เปิดข้อมูลดินทรุด กทม. ส่งผลการระบายน้ำ

กรุงเทพฯ 17 มิ.ย.- กรุงเทพฯ เผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยพื้นที่ติดทะเลคือที่เขตบางขุนเทียน มีความยาวแนวชายฝั่งเกือบ 5 กิโลเมตร พื้นดินตามแนวชายฝั่งเริ่มหายไปบางส่วนแล้ว ส่วนปัญหาดินทรุดอย่างรุนแรงในอดีตก็ทำให้พื้นที่หลายแห่งใน กทม.อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ส่งผลต่อการระบายน้ำในปัจจุบัน


ชายทะเลเขตบางขุนเทียน พื้นที่เพียงเขตเดียวของกรุงเทพฯ ที่ติดกับทะเลอ่าวไทย ความยาวตลอดแนวชายฝั่งเกือบ 5 กิโลเมตร จากกระแสความแรงของคลื่นลมทะเลทำให้แนวพื้นดินเดิมจมหายไป สูญเสียพื้นดินไปแล้วประมาณ 3,000 ไร่


หลักฐานที่บ่งชี้ว่า มีพื้นที่ที่เป็นพื้นดินมาก่อน คือหลักเขตที่ 28 เคยเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แบ่งพื้นที่กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ และหลักเขตที่ 29 แบ่งเขตกรุงเทพฯ และสมุทรสาคร ปัจจุบัน กทม.พยามแก้ปัญหานี้ โดยการวางแนวกันคลื่นจากเสาไฟฟ้าและไม้ไผ่ ซึ่งช่วยลดอัตราการกัดเซาะลงไปได้ พร้อมกับเพิ่มพื้นที่ปลูกป่าชายเลน


อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาฯ ให้ข้อมูลว่า จากภาวะโลกร้อนจนระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่ง การทรุดตัวของแผ่นดิน ส่งผลให้พื้นที่หลายแห่งที่เคยอยู่ติดทะเลจะค่อยๆ หายไป จาก 20 ปีที่แล้วพื้นดินหายไปแล้ว 1 กิโลเมตร และจากการศึกษาพบว่าอีก 20 ปีข้างหน้าจะหายไปอีก 1 กิโลเมตร หากไม่มีมาตรการป้องกันที่เป็นรูปธรรม ประเมินว่าอีก 50 ปีน้ำทะเลจะรุกคืบเข้ามาอีก 2-3 กิโลเมตร และในอีก 100 ปี จะมีบางพื้นที่หายไปเช่น ที่ ต.บางปู สมุทรปราการ, แนวถนนสุขุมวิทสายเก่า เช่นเดียวกับพื้นที่ตลอดแนวชายฝั่งติดทะเลของสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และฉะเชิงเทรา ก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน

ส่วนปัญหาแผ่นดินทรุด ซึ่งอาจเป็นปัจจัยให้เกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ หรือไม่นั้น นักวิชาการอธิบายว่า เดิมมีการสูบน้ำบาดาลมาใช้มาก เกิดปัญหาแผ่นดินทรุดรุนแรง แต่หลังมีกฎหมายควบคุม การทรุดตัวชะลอลง ขณะนี้เฉลี่ยทรุดไม่ถึง 1 เซนติเมตร/ปี แต่หลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เช่น ย่านหัวหมาก รามคำแหง และสุขุมวิท ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาน้ำท่วมได้ง่ายและระบายได้ช้า

เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติอธิบายว่า ปัจจัยสำคัญแก้ปัญหาน้ำท่วม คือ การกำจัดอุปสรรคสิ่งกีดขวางทางน้ำ ทั้งสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำคลอง  ขยะ ซึ่งรวมอยู่ในแผนแม่บทน้ำแห่งชาติ 20 ปี

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติมีแผนจัดการสิ่งกีดขวางทางน้ำทั่วประเทศ เช่น โครงสร้างสิ่งก่อสร้าง ถนน สะพาน รวม 562 แห่ง เกี่ยวเนื่องกับหลายหน่วยงานคือ กรมทางหลวง การรถไฟ กรมชลประทาน ที่ต้องประสานงานร่วมกัน ทั้งนี้ การจัดการสิ่งกีดขวางทางน้ำ จะส่งผลต่อแผนจัดการน้ำภาพรวมทั้งประเทศได้ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่เป็นทางผ่านของน้ำหลากก่อนระบายลงสู่ทะเล.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่มพาลูก-เมียกลับจากฉลองวันเกิด รถยางระเบิดเสียหลักชนเสาไฟ ดับ 3 สาหัส 2

พ่อแม่ลูก 5 คน กลับจากฉลองวันเกิด รถกระบะยางระเบิดเสียหลักหมุนชนอัดเสาไฟฟ้า พ่อและแม่พร้อมลูกคนโตเสียชีวิตคาที่ ส่วนลูกคนกลางและคนเล็กอาการสาหัส

สุดโหด! ไล่แทงหนุ่มดับปมขัดแย้งยาเสพติด

วงจรปิดจับภาพชัด คนร้ายวิ่งข้ามถนนไล่แทงหนุ่มเสียชีวิต ชาวบ้านแตกตื่น ขณะที่ตำรวจรวบตัวทันควัน คาดปมขัดแย้งยาเสพติด

กยศ.เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน พ.ค.-มิ.ย.68

กยศ. เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน ช่วยเหลือชั่วคราว พ.ค.-มิ.ย.68 ให้นายจ้างลดยอดการหักเงินเดือน ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเริ่มผ่อนชำระใหม่เป็นรายเดือนในอัตราลดลง

ข่าวแนะนำ

นักวิชาการ ชี้ข่าวลบไม่กระทบคะแนนเสียง สท.ธัญบุรี

การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี วันอาทิตย์ที่ 11 พ.ค.นี้ นับว่าแข่งขันกันดุเดือด นักวิชาการ และประชาชนมองอย่างไร ลองไปไล่เรียงกัน

DSI-กกต. นำหมายเรียกแปะหน้าบ้าน สว. ทั่วกรุงเทพฯ

3 สว. “อลงกต-จิระศักดิ์-วุฒิชาติ” ปิดบ้านเงียบ หลัง กกต. และดีเอสไอ นำหมายเรียกคดีฮั้ว สว. เชิญตัวเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาตาม พ.ร.ป.สว.61