กรุงเทพฯ 22 ธ.ค.-กยท. ส่งรายชื่อกว่า 300
สถาบันเกษตรกรให้อปท. ทั่วประเทศ หลายจังหวัดเข้ารับซื้อน้ำยางสดจากสถาบันเกษตรกรในพื้นที่แล้ว
ย้ำ ต้องไม่ต่ำกว่าราคากลางที่ กยท.ประกาศ
นายณกรณ์
ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยางกล่าวว่า
กยท.ได้ส่งมอบรายชื่อและสหกรณ์แสถาบันเกษตรกร กว่า 300
แห่งในทุกภาคแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ใน 77 จังหวัดเรียบร้อยแล้ว
โดยเป็นสหกรณ์ที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ซึ่งอปท.
สามารถเลือกรับซื้อน้ำยางสดโดยตรงได้เลย ทั้งนี้แต่ละจังหวัดจะมีทั้งเกษตรและสหกรณ์จังหวัดและผอ
กยท.จังหวัดอำนวยความสะดวกให้ โดยกยท. โดยส่งมอบรายชื่อ ผอ. กยท. ที่รับผิดชอบไปให้ด้วย
สำหรับบางจังหวัดที่ไม่มีสำนักงาน กยท. จังหวัดตั้งอยู่ ได้มอบหมายให้ผอ. กยท.
ใกล้เคียงดูแล โดยจังหวัดที่ไม่มีสวนยางให้ติดต่อกยท.ส่วนกลาง
นายณกรณ์ย้ำว่า กยท.ขอให้อปท. ซึ่งมี 7,000
กว่าแห่งรับซื้อน้ำยางจากสถาบันเกษตรกร โดยอิงราคากลางที่ กยท.กำหนดในวันนั้นๆเพราะจะสูงกว่าราคาตลาด
แต่สามารถบวกเพิ่มมากกว่าราคากลางที่ กยท.กำหนดได้ ล่าสุดได้การมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ
1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร ตามข้อสั่งการของนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการโดยอปท. และกยท.
ทำหน้าที่รับผิดชอบโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร โดยสนับสนุนให้อปท.
นำน้ำยางพาราไปใช้สร้างถนนดินซีเมนต์ ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพาราทั่วประเทศจำนวน
75,032 หมู่บ้าน ซึ่งหากสร้างหมู่บ้านละ 1 กิโลเมตร รวมระยะทาง 75,032 กิโลเมตร
สำหรับแผนปฏิบัติงานโครงการปรับปรุงถนนภายในหมู่บ้าน
ให้เป็นถนนที่มีการนำยางพารามาเป็นส่วนผสมในการก่อสร้างถนนในชั้นพื้นฐานหนา 15
เซนติเมตร กว้าง 6 เมตร คาดว่าสามารถโดยการนำยางพารามาใช้ใน การทำถนนเป็นจำนวนน้ำยางสด
1.44 ล้านตัน หรือคิดเป็นน้ำยางข้น 7.2 แสนตัน ใช้งบประมาณจากงบประมาณรายจ่ายและเงินสะสมของอปท.
ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราได้รับประโยชน์โดยตรง โดยราคาซื้อขายยางพาราปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เมื่อเทียบตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 61 จนถึงวันนี้ ราคายางพาราปรับขึ้นมาแล้ว 3.96
บาท ซึ่งหากการก่อสร้างถนนยางพาราดำเนินการได้ทั่วประเทศ ราคาจะขยับสูงขึ้นอย่างแน่นอน
นายณกรณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า
ขณะนี้หลายจังหวัดเริ่มทำถนนยางแล้วได้แก่ พิษณุโลก ร้อยเอ็ด และจังหวัดภูเก็ต โดยที่ภูเก็ตนั้น
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานการประชุมอปท. ภายในจังหวัดภูเก็ต โดยผอ. กยท.
จังหวัดเข้าร่วมประชุม และรายงานกว่า เป็นการประชุมครั้งที่ 2
เพื่อติดตามความก้าวหน้า
มาตรการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ
เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ
โดยผลจากการประชุมมีอปท. แจ้งผลการก่อสร้างถนนพาราแอสฟัลติกส์คอนกรีตแล้ว จำนวน
21 สาย งบประมาณกว่า 62 ล้านบาท ใช้ปริมาณน้ำยางข้น 169.02 ตัน และน้ำยางสด
372.510 ตัน ในที่ประชุมติดตามได้ส่งมอบแบบ-สูตรก่อสร้าง
คู่มือราคากลางในการก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพ ด้วยยางพารา
เชิญชวนให้อปท. พิจารณาเพิ่มเส้นทางก่อสร้างขึ้นอีก ซึ่งเป็นต้นแบบให้จังหวัดอื่นๆ
ดำเนินการตามได้.-สำนักข่าวไทย