วิเคราะห์เส้นทาง-ความรุนแรงพายุ “ปาบึก”

ภูมิภาค 3 ม.ค. – พายุโซนร้อน “ปาบึก” ที่กำลังเคลื่อนตัวเข้าไทย สร้างความกังวลให้หลายฝ่าย เพราะคาดว่าความรุนแรงเทียบเท่าพายุโซนร้อน “แฮเรียต” เมื่อปี 2505 มหาวาตภัยที่สร้างความสูญเสียให้แหลมตะลุมพุก พายุ “ปาบึก” จะรุนแรงขนาดไหน ติดตามจากรายงาน



เหตุมหาวาตภัยแหลมตะลุมพุก เมื่อ 57 ปีก่อน กลับมาสร้างความประหวั่นพรั่นพรึงให้ชาวนครศรีธรรมราชอีกครั้ง เนื่องจากความรุนแรงของพายุโซนร้อนแฮเรียต มีระดับใกล้เคียงกับพายุโซนร้อนปาบึก หากย้อนไปในอดีต ภาคใต้ของไทยเผชิญกับความรุนแรงของพายุถึง 3 ลูก


25 ตุลาคม ปี 2505 พายุโซนร้อน “แฮเรียต” ถล่ม มีผู้เสียชีวิตกว่า 900 ราย สูญหายมากกว่า 100 ราย ผู้คนนับหมื่นไร้ที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะที่แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช แฮเรียตกวาดทุกอย่างที่นี่จนหมดสิ้น   


4 พฤศจิกายน ปี 2532 พายุไต้ฝุ่น “เกย์” ซึ่งเดิมเป็นพายุหมุนเขตร้อน ทวีกำลังแรงเป็นพายุไต้ฝุ่น เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่ อ.ปะทิว และ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ทำให้ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และหลายจังหวัดเสียหายหนัก มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 ราย สูญหายกว่า 400 ราย ทรัพย์สินราชการและเอกชนเสียหายไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท เรือประมงจมลงสู่ใต้ท้องทะเลประมาณ 500 ลำ นับเป็นการสูญเสียจากพายุไต้ฝุ่นครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 

ลูกสุดท้าย คือ พายุไต้ฝุ่น “ลินดา” ปี 2540 มีผู้เสียชีวิตทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้าน มากถึง 3,000 ราย

สำหรับพายุ “ปาบึก” ที่ภาคใต้กำลังเผชิญ เป็นพายุโซนร้อนชนิดเดียวกับ “แฮเรียต” มีรัศมีทำลายล้างเกือบ 300 กิโลเมตร สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างมากกว่าแฮเรียต แต่เป็นความสูญเสียด้านทรัพยากรธรรมชาติ

การเคลื่อนตัวของพายุปาบึก คาดการณ์ตำแหน่งจุดศูนย์กลางของพายุขึ้นฝั่งได้ 3 ลักษณะ คือ แบบที่ 1 เคลื่อนเข้าสู่ อ.หัวไทร อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ช่วง 16.00 น. ของวันพรุ่งนี้ (4 ม.ค.) แบบที่ 2 เคลื่อนเข้าสู่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี อ.หลังสวน จ.ชุมพร ช่วง 04.00 น. ของวันที่ 5 ม.ค. และแบบสุดท้าย เคลื่อนเข้าสู่ อ.สวี อ.เมือง จ.ชุมพร ช่วง 07.00 น. ของวันที่ 5 ม.ค. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องอพยพผู้คนออกจากชายฝั่งทะเล ตั้งแต่รัศมี 100-500 เมตร เสี่ยงเจอสตอร์มเซิร์จ คลื่นทะเลที่มีความสูงถึง 5 เมตร

ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้น ทำให้ไทยเผชิญกับความแปรปรวน ระบบเตือนภัยพิบัติ จึงมีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน ตั้งแต่การเฝ้าระวัง แจ้งข่าวสารทุก 12 ชั่วโมง จนเพิ่มความถี่ทุก 3 ชั่วโมง ผ่านเทคโนโลยีทุกช่องทาง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว

สำหรับสภาพอากาศตลอดปี 2562 ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ระบุไทยกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ครึ่งปีแรกจะประสบกับสภาพอากาศแล้งจัด โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายน อุณหภูมิจะสูงเป็นประวัติศาสตร์ และเข้าสู่ฤดูฝนล่าช้าประมาณ 2 สัปดาห์ จนเข้าสู่ช่วงลานีญา ไทยอาจเจอพายุอีกลูก ภาคใต้เสี่ยงน้ำท่วมอีกครั้ง. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

สอบเข้ม “ชวนหลิง จาง” กรรมการไชน่า เรลเวย์ฯ ปฏิเสธทุกข้อหา

ดีเอสไอสอบเข้ม “ชวนหลิง จาง” กรรมการ บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ เบื้องต้นให้การปฏิเสธทุกข้อหา อ้างเป็นผู้แทนรัฐวิสาหกิจจีนมาลงทุนในไทย ถูกส่งมาบริหารบริษัทในไทยเท่านั้น

“พีช” หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายแล้ว

“นายกเบี้ยว” พร้อมลูกชาย หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายก่อนแล้ว จึงฝากจดหมายขอโทษไว้ ด้าน “กัน จอมพลัง” ยอมถอย ให้สองฝ่ายพูดคุย แต่ต้องเป็นรูปธรรม

นักธรณีคาดดินยุบตัว เพราะเป็นจุดทางน้ำไหลผ่านจนเกิดโพรง

นักธรณีวิทยาลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุดินยุบตัว กินพื้นที่กว่า 4 ไร่ เบื้องต้นคาดเป็นจุดทางน้ำไหลผ่านจนเกิดโพรง ทำให้ดินยุบตัวเป็นวงกว้าง

ก.อุตฯ เตรียมส่งตรวจเหล็กตึก สตง. เพิ่ม 21 เม.ย.

ก.อุตสาหกรรม กางผลตรวจเหล็กตึก สตง.ถล่ม รอบแรก ก่อนส่งตรวจเพิ่มอีก 40 ท่อน 21 เม.ย. ย้ำผิดคือผิด! ผู้ผลิต-จนท.มีเอี่ยว เตรียมปิดเทอม