กรุงเทพฯ 6 ม.ค. – กระทรวงเกษตรฯ สำรวจความเสียหายจากพายุปาบึก พบภาคเกษตรเสียหายมากสุด 13 จังหวัด พร้อมเยียวยาตามระเบียบกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรฯ เผยผลกระทบจากพายุปาบึก ด้านเกษตร มีพื้นที่การเกษตรประสบภัย 13 จังหวัด เกษตรกร 189,688 ราย แบ่งเป็น ด้านพืช 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ตรัง ปัตตานี ชุมพร เกษตรกร 158,550 ราย พื้นที่ได้รับผลกระทบ 116,823 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 20,437 ไร่ พืชไร่ 2,513 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 93,873 ไร่
ทั้งนี้ ระยะแรกของพายุจะมีลมพัดแรง ส่งผลต้นไม้ขนาดใหญ่หักโค่น และระยะต่อมาเมื่อปริมาณฝนสะสมตกหนักจะเกิดมวลน้้าสะสมไหลหลากผ่านพื้นที่เกษตร ส่งผลให้หน้าดินในสวนยางพารา สวนปาล์มน้้ามัน ถูกกัดเซาะ จากน้้าหลาก และเกิดน้้าท่วมพื้นที่เกษตรลุ่มต่ำ ส่งผลให้สวนยางพารา สวนปาล์ม มีน้้าขังท่วมโคนต้น และพื้นที่นาข้าวในจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระยะการเจริญเติบโตอายุปลูก 60 วัน ได้รับผลกระทบจากน้้าหลากไหลผ่านและท่วมขัง
ด้านประมง 7 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ จันทบุรี ตราด เกษตรกร 6,653 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้้าคาดว่าจะเสียหาย 22,364 ไร่ (บ่อปลา 12,484 ไร่ บ่อกุ้ง/ปู/หอย 9,880 ไร่) กระชัง 4,050 ตารางเมตร โดยปลาที่เลี้ยงในกระชังถูกคลื่นซัดได้รับความเสียหาย สัตว์น้้าที่เลี้ยงในบ่อถูกน้้าท่วม
ด้านปศุสัตว์ 4 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี นราธิวาส ปัตตานี เกษตรกร 25,138 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 1,216,681 ตัว แบ่งเป็น โค- กระบือ 46,678 ตัว สุกร 49,993 ตัว แพะ-แกะ 9,021 ตัว สัตว์ปีก 1,110,989 ตัว สัตว์ปีกพื้นบ้านที่ไม่อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย สูญหาย และโรงเรือนสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ (ไก่เนื้อ ไก่ไข่) ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำถูกน้ำท่วมโรงเรือน สัตว์ใหญ่โคเนื้อสามารถอพยพขึ้นที่สูงตามค้าเตือน ซึ่งระยะต่อมาสุขภาพสัตว์อาจอ่อนแอ เนื่องจากภาวะเครียดและความชื้น ได้รับอาหารไม่เพียงพอ
สำหรับการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2556 (เสียหายสิ้นเชิง : ตาย/สูญหาย) ด้านพืช ช่วยเหลือรายละไม่เกิน 30 ไร่ ข้าว 1,113 บาท พืชไร่ 1,148 บาท พืชสวน 1,690 บาท ช่วยเหลือค่าขนย้ายดินโคลน ไร่ละไม่เกิน 7,000 บาท รายละ 5 ไร่ ช่วยเหลือค่าปรับเกลี่ยพื้นที่ช่วยเหลือไร่ละ 700 บาท ไม่เกิน 30 ไร่ ด้านประมง ปลา 4,225 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กุ้ง/ปู หอย ทะเล 10,920 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กระชัง 315 ตรม. ไม่เกิน 80 ตรม. ด้านปศุสัตว์ โค-กระบือ ตัวละ 6,000 – 22,000 บาท ไม่เกิน 2 ตัว ยางพารา สมาชิกการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เสียสภาพสวน ให้ทุนปลูกแทน ไร่ละ 16,000 บาท ช่วยเหลือค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ ไม่เกินครัวเรือนละ 11,000 บาท ช่วยเหลือค่าซ่อมแซมคอกสัตว์/โรงเรือน ครัวเรือนละไม่เกิน 5,000 บาท
ส่วนช่วยเหลือเรือประมงตามระเบียบกรมประมง พ.ศ. 2541 ตามระเบียบก.คลัง พ.ศ. 2556 กรณีเรือความยาวไม่เกิน 10 เมตร ช่วยเหลือค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกินลำละ 20,000 บาท กรณีเรือจม ช่วยเหลือค่ากู้เรือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ลำละ 30,000 บาท กรณีเรือสูญหาย/เสียหายมาก ซ่อมแซมไม่ได้ ช่วยเหลือลำละไม่เกิน 66,000 บาท กรณีเรือความยาวเกิน 10 เมตร ช่วยเหลือค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกินลำละ 70,000 บาท กรณีเรือจม ช่วยเหลือค่ากู้เรือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ล้าละ 95,000 บาท กรณีเรือสูญหาย/เสียหายมาก ซ่อมแซมไม่ได้ ช่วยเหลือ ล้าละไม่เกิน 200,000 บาท กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์การช่วยเหลือตามระเบียบกรมประมงฯ ให้ช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ ไม่เกินครัวเรือนละ 11,000 บาท.-สำนักข่าวไทย