กรุงเทพฯ 29 ก.ค.-อธิบดี กรมปศุสัตว์ สั่งตรวจเข้มแนวชายแดน เฝ้าระวังวัตถุดิบใช้ผลิตอาหารสัตว์ป้องกันการปนเปื้อนอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
ลามเข้าไทย
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต
อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวถึงกรณีสถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ซึ่งพบการระบาดในประเทศมองโกเลีย
จีน เวียดนาม กัมพูชา เกาหลีเหนือ และ ลาวว่า ปัจจุบันยังไม่พบโรคนี้ระบาดในประเทศไทย
แต่เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรผ่านทางอาหารสัตว์
กรมปศุสัตว์จึงวางมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรค ASF ในอาหารสัตว์
ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงมือเกษตรกร
ในกรณีอาหารสัตว์นำเข้า วัตถุดิบอาหารสัตว์นำเข้าจากแหล่งผลิตประเทศต้นทางมาใช้ในโรงงานผลิตอาหารสัตว์ต้องเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์จากแหล่งที่มีมาตฐานเชื่อถือได้
หากประเภทโปรตีนก่อนการนาเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์
เจ้าหน้าที่เข้าตรวจรับรองโรงงานแหล่งผลิตอาหารสัตว์ต้นทางในประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีความเสี่ยงตามกฎหมาย
กาหนด ต้องมีหนังสือรับรองสุขภาพ (Heath Certificate) หรือหนังสือรับรองสุขอนามัยพืช
(Phytosanitary Certificate) ของประเทศนั้นๆ
เมื่อสินค้ามาถึงเจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์จะตรวจสอบสภาพตู้คอนเทนเนอร์
บรรจุภัณฑ์ และลักษณะทางกายภาพของวัตถุดิบอาหารสัตว์ พร้อมทั้งสุ่มเก็บตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์ส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบโรค
ASF และต้องมีการพ่นยาฆ่าเชื้อโรคที่ยานพาหนะที่ใช้ขนส่งกรณีผ่านทางชายแดนเพื่อให้
มั่นใจได้ว่าสามารถป้องกันการปนเปื้อนโรค ASF ได้
ส่วนกรณีอาหารสัตว์ที่ผลิตภายในประเทศ ทั้งนี้โรงงานผลิตอาหารสุกรต้องได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์
โดยก่อนออกใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์และมีการตรวจติดตามอย่างน้อยปีละ 2
ครั้งและตรวจต่ออายุทุก 3 ปีโดย โรงงานผลิต
อาหารสัตว์ต้องมีการจัดเก็บอาหารสัตว์ให้แยกเป็นสัดส่วน
มีสุขลักษณะที่ดีสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรค
รวมทั้งจัดให้มีมาตรการกำจัดสัตว์พาหะอย่างมีประสิทธิภาพ
เจ้าหน้าที่จะเข้าสุ่มเก็บตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์ (Feed ingredients) และอาหารสัตว์
(Finish product) ที่โรงงานผลิตอาหารสัตว์ส่งตรวจวิเคราะห์ทาง
ห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบหาการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสก่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
สำหรับสถานที่ขายอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยง
มีเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและสุ่มเก็บตัวอย่างเช่นเดียวกัน สำหรับปุ๋ยนั้น
กรมปศุสัตว์ร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรในการตรวจสอบและเก็บตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์เคมีที่มีเนื้อ
กระดูกเลือด และขนของสัตวบดละเอียดเป็นส่วนประกอบ อีกด้วย นอกจากนี้ได้สุ่มเก็บตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์คือ
มันเส้นและข้าวโพดเมล็ดเลี้ยงสัตว์นำเข้าจากประเทศกัมพูชาเพื่อส่งตรวจหาโรค ASF ส่งตรวจที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติได้เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น
53 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์เสร็จแล้ว 15 ตัวอย่างปรากฏว่า ไม่พบโรค ASF ทุกตัวอย่าง
ส่วนตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เหลืออยู่ระหว่างรอผลตรวจวิเคราะห์.-สำนักข่าวไทย