พม.17พ.ค.-พม.จับมือยูนิเซฟ เปิดตัวเเคมเปญ #หนึ่งเสียงเปลี่ยนชีวิต ร่วมกระตุ้นประชาชนให้มีส่วนร่วมต่อต้านเเละแก้ปัญหาความรุนเเรงในเด็ก ย้ำการเเจ้งเหตุผ่านสายด่วน 1300 หลังพบสถิติเด็กถูกกระทำความรุนแรงเเละล่วงละเมิดทางเพศเพิ่มขึ้นเเละมีเเนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง เเต่กลับมีการเเจ้งเหตุน้อย
นางสุภัชชา สุทธิพล รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมเเละความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยนายแกรี่ ริสเซอร์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองเด็ก องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย แถลงข่าวความร่วมมือระหว่าง พม.เเละยูนิเซฟ เปิดตัวเเคมเปญ #หนึ่งเสียงเปลี่ยนชีวิต เพื่อช่วยรณรงค์ให้สังคมร่วมกันหยุดยั้งการกระทำความรุนเเรงต่อเด็ก ซึ่งพบสถิติการรับเเจ้งของศูนย์ช่วยเหลือสังคมสายด่วน 1300 พบในปีงบประมาณ 2559-2561 มีเด็กเเละเยาวชนถูกกระทำรุนเเรง 4,400 ราย เเบ่งเป็นความรุนเเรงในครอบครัว 2,434 รายเเละความรุนเเรงนอกครอบครัว 2,006 ราย ซึ่งสอดคล้องกับสถิติในปีงบประมาณ 2562 ที่พบถึง 1,351 ราย เเละมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การยูนิเซฟจึงได้ผลิตเเละเผยเเพร่สื่อประชาสัมพันธ์ภายใต้ชื่อหนึ่งเสียงเปลี่ยนชีวิต เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเเต้งเหตุกรณีพบเห็นเหตุการณ์การใช้ความรุนเเรงต่อเด็ก ผ่านสายด่วน 1300
นอกจากการเเจ้งเหตุผ่านศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้คำเเนะนำรับเรื่องร้องทุกข์ โดยมีเจ้าหน้าที่เเละนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพคอยให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมงเเละช่วยประสานส่งทีมเคลื่อนที่เร็ว(Moblie Team)ช่วยเหลือเชิงรุกเเล้ว ประชาชนสามารถมาติดต่อด้วยตนเองหรือผ่านเพจเฟซบุ๊ก สายด่วน1300 พม.หรือเว็บไซต์ www.1300thailand.m-society.go.th
ด้านนายแกรี่ ริสเซอร์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองเด็ก องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า ขอให้ประชาชนตื่นตัวเเละร่วมเป็นกันหยุดนั้งความรุนแรงต่อเด็กในทุกรูปแบบทั้งการใช้ความรุนแรง การทอดทิ้งเด็กเเละการเเสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2560 ซึ่งเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาล 622 แห่งทั่วประเทศ พบมีเด็กเกือบ 9,000 คนต้องเข้ารับการรักษาเนื่องจากถูกทำร้ายร่างกายเเละถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ขณะเดียวกันสถานการณ์เด็กเเละสตรีในไทยปี 2558-2559 พบว่ามีเด็กอายุ 1-14 ปี จำนวนร้อยละ 4 หรือราว 470,000 คนเคยถูกลงโทษทางร่างกายอย่างรุนเเรงมากที่บ้าน เเต่กลับพบว่าในเเต่ละปี กลับมีผู้แจ้งเหตุรุนเเรงผ่านสายด่วน 1300 ไม่กี่พันสาย ซึ่งปัญหานี้นอกจากจะเป็นปัญหาด้านสังคมเเล้วยังเกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจ รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูเเล อย่างในต่างประเทศสูงถึงปีละ 2,900 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้การศึกษาทั่วโลกขององค์การยูนิเซฟชี้ให้เห็นว่า ความรุนเกิดขึ้นกับเด็กทุกช่วงวัยเเละทุกที่ ซึ่งความรุนเเรงกระทบทั้งทางร่างกายเเละจิตใจไปตลอดชีวิต ทำลายการพัฒนาโครงสร้างทางสมองของเด็ก บั่นทอนความสามารถทางการเรียนรู้เเละอาจส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ใช้ความรุนแรง ทั้งเสี่ยงการเป็นซึมเศร้า วิตกกังวล ทำร้ายตัวเองไปจนถึงการฆ่าตัวตาย
สำหรับเเคมเปญ #หนึ่งเสียงเปลี่ยนชีวิต ได้จัดทำวิดีโอจำลองเหตุการณ์ในร้านอาหารที่พ่อลงโทษลูกสาวอย่างรุนแรง โดยปฏิกิริยาของลูกค้าในร้านเเสดงความห่วงเเละกังวลต่อสวัสดิภาพของเด็กอย่างชัดเจนเเต่ไม่เเน่ใจว่าจะช่วยอย่างไร ซึ่งเเคมเปญนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 นอกจากนี้ยังมีการทำโปสเตอร์ สติกเกอร์เเละอื่นๆเพื่อสร้างความตื่นตัวในชุมชนอีกด้วย .-สำนักข่าวไทย