fbpx

ยอดใช้สิทธิ์ FTA- GSP 11 เดือนโตเกือบร้อยละ 16

นนทบุรี 14 ม.ค. – อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเผยยอดใช้สิทธิ์ FTA และ GSP ช่วง 11 เดือนปี 61 กว่า 68,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  15.71 มั่นใจทั้งปีโตร้อยละ 9 หรือคิดเป็น 70,794 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 


นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) โดยในช่วง 11 เดือนปี 2561 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์รวมอยู่ที่ 68,779.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  15.71 โดยมีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์อยู่ที่ร้อยละ  75.09 ของสินค้าที่ได้รับสิทธิ์ทั้งหมด แบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA  มูลค่า 64,344.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  15.29 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  75.89 ของมูลค่าส่งออกที่ได้สิทธิภายใต้ FTA และมูลค่าการส่งออกภายใต้ GSP มูลค่า 4,435.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  22.18 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  65.05 ของมูลค่าที่ได้รับสิทธิ GSP 


ทั้งนี้ การใช้สิทธิ FTA พบว่าตลาดส่งออกที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อาเซียน มูลค่า 24,765.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  จีน มูลค่า 16,217.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ออสเตรเลีย มูลค่า 8,571.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ญี่ปุ่น มูลค่า 7,028.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอินเดีย มูลค่า 4,099.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวของมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ พบว่าตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด คือ เปรู ซึ่งมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 44.64 รองลงมาจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 26.61 และ 22.98 ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 3 ตลาดดังกล่าวนอกจากจะมีอัตราการขยายตัวสูงแล้วยังพบว่ามีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์สูงเช่นเดียวกัน 

สำหรับปี 2562 มีความตกลง FTA ที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ๆ นี้ คือ ความตกลง FTA อาเซียน-จีน (ACFTA) ที่เพิ่งจะบรรลุผลสำเร็จในการเจรจาทบทวนกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า (PSRs) ส่งผลให้กฎที่ใช้ในการพิจารณาออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form E ของสินค้ากว่า 900 รายการเปลี่ยนแปลงไป เช่น สินค้ากลุ่มอาหารสำเร็จรูป กลุ่มปิโตรเคมี และกลุ่มเครื่องสำอาง เป็นต้น โดยสินค้าส่วนใหญ่จะมีกฎที่ยืดหยุ่น คือ ผู้ประกอบการจะมีเกณฑ์เลือกใช้ประกอบการพิจารณายื่นขอ Form E กับกรมการค้าต่างประเทศเพื่อใช้สิทธิพิเศษทางภาษีในการส่งออกสินค้าไปตลาดจีนและประเทศอาเซียนอื่นมากขึ้น จากเดิมเคยใช้เกณฑ์มูลค่าการผลิตในประเทศอย่างน้อยร้อยละ 40 (RVC >40%) ได้เพียงเกณฑ์เดียวได้เพิ่มทางเลือกใช้เกณฑ์การเปลี่ยนพิกัดอัตราศุลกากร (CTC) ที่ไม่ได้จำกัดสัดส่วนมูลค่าของวัตถุดิบนำเข้าจากประเทศนอกภาคีในการผลิตสินค้าขั้นสุดท้าย เพียงแต่กำหนดให้วัตถุดิบนำเข้าต้องผ่านการแปรรูปอย่างเพียงพอ และสินค้าที่ส่งออกมีการเปลี่ยนแปลงพิกัดฯ ในระดับที่กำหนดไว้เท่านั้น ทั้งนี้ คาดว่ากฎดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2562  

นอกจากนี้ ยังมีความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA) ถือเป็น FTA ใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ปีนี้ โดยกรมฯ ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และเตรียมความพร้อมให้บริการ ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้ารองรับความตกลงการค้าเสรีดังกล่าว โดยจะมีผลบังคับใช้ในไตรมาสแรกของปี 2562 และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการในช่วงก่อนความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ รวมทั้งกรมฯ เตรียมจัดอบรม/สัมมนาให้ความรู้ด้านกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า และระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อให้ผู้ประกอบการดำเนินการยื่นขอหนังสือรับรองฯ เพื่อใช้สิทธิฯ AHKFTA ได้ถูกต้องด้วย 


สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ GSP ปัจจุบันมี 5 ประเทศที่ให้สิทธิ์กับไทย คือ สหรัฐ สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช นอร์เวย์ และญี่ปุ่น โดยในช่วง 11 เดือน การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP สหรัฐยังคงมีสัดส่วนการใช้สิทธิ์มากที่สุด คือ ประมาณร้อยละ  89 ของมูลค่าการใช้สิทธิ์ GSP ทั้งหมด มีมูลค่า 3,967.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  14.24 มีอัตราการใช้สิทธิ์ร้อยละ  68.72 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิ์ GSP ซึ่งมีมูลค่า 5,773.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องดื่มอื่น ๆ ถุงมือยาง อาหารปรุงแต่ง และเลนส์แว่นตา 

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงเป้าหมายอัตราการขยายตัวมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ที่กรมฯ ประมาณการไว้ที่ ร้อยละ 9 คิดเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ประมาณ 70,794 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ  97.2 ของเป้าหมายมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ดังนั้น กรมฯ จึงมั่นใจว่ามูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ จะขยายตัวตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกของไทยที่มีการกระจายตัวในตลาดใหม่ ๆ รวมทั้งการปรับปรุงระบบการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การซ้อมเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 7 ณ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขณะที่ “เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ” ให้กำลังใจทำหน้าที่ได้เต็มที่-ประสบความสำเร็จ

พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนตกหนัก 76 จังหวัด 19-23 ก.ย.

พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ซูลิก” แล้ว คาดขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้ หัวพายุส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนแล้ว ช่วงระหว่างวันที่ 19-23 ก.ย.67 มีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก 76 จังหวัด