มาตรฐานการป้องกันเครนก่อสร้างถล่ม

กรุงเทพฯ 20 มิ.ย. – วันนี้ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ลงพื้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ที่ได้รับผลกระทบจากเครนก่อสร้างถล่ม ทำให้อุปกรณ์นั่งร้านร่วงลงมา ซึ่งจากการตรวจสอบสภาพเครนที่เกิดเหตุ มีการสันนิษฐานสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ออกมาแล้ว โดยในรอบ 2 ปีมานี้ เกิดอุบัติเหตุจากเครนก่อสร้างถึง 20 ครั้ง วสท.จึงเรียกร้องให้ต้องมีการขออนุญาตติดตั้งเครนก่อนก่อสร้างทุกครั้ง และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยขึ้นอีก 


เศษซากวัสดุก่อสร้างที่ใช้ประกอบนั่งร้าน ยังปรากฏอยู่บนหลังคาสนามบาสเกตบอลของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ หลังเครนในไซต์งานก่อสร้างต่อเติมของโรงแรมย่าน ถ.เจริญกรุง เกิดอุบัติเหตุตกลงมา มีนักเรียนบาดเจ็บ 10 คน สาหัส 1 คน 


วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า อุบัติเหตุน่าจะเกิดขึ้นระหว่างเครนกำลังยกชิ้นส่วนเพื่อประกอบนั่งร้าน แต่แขนของเครนเกิดสะบัด จนแผ่นโครงเหล็กและอุปกรณ์ก่อสร้างถล่มลงมา อาคารนี้สูงเกิน 23 เมตร เข้าข่ายต้องมีผู้ตรวจสอบอาคารที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เป็นผู้ตรวจสอบอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และคาดว่าอุบัติเหตุครั้งนี้ นอกจากการไม่มีผู้ควบคุมแล้ว ยังต้องดูสภาพเครนที่ใช้ด้วยว่ามีความสมบูรณ์หรือไม่ บทเรียนครั้งนี้ วสท.เรียกร้องให้เข้มงวดการควบคุมอาคารก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะการติดตั้งเครน ควรมีการขออนุญาต และต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก่อนติดตั้งทุกครั้ง


ด้านคณะอนุกรรมการวิศวกรรมยกหิ้วและปั้นจั่นไทย วสท. ให้ข้อมูลด้วยว่า เครนก่อสร้างที่ใช้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เครนชนิดอยู่กับที่ ซึ่งเป็นชนิดที่เกิดเหตุ ใช้เคลื่อนย้ายวัสดุในงานก่อสร้างอาคารสูง ส่วนอีกชนิด คือ เครนเคลื่อนที่ได้

ตามหลักการใช้เครนให้ปลอดภัย ต้องมีผู้เกี่ยวข้อง 4 กลุ่ม คือ ผู้ขับเครน ที่ต้องผ่านการอบรมและมีทักษะเชี่ยวชาญตามมาตรฐาน, ผู้ให้สัญญาณ, ผู้ควบคุมการใช้เครน และผู้ผูกรัดวัสดุ ซึ่งจะเป็นผู้คำนวณน้ำหนักในการยกแต่ละครั้ง โดยการประกอบและติดตั้งต้องมีวิศวกรเครื่องกลควบคุม 

สถิติอุบัติเหตุจากเครนก่อสร้างที่เกิดใน กทม. ตั้งแต่ปี 2560 พบว่า เกิดอุบัติเหตุใหญ่ 4 ครั้ง ล่าสุดเมื่อต้นปีนี้ เครนถล่มจากการก่อสร้างคอนโดมิเนียม มีผู้เสียชีวิตถึง 5 คน ตรวจสอบพบมีการต่อเครนเพิ่มความสูงขึ้นเอง และไม่มีวิศวกรควบคุม สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นระหว่างการติดตั้ง จากการประกอบไม่ถูกวิธี ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต ยกน้ำหนักเกิน และวัสดุเสื่อมสภาพ

วิศวกรรมสถานฯ มีข้อมูลว่า ปัจจุบันมีการใช้งานเครนทั่วประเทศกว่า 1,500 เครื่อง ในรอบ 2 ปีมานี้ เกิดอุบัติเหตุจากเครนแล้ว 20 ครั้ง และตามข้อบัญญัติของ กทม. ห้ามส่วนหนึ่งส่วนใดของเครนออกนอกพื้นที่ก่อสร้าง หากพบเห็นแจ้งตำรวจได้ทันที วสท.เสนอด้วยว่า การติดตั้งเครนควรต้องมีผู้รับผิดชอบความปลอดภัยลงนามกำกับ และผู้ดำเนินการก่อสร้าง หรือเจ้าของอาคาร ควรต้องทำประกันภัยบุคคลที่ 3. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์

PEA ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา 5 จุด

เริ่มแล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับนโยบาย สมช.สั่งตัดไฟฟ้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในฝั่งเมียนมา 5 จุด เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้

บุกจับกำนันหญิงแหนบทองคำ ฉ้อโกง 41 ล้าน

ตำรวจพิษณุโลกเปิดปฏิบัติการ “หักขาไก่” นำ 10 หมายจับ รวบตัว “กำนันหญิงแหนบทองคำ” ประธานกองทุนหมู่บ้าน กับคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมฉ้อโกงประชาชน หลังชาวบ้าน 140 ราย แจ้งความ มูลค่าความเสียหาย 41 ล้านบาท

ชาวเมียวดีหวั่นถูกตัดไฟฟ้า เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์

ชาวบ้านเมียวดี ฝั่งเมียนมา ตรงข้ามชายแดนแม่สอด จ.ตาก หวั่นไทยตัดไฟฟ้า กระทบวงกว้าง เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์-เครื่องปั่นไฟ รับมือ ด้าน PEA ชี้ตัดไฟเมียนมาอาจสูญเปล่า หากไม่พิจารณาให้ครบถ้วน

ข่าวแนะนำ

นายกฯ​ ยกคณะเยือนจีน หารือความร่วมมือรอบด้าน

นายกรัฐมนตรี​ ยกคณะเยือนจีนอย่างเป็นทางการ หารือความร่วมมือรอบด้าน แก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์-อาชญากรรมข้ามชาติ ย้ำไทยปลอดภัย พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนตลอดปี สานต่อ​รถไฟความเร็วสูง-แลนด์บริดจ์ ขณะที่เตรียมรับแพนด้ายักษ์คู่ใหม่​ และจะไปให้กำลังใจนักกีฬาไทยแข่งเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว

ยายวัย 85 ดีใจได้เงินคืน ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกโอน 2 ล้าน

อายัดบัญชี อดีตข้าราชการครูวัย 85 ปี ดีใจได้เงินคืน หลังถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ ก.คลัง หลอกโอนเงิน 2 ล้านบาท

รถทัวร์ชนต้นไม้

รถทัวร์ กทม.-เชียงใหม่ ตกร่องถนนชนต้นไม้ ดับ 2 เจ็บกว่า 30

รถโดยสารกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขับส่ายไปมา ก่อนเสียหลักตกร่องกลางถนนพุ่งชนต้นไม้ใหญ่ เสียชีวิต 2 ราย เจ็บกว่า 30 คน สาเหตุอยู่ระหว่างตรวจสอบ