กทม. 9 เม.ย.- ดีแทค ผนึก ทีโอที กสท ทดสอบ 5G อย่างยั่งยืนพร้อมหาแนวทางธุรกิจ แนะรัฐวางแผนจัดสรรคลื่นชัดเจนก่อนประมูล
นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า 5G มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่สูง ความหน่วงต่ำเหมาะสำหรับใช้การเปลี่ยนผ่านของทุกอุตสาหกรรม ผลิตภาพของทุกอุตสาหกรรมจะถูกทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในยุค4G ถูกผลักดันด้วยคุณภาพเน็ตเวิร์คที่นำเสนอบริการที่มีคุณภาพ ดีแทคจึงมีความร่วมมือในการทดสอบ 5G ระหว่าง 3 องค์กร คือ ดีแทค ทีโอที และ กสท ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งอุปกรณ์โครงข่ายและคลื่นความถี่ต่างๆ การนำความรู้มาร่วมกัน โดยการนำความรู้ความเชี่ยวชาญโทรคมนาคมของแต่ละฝ่ายมาแบ่งปันและต่อยอดการทดสอบร่วมกัน และการแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน ทำให้แต่ละฝ่ายไม่ต้องเริ่มต้นใหม่แต่สามารถนำประสบการณ์ที่ได้มารวมกันเพื่อพัฒนาไปข้างหน้า รวมถึงศึกษาถึงข้อจำกัดและอุปสรรคทั้งในด้านเทคโนโลยีและระเบียบข้อกฎหมาย
ดีแทคได้ยื่นดำเนินการขอนุญาตทดสอบ 5G ต่อ กสทช ในการใช้คลื่นความถี่ เป็นการทดสอบโดยใช้เฉพาะคลื่น 5G และ Non-Standalone หรือการทดสอบการทำงานของเทคโนโลยี 5G ร่วมกับ 4G โดยดีแทคจะทดสอบทั้ง การทดสอบใน ก่อนนำสู่การทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง และการทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง เช่น พื้นที่บริเวณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สยามสแควร์ และรวมถึง การทดสอบทางไกล ทดสอบโดยเชื่อมต่อสถานีฐาน 5G จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปยังโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หลักต่างพื้นที่ ในโครงการทดสอบ 5G EEC ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา เพื่อใช้ทดสอบกรณีใช้คลื่น 5G ต่างพื้นที่ร่วมกัน ตัวอย่างเช่นการรักษาผ่านทางไกล หรือสมาร์ทเฮลธ์แคร์
ดีแทค ได้พัฒนาโซลูชั่น “ฟาร์มแม่นยำ” เพื่อเตรียมพร้อมสู่ 5G ให้เกษตรกรไทยได้ เห็นได้ว่าการทำเกษตรกรรมยุคใหม่จะต้องใช้ประโยชน์ของดิจิทัลและความสามารถของ 5G มาต่อยอดเพื่อทำรายได้เพิ่มมากขึ้น และยังเตรียมยกระดับสู่โซลูชั่นฟาร์แม่นยำ แบบเรียลไทม์ด้วยการใช้โดรน 5G ต่อไป ทั้งนี้ยังเรียกร้องให้ทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ก่อนการจัดสรรคลื่นความถี่ในครั้งต่อไป
โดยนางอเล็กซานดรา กล่าวเพิ่มเติมว่า คลื่นความถี่คือสิ่งสำคัญยิ่งในการปูพื้นฐานสู่ 5G เพราะการใช้งานและการทดสอบบริการ จะทำให้พิสูจน์ถึงความต้องการใช้คลื่นความถี่ที่กว้างและ 5G ต้องการใช้ทั้งคลื่นย่านความถี่สูง-กลาง-ต่ำ ดังนั้น จึงตอกย้ำว่าประเทศไทยควรทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ ก่อนการจัดสรรคลื่นครั้งต่อไป รวมทั้งรูปแบบการจัดสรรคลื่นความถี่ในปัจจุบัน การออกแบบการประมูลที่ดีจะทำให้กำหนดราคาคลื่นความถี่ที่ยุติธรรมในการทำตลาด และป้องกันราคาประมูลที่สูงเกินจริง.-สำนักข่าวไทย