เสนอปรับรูปแบบทุนรัฐสำหรับนักเรียนยากจน

กรุงเทพฯ 17 พ.ค. – ที่ผ่านมาภาครัฐมีเงินอุดหนุนด้านการศึกษา ทั้งโครงการเรียนฟรี 15 ปี และเพิ่มเงินอุดหนุนให้นักเรียนยากจนพิเศษ มีกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา แต่ในกลุ่มเด็กเปราะบาง เช่น เด็กที่ใช้ชีวิตบนท้องถนน ซึ่งต้องหาเงินใช้จ่ายเพื่อการศึกษา และดูแลครอบครัวด้วย มีการเสนอปรับรูปแบบของทุนให้เหมาะสมกับวิถีชีวิต เพื่อไม่ให้เด็กเหล่านี้หลุดออกจากการศึกษา 


นี่เป็นชุดนักเรียนของหลานป้าเตี้ย หรือ จิรา ศรีเจริญ ที่มีอยู่เพียงคนละ 1 ชุด สำหรับใส่ไปเรียนในภาคการศึกษานี้ ครอบครัวศรีเจริญ อาศัยบริเวณโค้งรถไฟยมราช โดยป้าเตี้ยมีหลานทั้งหมด 10 คน ในจำนวนนี้ 9 คน กำลังศึกษาอยู่ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถม 


ก่อนเปิดภาคเรียน นอกจากป้าเตี้ยต้องไปกู้เงินนอกระบบ เธอยอมรับว่า ที่ผ่านมาเคยนำหลานไปเดินขอทาน และขายพวงมาลัยข้างถนน เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว และซื้ออุปกรณ์การเรียน เช่น ชุดนักเรียน กระเป๋า และรองเท้า เพราะรายได้ไม่เพียงพอ และเงินอุดหนุนค่าชุดนักเรียนจากโรงเรียนเพียง 300 กว่าบาท ก็ยังมีส่วนต่างที่ต้องจ่ายเอง


มีข้อมูลจากมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พบว่า ชุมชนโค้งทางรถไฟยมราช มีเด็กกว่า 50 คน ที่มีชีวิตไม่แตกต่างกับครอบครัวศรีเจริญ ต้องไปใช้ชีวิตอยู่บนถนน ด้วยการขายพวงมาลัย และเป็นขอทาน เพื่อนำเงินมาช่วยเหลือครอบครัว และใช้ในการศึกษา โดยจากการเก็บข้อมูลทั่วประเทศ มีเด็กลักษณะนี้อีกกว่า 35,000 คน กระจายอยู่ตามเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยว ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ถือเป็นเด็กกลุ่มเปราะบาง ที่พร้อมจะหลุดออกจากการศึกษาได้ทุกเมื่อ 

ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2548 ภาครัฐให้เงินอุดหนุนในโครงการเรียนดี เรียนฟรี 15 ปี สำหรับนักเรียนในสังกัด สพฐ. กว่า 7 ล้านคน ในจำนวนนี้ 600,000 คน พบเป็นเด็กยากจนพิเศษ จึงให้เงินอุดหนุนเพิ่มในระดับประถม ภาคการศึกษาละ 500 บาท ส่วนมัธยมศึกษา 1,500 บาท และล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว กองทุนเพื่อความเสมอภาคฯ อุดหนุนเงินให้เด็กยากจนเพิ่มอีก สำหรับชั้นประถมและมัธยม ภาคการศึกษาละ 800 บาท เพื่อใช้เป็นค่าเดินทางและค่าครองชีพ โดยจัดสรรผ่านโรงเรียน และโรงเรียนจะโอนเงินให้นักเรียนโดยตรง

ผู้บริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ให้ข้อมูลว่า ไม่สามารถใช้วิธีให้เงินอุดหนุนได้อย่างเดียว เพราะปัญหาของเด็กมีความเฉพาะตัว แม้ได้รับทุนเพิ่ม แต่ก็พบว่าเด็กต้องไปทำงานบนถนนเช่นเดิม และเงินที่พวกเขาหามาได้ ไม่ได้ใช้ด้านการศึกษา แต่นำมาใช้ในครอบครัว จึงพยายามหาแนวทางใหม่ในการช่วยเหลือ เช่น ส่งเสริมให้ทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย

คณะทำงานด้านการศึกษาของเด็กกลุ่มเปราะบาง ยังเสนอรูปแบบการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาในอนาคต ไม่ให้เป็นสูตรเดียวกันทั้งประเทศ เพราะเด็กแต่ละคนมีวิถีชีวิตแตกต่างกัน เพื่อไม่ให้เด็กกลุ่มนี้หลุดออกจากระบบการศึกษา. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทหารทำร้าย

ทบ.ตั้ง กก.สอบปมกรมยุทธศึกษาทหารบก ทำร้ายผู้ใต้บังคับบัญชา

“ธนเดช” เผย กมธ.ทหาร รับเรื่องร้องเรียนเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา ขณะ ทบ. ตั้งกรรมการสอบแล้ว หวังเป็นตัวอย่างการลงโทษผู้บังคับบัญชาระดับสูงหากพบผิดจริง

“บิ๊กแจ๊ส” ลั่นพร้อมดูแลสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ให้เป็นปอดประชาชน

“บิ๊กแจ๊ส” ลั่นหากได้รับถ่ายโอน อบจ.ปทุมฯ พร้อมจัดงบดูแลสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ให้เป็นปอดประชาชน หลังขาดพื้นที่ออกกำลังกาย แต่จะกระทบความมั่นคงหรือไม่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องคุยกันต่อ

ข่าวแนะนำ

ทนายดิไอคอน แจ้งความเอาผิด “กฤษอนงค์-ฟิล์ม” พยายามฉ้อโกง

“ทนายบอสพอล” แจ้งความเอาผิด “กฤษอนงค์-ฟิล์ม” พยายามฉ้อโกง จ่อฟันเอาผิดเพิ่ม 89 ขบวนการอ้างตัวเป็นผู้เสียหาย

นายกฯ เผยเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง เล็งออกมาตรการช่วยผู้สูงอายุ

นายกฯ เป็นประธานประชุมบอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจนัดแรก เผยจีดีพีรวม 3 ไตรมาส 2.3% ฟื้นตัวต่อเนื่อง เล็งออกมาตรการช่วยกลุ่มผู้สูงอายุต่อไป