สธ. แนะผู้ปกครองสังเกตตุ่ม แผลที่ปากเด็ก อาจเป็นโรคมือเท้าปาก

สธ.25 มิ.ย.-สธ.ห่วงหน้าฝนพบเด็กเล็กป่วยเป็นโรคมือเท้าปากสูง แนะครู พี่เลี้ยงเด็ก-ผู้ปกครอง หมั่นล้างมือให้และสังเกตอาการ หากมีไข้ มีตุ่มแดง มีแผลในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า ให้หยุดเรียนจนหาย แต่หากมีไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ ให้รีบนำไปรักษาที่ รพ.ทันที


นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วง หน้าฝนเด็กเล็กมักป่วยบ่อยจากโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งมือเท้าปาก ซึ่งในเดือนมิ.ย.–ส.ค.ของทุกปี ช่วง 3 เดือนหน้าฝนเป็นช่วงที่พบผู้ป่วยสูง โดยในปี 2561พบผู้ป่วยมือเท้าปาก 34,630 ราย คิดเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ป่วยตลอดทั้งปี สำหรับในปีนี้ตั้งแต่ 1 ม.ค.–17 มิ.ย. พบผู้ป่วย 14,294 ราย เฉพาะวันที่ 1-17 มิ.ย.พบแล้ว 1,603 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 68 เป็นเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง เฝ้าระวังสถานการณ์โรค และให้คำแนะนำศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล/ประถมศึกษา คัดกรองเด็กทุกวัน และล้างมือให้เด็กบ่อย ๆ หากพบเด็กมีไข้ มีตุ่มแดงหรือมีแผลในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า ขอให้แจ้งผู้ปกครอง รับเด็กกลับบ้านและทำความสะอาดห้องเรียน ของเล่น เครื่องเล่น เครื่องใช้ โต๊ะ เก้าอี้ ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข


‘ขอให้ผู้ปกครองหมั่นล้างมือให้เด็ก หากมีไข้ บ่นเจ็บในปาก กลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร ไม่ดูดนม อาจมีน้ำลายไหล ขอให้สังเกตภายในปากว่ามีตุ่มแผล หรือมีตุ่มพองสีขาวขุ่น รอบๆ เป็นสีแดงที่นิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า กดเจ็บ ไม่ค่อยแตกเป็นแผล ในเด็กเล็กๆ บางครั้งจะพบมีผื่นนูนสีแดงเล็กที่ก้น ส้นเท้า อาจเป็นโรคมือเท้าปาก ขอให้หยุดเรียน เพื่อป้องกันแพร่เชื้อสู่เด็กคนอื่น แต่หากมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ ให้รีบนำไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที’ นพ.สุขุมกล่าว

สำหรับการป้องกันโรคมือเท้าปากทำได้ โดยไม่ควรพาเด็กเล็กไปในที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายน้ำ ควรอยู่ในที่มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดี หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย และระมัดระวังการไอจามรดกันให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเตรียมอาหาร รับประทานอาหารและภายหลังขับถ่ายทุกครั้ง ใช้ช้อนกลาง และหลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำหรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน


อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก แพทย์จะรักษาตามอาการ ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรับไว้นอนรักษาใน รพ. โดยให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด หยอดยาชาในปาก เพื่อลดอาการเจ็บแผลที่ปาก ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยการขาดน้ำ หรือให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ส่วนใหญ่จะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ 

ส่วนเด็กที่มีอาการรุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ทานอาหารหรือนมไม่ได้ มีอาการสมองอักเสบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะปอดบวมน้ำ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรงคล้ายโปลิโอ แพทย์จะรับไว้รักษาเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิดในโรงพยาบาล  .-สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เปิดนิทรรศการกล่องของขวัญปีใหม่68 จากตำรวจ

“แพทองธาร” นายกฯ เปิดนิทรรศการกล่องของขวัญจากตำรวจ มอบให้ประชาชน 4 โครงการ ช่วงปีใหม่ 2568 ทั้งที่พักฟรี-ราคาถูก ชวนโหลดแอปฯ Cyber Check ตรวจสอบป้องกันมิจฉาชีพหลอกลวง

ฉายาสภาปี67

ฉายาสภาปี 67 สส. “เหลี่ยม(จน)ชิน” ด้าน วุฒิสภา “เนวิ(น)เกเตอร์”

สื่อสภาตั้งฉายาปี 67 สส. “เหลี่ยม(จน)ชิน” ด้านวุฒิสภา “เนวิ(น)เกเตอร์” ส่วน “วันนอร์” รูทีนตีนตุ๊กแก ประธานวุฒิฯ “ล็อกมง” ส่วนผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง”