ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพารา 20 ปี

กรุงเทพฯ 14 ม.ค. – กยท.กำหนดแผนยุทธศาสตร์ยางพารา 20 ปี เน้นสร้างความเข้มแข็งสถาบันเกษตรกร ผลิตยางพาราที่มีคุณภาพ ลดการปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม วิจัยแปรรูปยางเพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ในประเทศ เตรียมเสนอ ครม. เห็นชอบเร็ว ๆ นี้


นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) แถลงแผนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี โดยกล่าวว่า ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มีเนื้อที่ปลูกประมาณ 23 ล้านไร่ สามารถผลิตยางได้ปีละ 4.4 ล้านตัน สร้างรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง 1.6 ล้านครัวเรือน 300,000 ล้านบาท มูลค่าการส่งออก 400,000 ล้านบาทต่อปี  แต่ไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก อีกทั้งราคายางพาราที่ซื้อขายกันในตลาดโลกยังถูกกำหนดในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งมีการการเก็งกำไร ทำให้ราคาผันผวน นอกจากนี้ ราคายางสังเคราะห์ยังลดต่ำลงทำให้ทั่วโลกหันมาใช้ยางสังเคราะห์แทนยางธรรมชาติเพื่อลดต้นทุน ทำให้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) มุ่งเน้นเพิ่มการใช้ยางภายในประเทศ ด้วยการส่งเสริมการผลิต แปรรูป และส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง ลดสัดส่วนการส่งออกยางวัตถุดิบ 

ทั้งนี้ กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศผู้ผลิตยางคุณภาพดี เกษตรกรมีรายได้มั่นคง” จึงมีแนวทางสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันเกษตรกรฯ เพิ่มรายได้ของเกษตรกร โดยการปรับเปลี่ยนไปทำสวนยางแบบผสมผสาน การจัดการสวนยางในรูปแบบแปลงใหญ่ นอกจากนี้ จะแก้ไขปัญหาสวนยางที่บุกรุกพื้นที่ป่า โค่นต้นยางเก่า และปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี หรือไม้ยืนต้นชนิดอื่น พัฒนาคุณภาพยางและผลิตภัณฑ์ยางให้ได้มาตรฐาน ให้ความสำคัญแก่การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งทำระบบซื้อขายยางในตลาดกลางยางพาราแต่ละแห่งเข้ากับตลาดยางท้องถิ่นโดยเรียกว่า “ตลาดยาง กยท.” เพื่อที่จะสร้างข้อมูลด้านปริมาณและราคาที่มีการซื้อขายจริงให้ทั่วโลกนำไปใช้ในการอ้างอิง นอกจากนี้ ยังจะส่งเสริมให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนแปรรูปยางพารา


นายเยี่ยม กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งสำคัญที่จะต้องเร่งทำ คือ การทำมาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ตามที่สภาพิทักษ์ป่า (FSC) ของสหภาพยุโรปกำหนด ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ปี 2563 ไม่เช่นนั้นทั้งยุโรปและญี่ปุ่นจะไม่ซื้อทั้งผลิตภัณฑ์ไม้ยางและยางวัตถุดิบจากสวนที่ ไม่ได้รับการรับรอง ในระยะยาวจะจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับใช้ทดแทนแรงงานคนในสวนยาง เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน เป้าหมายสำคัญตามยุทธศาสตร์ คือ ลดพื้นที่ปลูกยางจาก 23.3 ล้านไร่ เหลือ 18.4 ล้านไร่ เพิ่มปริมาณผลผลิตยางจาก 224 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เป็น 360 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เพิ่มสัดส่วนการใช้ยางภายในประเทศจากร้อยละ 13.6 เป็นร้อยละ 35 ในปี 2579 เพิ่มมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางจาก 250,000 เป็น 800,000 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มรายได้การทำสวนยางจาก 11,984 บาทต่อไร่ต่อปี เป็น 19,800 บาทต่อไร่ต่อปี จากนี้ไป กยท.จะนำยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี ให้คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ให้ความเห็นชอบแล้วจึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นขั้นตอนต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม

ปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

รองผู้ว่าฯ กทม. เผยยอดผู้เสียชีวิตเหตุตึกถล่ม ที่ผ่านการพิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว อยู่ที่ 16 ราย และอยู่ระหว่างการค้นหาอีก 78 ราย พร้อมแจงปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

นายกฯ วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

นายกรัฐมนตรี วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พุทธศักราช 2568 ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า