เกษตรฯ สั่งรับมือโรคระบาดในพืช-สัตว์

กรุงเทพฯ 26 มิ.ย. – รมว.เกษตรฯ สั่งรับมือโรคระบาดในพืชและสัตว์ เร่งป้องกันแพร่กระจาย หวั่นสร้างความเสียหาย เกษตรกรเดือดร้อน กระทบเศรษฐกิจประเทศ


นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้สั่งการด่วนที่สุดเรื่องการควบคุม กำจัด ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคระบาดในพืชและสัตว์ โดยให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ และอธิบดีทุกกรม รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ทุกหน่วยในระดับจังหวัด และเขตทุกแห่งเตรียมมาตรการรับสถานการณ์โรคระบาดในพืชและสัตว์ เนื่องจากขณะนี้มีความเสี่ยงของการระบาดทั้งโรคพืชและโรคสัตว์ในหลายพื้นที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตของเกษตรกร รวมทั้งอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น นครราชสีมา ปราจีนบุรี พะเยา เชียงราย และจังหวัดตามแนวชายแดน เป็นต้น จึงให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เรียกประชุมผู้บริหารส่วนกลาง เพื่อกำหนดแนวทางและขั้นตอนการปฎิบัติงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคพืชและสัตว์ในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเร่งด่วน 

ส่วนระดับพื้นที่ขอให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดประสานเกษตรจังหวัดและปศุสัตว์จังหวัด รวมทั้งสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต กรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ทั้ง 3 หน่วยสรุปสถานการณ์ความเสียหายและประเมินแนวโน้มการแพร่ระบาดหรือขยายตัวของโรคพืชและสัตว์ในพื้นที่แล้วนำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ (อ.พ.ก.) เพื่อเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและระดมเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยเข้าปฏิบัติงานตามแผนของจังหวัดโดยเร็ว


นายกฤษฎา กล่าวว่า ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคพืชและสัตว์จะสร้างความเสียหายและความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร รวมทั้งมีผลเสียหายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงให้ปลัดกระทรวงฯ จัดทำแผนสำรองกำหนดชุดปฎิบัติงานประจำพื้นที่ โดยให้ระดมข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ทุกหน่วยที่อยู่ในจังหวัดหรือพื้นที่ต้องมาทำงานร่วมกันด้วยในรูปแบบชุดปฎิบัติการประจำพื้นที่โดยให้อยู่การอำนวยการของ อ.พ.ก. ทั้งนี้ ให้กำชับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ทุกหน่วยในจังหวัดออกไปเยี่ยมเยียนและดูแลเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เป็นประจำและต่อเนื่อง เพื่อแสดงให้เห็นว่าข้าราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความเอาใจใส่ต่อเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหาความเดือดร้อนด้วย พร้อมกันนี้มอบหมายกรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักปลัดกระทรวงฯ ต้องทำหน้าที่อำนวยการช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานในพื้นที่อย่างเข้มแข็งและฉับไว ซึ่งต้องเตรียมมาตรการช่วยเหลือเยียวยาแก่เกษตรกร นอกจากนี้ ให้เกษตรจังหวัดประสานงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จังหวัด เพื่อดำเนินการตามระเบียบกฎหมายว่าด้วยการช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูแก่เกษตรกรผู้ประสบภัยต่อไป

สำหรับโรคระบาดสัตว์นั้น กรมปศุสัตว์รายงานว่าโรคที่เฝ้าระวังอยู่ในขณะนี้ คือ โรคอหิวาต์แอฟริการในสุกร (ASF) ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หากเกิดโรคอัตราการตายของสุกรสูงถึง 80-100 % เชื้อไวรัสก่อโรคมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมสูง แพร่ระบาดได้เร็ว หากพบสุกรในฟาร์มใดป่วยด้วยโรคนี้ต้องทำลายทิ้งทั้งฟาร์ม ขณะนี้เกิดการระบาดในกัมพูชา เวียดนาม และลาว กรมปศุสัตว์ได้ประกาศเขตเฝ้าระวังโรคระบาดใน 16 จังหวัดที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน หนองคาย น่าน บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร เลย อุตรดิตถ์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สระแก้ว จันทบุรี และตราด ซึ่ง ครม. อนุมัติงบประมาณ 148 ล้าน สำหรับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคระยะเวลา 3 ปี นอกจากนี้ ได้เห็นชอบอนุมัติกรอบวงเงินสำหรับชดเชยกรณีต้องทำลายสุกร 1,600 ล้านบาท และ ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์จะชดเชยให้ฟาร์มที่โดนสั่งให้ทำลายสุกรในมูลค่า 75% ของราคาตลาด

ส่วนโรคระบาดพืชนั้น กรมวิชาการเกษตรรายงานว่าพบการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสเป็นโรคระบาดร้ายแรง หากต้นมันสำปะหลังติดเชื้อจะสร้างความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลังประมาณ 80 % เนื่องจากใบจะมีอาการด่างเหลือง สังเคราะห์แสงไม่ได้ ต้นจะแคระแกรน และหัวมันจะไม่เติบโต เมื่อพบต้องทำลายทิ้งทั้งแปลง ทั้งนี้ โรคระบาดใบด่างมันสำปะหลังพบเมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 ระบาด 5 อำเภอในจังหวัดสระแก้ว ต่อมาเดือนมิถุนายนพบการระบาดเพิ่มเป็น 8 อำเภอ เบื้องต้นกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการควบคุมพื้นที่ที่พบการระบาด เช่น ตรวจยึด ควบคุม จำกัดบริเวณท่อนพันธุ์ พาหะโรค เพื่อรอการทำลายและควบคุมไม่ให้เคลื่อนย้ายพาหะไปยังพื้นที่อื่น ๆ ระดมวัสดุ/สารเคมีฆ่าเชื้อ และปฏิบัติการทำลายพาหะโรค บันทึก/พิสูจน์/ตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่การประกาศเขตระบาดโรค และให้การช่วยเหลือตามระเบียบ ตั้งด่านสกัดกั้น และหาข่าวการลักลอบเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์/พาหะโรค ตามแนวชายแดน และรอบพื้นที่รัศมีการระบาด ส่วนพื้นที่รอบรัศมีการระบาด/หรือมีความเสี่ยง ให้เจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัด อำเภอ ตำบล อาสาสมัครเกษตร ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด ตรวจเยี่ยม แนะนำ และกำกับ ให้เกษตรกรได้จัดการแปลงมันฯ ตามหลักวิชาการได้แก่ ค้นหาโรค พ่นสารเคมีเพื่อป้องกันและทำลาย และเตรียมห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือตรวจวิเคราะห์โรคเพื่อรองรับตัวอย่างที่ส่งตรวจ วินิจฉัย และรายงานโรคเพื่อป้องกันการเกิดโรคและลดความเสียหายในพื้นที่ที่เป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญของประเทศ.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

สอบเข้ม “ชวนหลิง จาง” กรรมการไชน่า เรลเวย์ฯ ปฏิเสธทุกข้อหา

ดีเอสไอสอบเข้ม “ชวนหลิง จาง” กรรมการ บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ เบื้องต้นให้การปฏิเสธทุกข้อหา อ้างเป็นผู้แทนรัฐวิสาหกิจจีนมาลงทุนในไทย ถูกส่งมาบริหารบริษัทในไทยเท่านั้น

“พีช” หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายแล้ว

“นายกเบี้ยว” พร้อมลูกชาย หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายก่อนแล้ว จึงฝากจดหมายขอโทษไว้ ด้าน “กัน จอมพลัง” ยอมถอย ให้สองฝ่ายพูดคุย แต่ต้องเป็นรูปธรรม

นักธรณีคาดดินยุบตัว เพราะเป็นจุดทางน้ำไหลผ่านจนเกิดโพรง

นักธรณีวิทยาลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุดินยุบตัว กินพื้นที่กว่า 4 ไร่ เบื้องต้นคาดเป็นจุดทางน้ำไหลผ่านจนเกิดโพรง ทำให้ดินยุบตัวเป็นวงกว้าง

ก.อุตฯ เตรียมส่งตรวจเหล็กตึก สตง. เพิ่ม 21 เม.ย.

ก.อุตสาหกรรม กางผลตรวจเหล็กตึก สตง.ถล่ม รอบแรก ก่อนส่งตรวจเพิ่มอีก 40 ท่อน 21 เม.ย. ย้ำผิดคือผิด! ผู้ผลิต-จนท.มีเอี่ยว เตรียมปิดเทอม