ทีดีอาร์ไอ เสนอ สินเชื่อสีเขียวสู่ “เกษตรยั่งยืน”


กรุงเทพฯ 26 ก.พ.-ทีดีอาร์ไอ  เสนอมาตรการปรับทิศการทำเกษตรด้วยกระบวนการที่ยั่งยืน ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงการจำหน่ายสินค้าถึงมือผู้บริโภค แนะมาตรการพักชำระหนี้หรือ เงินสินเชื่อสีเขียว (Green Credit)  เสริมแกร่งให้เกษตรกรไทยพร้อมเปลี่ยนผ่านสู่การทำเกษตรยั่งยืน


ในงานประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ “มาตรการเพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนในภาคเกษตร” จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมกับ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ประเทศไทย  นางกรรณิการ์ ธรมพานิชวงค์ นักวิชาการทีดีอาร์ไอ เปิดเผยผลการศึกษาว่า ภาคการเกษตรของประเทศไทย เป็นแหล่งผลิตอาหาร แหล่งจ้างงานและสร้างรายได้ที่สำคัญ แต่การขยายตัวของภาคเกษตรนำมาซึ่งปัญหาหลายด้าน เช่น  ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม ปัญหาการสูญเสียหน้าดิน ปัญหามลพิษทางน้ำและทางอากาศ เป็นต้น 

เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีการนำแนวคิดสนับสนุนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนมาใช้ในภาคเกษตรของไทย โดยจำเป็นต้องอาศัยมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ กฎหมาย ฯลฯ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ปรับเปลี่ยนมาใช้ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

มาตรการสำคัญที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน ได้แก่ 1.แก้ปัญหาเกษตรแบบไม่ยั่งยืน ด้วยการ ไม่ส่งเสริมการบุกรุกป่า และส่งเสริมผู้บุกรุกป่าเดิมปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว มาปลูกพืชผสมผสานแบบปราศจากสารเคมี ,2. ควรนำมาตรการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบยั่งยืน รวมถึงการให้เงินสินเชื่อสีเขียว (Green Credit)  เพื่อเป็นเงินทุนให้เกษตรกรใช้เป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียน โดยให้อัตราดอกเบี้ยแบบพิเศษ 


3. ใช้มาตรการทางภาษี ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บภาษีสารเคมีเกษตร เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเปลี่ยนมาใช้สารทางชีวภาพเพื่อกำจัดศัตรูพืช และการลดหย่อนภาษีให้ผู้ประกอบการที่สนับสนุนสินค้าเกษตรยั่งยืน อย่างไรก็ดี ก่อนที่ภาครัฐจะดำเนินการเก็บภาษีสารเคมี จำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนาสารชีวภาพที่ใช้ทดแทนสารเคมีและไม่กระทบผลิตผล (Yield)

ปัจจุบันตลาดสินค้าเกษตรยั่งยืนยังมีช่องทางการจำหน่ายที่จำกัดและเข้าถึงยาก ดังนั้น มาตรการเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญคือ การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรยั่งยืนและสร้างตลาดท้องถิ่น มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรยั่งยืนที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและระดับสากลเพื่อรับรองสินค้าสำหรับการส่งออก มีการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ควรมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเกษตรยั่งยืนไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริโภคด้วย

-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

“ทวี” แจง “ดีเจแมน-ใบเตย” ได้เยียวยา แต่ต้องรอคดีถึงที่สุด

“ทวี” แจง “ดีเจแมน-ใบเตย” ได้รับค่าเยียวยา หลังศาลชั้นต้นยกฟ้อง แต่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด บอกหากไม่ได้รับความยุติธรรม ฟ้องรัฐได้

ถนนมิตรภาพเข้าสู่ประตูอีสานรถเพิ่มขึ้น

เริ่มแล้วเทศกาลปีใหม่ ประชาชนออกเดินทางกลับภูมิลำเนาการจราจรถนนมิตรภาพ ปริมาณรถมาก ตำรวจทางหลวง เตรียมพร้อมอำนวยความสะดวก

หมอชิต 2 เริ่มคึกคัก คาดวันนี้จะมีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุด

สถานีขนส่งหมอชิต 2 มีประชาชนบางส่วนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนาแล้ว แต่ยังไม่หนาแน่นนัก ด้าน บขส. คาดตลอดทั้งวันนี้จะมีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุดถึง 120,000 คน

นายกฯ มอบคำขวัญวันเด็กประจำปี 2568

“แพทองธาร” นายกฯ มอบคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2568 “ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” ระบุรัฐบาลเห็นคุณค่าในตัวเด็กๆ ทุกคน ขอให้ปรับตัวเรียนรู้ ให้เข้ากับสถานการณ์