาจจะไปห้ามเป็นการส่วนตัว แต่การให้ข่าวขององค์กร กลุ่มต้องมีมาตรฐานและมีระเบียบ ซึ่งที่ผ่านมา กสม.ออกแนวปฏิบัติในการให้ข่าว  โดยกำหนดว่าถ้าเป็นเรื่องสำคัญก็ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือคนที่ได้รับมอบหมาย   ส่วนที่เป็นเรื่องอำนาจหน้าที่ของ กสม.แต่ละคนก็สามารถให้ข่าวได้  แต่การให้ข่าวเรื่องที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ และข้อเท็จจริงยังไมได้สรุป ก็เป็นเรื่องที่สมควรต้องหลีกเลี่ยง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการแถลงข่าวของประธาน กสม.นี้  นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กสม. ที่ไม่ได้ลาออก  ได้มาร่วมฟังการแถลงข่าว ขณะที่ นางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง กสม. ติดภารกิจเดินทางไปต่างประเทศ   โดยนางประกายรัตน์  กล่าวว่า ส่วนตัวได้พบกับ  1 ใน กสม.ทื่ยื่นลาออกไป  และได้พยายามยับยั้งขอให้ทำหน้าที่ต่อไป   ส่วนตัวจะไม่ลาออก  จะอดทนทำหน้าที่  เพราะถือว่าอาสาเข้ามาทำหน้าที่นี้แล้ว ก็ต้องเดินหน้าสานต่อ และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนต่อไป  เชื่อว่าหลายคนที่ทราบข่าวการลาออกคงรู้สึกตกใจไม่น้อย  แต่ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของทั้งสองคน   

“เราควรต้องอยู่เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามหน้าที่อำนาจ  ดิฉันกับท่านประธานจะอยู่ทำงาน  ถึงเราจะอยู่กับ 3 คน ก็ยังสามารถดูแลสิทธิมนุษยชนของประชาชน  แม้จะมีข้อจำกัดในบางเรื่อง ก็หวังว่าทางออกที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ในบทเฉพาะกาล จะทำให้เราได้ กสม.ชั่วคราวเข้ามาช่วยทำงาน  เพื่อช่วยออกรายงานการประชุมในการเสนอต่อ ครม.ได้”   นางประกายรัตน์  กล่าว และระบุว่าไม่สามารถแสดงความเห็นหรือทราบว่า นางฉัตรสุดาจะมีความเห็นอย่างไร  ต่อการที่ กสม. 2 คนลาออก .- สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เติมน้ำมันไม่จ่าย

แท็กซี่เติมน้ำมันไม่จ่าย ซิ่งหนีพุ่งชนรถ 5 คันรวด

ตำรวจชัยภูมิ ไล่ล่าแท็กซี่เติมน้ำมัน แล้วซิ่งหนี ไม่จ่ายเงิน แถมยังขับพุ่งชนรถตำรวจ รถเก๋งและรถ 6 ล้อ รวม 5 คันรวด

ขับรถชนคน

คนร้ายขับรถชนกลุ่มคนในตลาดคริสต์มาสเยอรมนี ดับ 2 ราย

คนร้ายขับรถยนต์พุ่งเข้าชนกลุ่มคนจำนวนมากที่จับจ่ายซื้อของและเที่ยวชมตลาดคริสต์มาสในเยอรมนีในช่วงเย็นวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น

นักการเมืองแห่งปี

“แพทองธาร” ปลื้ม นอร์ทโพล ประชาชนให้เป็น “นักการเมืองแห่งปี”

“แพทองธาร” นายกฯ ปลื้ม นอร์ทโพล เผยประชาชนยกให้เป็น “นักการเมืองแห่งปี” รับกดดัน แต่ขอทำงานเต็มที่-ไม่สร้างดราม่า ชี้ ครม.ทุกคนทำงานหนัก หากช่วยกันจะพัฒนาประเทศ