BIG STORY : เส้นทางการเมืองที่ไม่เหมือนเดิมของ “พล.อ.ประยุทธ์”

กรุงเทพฯ 11 มิ.ย.- แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้บริหารประเทศต่อเป็นสมัยที่ 2 แต่หลายฝ่ายเชื่อบริบทที่เปลี่ยนไป จะทำให้เส้นทางการเมืองไม่เหมือนเดิม “พล.อ.ประยุทธ์” มีก้าวเดินทางการเมืองอย่างไร ก่อนที่จะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 ติดตามจากรายงาน


คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ทำรัฐประหาร หลังฝ่ายการเมืองไม่สามารถแก้ปัญหาขัดแย้งที่มีมายาวนานได้ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก้าวเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 


ในช่วงแรก พล.อ.ประยุทธ์ ระบุจะใช้เวลาบริหารประเทศไม่นาน ทั้งพูดเสมอ ไม่ใช่นักการเมือง ไม่ได้มาจากการเมือง แต่เป็นนักการทหาร เข้ามาในช่วงวิกฤติด้วยวิธีพิเศษ

แม้การบริหารงานก้าวหน้าและแก้ปัญหาหลายเรื่อง ในช่วงปลายของรัฐบาลมีข้อกังขา จนทำให้ความนิยมเริ่มลดลง โดยเฉพาะกรณีนาฬิกาหรู ที่กระทบนโยบายการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล แต่ย้ำเหตุผลต้องอยู่ต่อเพื่อวางรากฐานปฏิรูปประเทศ โดยขณะนั้นมีมาตรา 44 เป็นเครื่องมือสำคัญ


ปลายปี 61 พรรคพลังประชารัฐเกิดขึ้น มีนักการเมืองหลายสังกัดมาร่วมงาน เหตุผลสำคัญเพื่อหนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แม้เจ้าตัวระบุไม่เกี่ยวข้อง แต่ภาพทุกอย่างชัดเจน เมื่อ 4 รัฐมนตรี ลาออกเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2562

ก่อนวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม พล.อ.ประยุทธ์ ยอมรับเป็นนักการเมืองที่เคยเป็นทหาร พร้อมตอบตกลงพรรคพลังประชารัฐ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

ขณะพรรคการเมืองต่างๆ  เริ่มหาเสียง พล.อ.ประยุทธ์ เอง มีภารกิจลงพื้นที่ในฐานะนายกรัฐมตรีบ่อยครั้ง แต่ยืนยันไม่ใช่การหาเสียง โดยพรรคพลังประชารัฐใช้วิธีเปิดวีดิทัศน์ของ พล.อ.ประยุทธ์ บนเวทีปราศรัยเท่านั้น ที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ ยอมปรากฏตัวบนเวทีปราศรัยใหญ่

หลังการเลือกตั้งใช้เวลาเกือบ 3 เดือนรอผลการเลือกตั้ง จนวันที่ 5 มิถุนายน พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับการโหวตเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยเสียง 500 ต่อ 244 ชนะ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ท่วมท้น แต่หากตัดเสียง 250 ส.ว. หลายฝ่ายจับตาการบริหารงานในภาวะที่ไม่มีมาตรา 44 ท่ามกลางพรรคการเมืองที่เต็มไปด้วยการต่อรองเก้าอี้จนนาทีสุดท้าย ทั้งรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ ไม่ใช่สิ่งง่าย ที่นายกรัฐมนตรีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะนำรัฐนาวาฝ่าความท้าทายเหล่านี้ไปได้.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

ลุยรื้อถอนต่อเนื่องเข้าวันที่ 24 จนท.ทำงานหนักตลอด 24 ชม.

เดินหน้ารื้อถอนอาคาร สตง. เข้าสู่วันที่ 24 แล้ว เจ้าหน้าที่ทำงานตลอด 24 ชม. เพื่อให้เสร็จตามแผน ขณะที่ภารกิจค้นหาผู้ติดค้างยังคงดำเนินต่อเนื่อง

ปล่องลิฟต์ตึกถล่ม

กทม.เดินหน้าเจาะปล่องลิฟต์ ค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.

ผู้ว่าฯ กทม. เผยปฏิการค้นหาร่างผู้สูญหายจากเหตุตึก สตง.ถล่ม วันนี้เน้นเจาะปล่องลิฟต์-บันไดหนีไฟ หลังวานนี้ (18 เม.ย.) พบผู้เสียชีวิตในจุดดังกล่าวเพิ่มอีก 6 ราย ยืนยัน กทม. ให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานในการเข้า เก็บพยานหลักฐาน เพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบกับเหตุการณ์ดังกล่าว