ผลวิจัยหนุนช่วยค่าไฟฟ้าฟรีผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

กรุงเทพฯ 2 ก.ค. – ผลวิจัยทีดีอาร์ไอเผยมาตราการไฟฟ้าฟรีช่วยผู้มีรายได้น้อยปี 56 – 58 แม้เข้าถึงครัวเรือนรายได้น้อยยังมีรั่วไหลไปยังคนไม่จนจริง แนะอุดช่องโหว่นโยบาย เก็บตกคนจนให้ทั่วถึง หนุนยกเลิกผูกสิทธิ์ตามโควตาการใช้ ปรับเป็นแบบเหมาจ่ายต่อเดือน โดยสนับสนุนจ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ


น.ส.วิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นำเสนอผล งานวิจัยโครงการประเมินนโยบายไฟฟ้าฟรีเพื่อผู้มีรายได้น้อย  ในงาน TSRI FORUM “ทางเลือกนโยบาย…เพื่อความเป็นธรรมด้านพลังงาน” ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีเป้าหมายศึกษานโยบายอุดหนุน “ไฟฟ้าฟรี” ในช่วงรัฐบาล คสช. ปี 2556 – 2558  ที่อุดหนุนไฟฟรีให้แก่ครัวเรือนที่ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือนในอดีต หรือ 50 หน่วยต่อเดือนในปัจจุบัน  

ผลวิจัยเทียบเคียงสัดส่วนผู้ที่ได้รับสิทธิ์ไฟฟ้าฟรีกับครัวเรือนรายได้น้อยแต่ละจังหวัด พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ค่อนข้างสูงคือร้อยละ 64 ซึ่งหมายความว่าจังหวัดที่มีสัดส่วนครัวเรือนรายได้น้อยมากจะมีสัดส่วนผู้ได้รับสิทธิ์ไฟฟ้าฟรีมากเช่นกัน (อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนักวิจัยไม่สามารถเชื่อมข้อมูลผู้ได้รับสิทธิ์ไฟฟ้าฟรีกับฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมได้ จึงไม่ทราบว่าผู้ได้รับสิทธิ์ไฟฟ้าฟรีนั้นส่วนใหญ่คือครัวเรือนรายได้น้อยจริงหรือไม่) แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ จึงทำให้ไม่ได้ใช้สิทธิ์ดังกล่าวประมาณ 10,996 ครัวเรือน ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ตาก นครนายก น่าน และลำพูน อีกทั้งครัวเรือนที่ไม่มีมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นของตัวเองก็ไม่ได้รับสิทธิ์ ได้แก่ กลุ่มผู้เช่าอยู่ และผู้อาศัยในเพิงพักพิงชั่วคราว ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดปี 2558 มีจำนวน 15,497 ครัวเรือน


สำหรับปริมาณไฟฟ้าที่ภาครัฐให้การอุดหนุนให้ใช้ฟรีปี  2558 อยู่ที่ไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน พบว่ายังต่ำกว่าความต้องการไฟฟ้าพื้นฐานของครัวเรือนรายได้น้อย เนื่องจากการสำรวจสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเมื่อปี 2559 พบว่าความต้องการใช้ไฟของครัวเรือนที่มีสมาชิก 2.5 คน มีความจำเป็นใช้ไฟขั้นต่ำอยู่ที่ 60 หน่วยต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าที่รัฐอุดหนุนและจำนวนสมาชิกในครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยของประเทศไทยส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกเฉลี่ย 3.3 -3.5 คนต่อครัวเรือน และครัวเรือนรายได้น้อยเกือบ 25% มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 5 คน ดังนั้น การอุดหนุนจึงยังไม่เพียงพอและไม่เป็นธรรมสำหรับครัวเรือนที่มีขนาดใหญ่

ผลศึกษาปัญหาการรั่วไหลของนโยบายไฟฟ้าฟรี พบว่ายังมีการรั่วไหลไปนอกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งพิจารณาจากครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า 50 หน่วยต่อเดือนแต่ไม่สม่ำเสมอ สันนิษฐานว่าอาจเป็นบ้านหลังที่ 2 ที่ไม่ควรได้รับสิทธิ์ไฟฟ้าฟรี

“ระหว่างปี 2555 – 25558 พบว่าเงินอุดหนุนที่รั่วไหลในเขต กฟภ. ที่อุดหนุนให้กับการรั่วไหลที่อาจไปยังบ้านหลังที่ 2 มีมูลค่าสูงถึง 830 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ผลกระทบจากนโยบายยังทำให้เกิดกรณีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลดการใช้ไฟฟ้าลง 1-2 หน่วย เพื่อได้รับสิทธิ์ไฟฟ้าฟรี ซึ่งเห็นได้จากข้อมูลการใช้ไฟของประเทศไทยในช่วงที่มีมาตรการไฟฟ้าฟรีกระจุกอยู่ที่ 50 หน่วยต่อเดือนจำนวนมาก แม้จะมีแง่ดีในการลดใช้พลังงาน แต่ก็เพิ่มภาระการอุดหนุนอย่างน้อย 18 – 23 ล้านบาทต่อปีด้วยเช่นกัน” นส.วิชสิณี กล่าว


เนื่องจากนโยบายไฟฟ้าฟรีใช้วิธีการอุดหนุนแบบไขว้ น.ส.วิชสิณี วิเคราะห์ว่าทำให้ทุนค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 1% โดยภาระเกือบทั้งหมดตกอยู่กับผู้ใช้ไฟประเภทกิจการขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โรงแรม ผลิตเครื่องจักร สิ่งทอ และเหล็ก ซึ่งถือเป็นภาระที่ไม่สูงมากนัก และเพื่อปรับปรุงนโยบายสร้างความเป็นธรรมด้านพลังงานในอนาคต จึงควรแก้ปัญหาสำคัญ คือ สิทธิ์ที่ยังรั่วไหลและเข้าไม่ถึงผู้มีรายได้น้อยจริง ด้วย 3 นโยบายทางเลือก รวมถึงทางแก้ไขการอุดหนุนที่ยังไม่เหมาะสมเพียงพอ

ทางเลือกแรก คือ ใช้กลไกระบุตัวผู้ได้รับสิทธิ์ผ่านการลงทะเบียนสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยปี 2560 โดยกระทรวงการคลัง ทางเลือกที่ 2 คือ การระบุผู้มีรายได้น้อยจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลจากแผนที่ความยากจนของสำนักงานสถิติแห่งชาติเพื่อระบุพื้นที่ ควบคู่กับขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการระบุตัวคนรายได้น้อย และทางเลือก 3 คือ การระบุผู้มีรายได้น้อยจากข้อมูลที่ขนาดใหญ่ (Big Data) เช่น ข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลเพื่อการบริหาร (administrative data) เช่น บิลค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ การใช้โทรศัพท์มือถือ โดยทั้ง 3ทางเลือกเสนอใช้วิธีการอุดหนุนค่าไฟฟรีแบบเหมาจ่ายแทนการผูกสิทธิ์กับปริมาณใช้ไฟผ่านบัตร smart card เพื่อแก้ปัญหาการมีพฤติกรรมใช้ไฟบิดเบือน และเสนอใช้งบประมาณอุดหนุนที่มาจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก หรือจากงบประมาณประจำปี.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่