สมศ.ยกโมเดล 4ประเทศ ต้นแบบประเมินคุณภาพการศึกษารอบ 4

กรุงเทพฯ 6 ก.ย.-สมศ.ดึงจุดเด่นการประเมินของ ‘สิงค์โปร์-ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ-นิวซีแลนด์’ มาปรับใช้ ยกระดับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 4


 

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)  หรือ สมศ. เปิดโมเดลการประเมินของ 4 ประเทศ ได้แก่ สิงค์โปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ ที่ สมศ.ชั้น 24 อาคารพญาไท พลาซ่า


โดยนายคมศร วงษ์รักษา รักษาการแทนผู้อำนวยการ สมศ.กล่าวว่า จากการศึกษารูปแบบการประเมินทั้ง 4 ประเทศชั้นนำดังกล่าว  พบว่า จุดเด่นคือการประกันคุณภาพการศึกษา การประเมินภายในมีความเข้มแข็งมาก  มีการสนับสนุน ส่งเสริมจากต้นสังกัดชัดเจนและการคัดบุคลากรเข้ามาดูแลเรื่องการศึกษาทั้งผู้บริหารและครู ค่อนข้างมีมาตรฐาน ระบบการเรียน การสอนมีแนวปฏิบัติชัดเจน ทำให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขณะที่การประเมินภายนอก ระดับพื้นฐาน ปฐมวัย มีองค์กรอิสระหลายหน่วยงาน มาประเมินในรูปแบบตามความสมัครใจ ส่วนระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา จะบังคับต้องประเมินทุกโรงเรียน เพราะมองว่าเป็นระดับสำคัญสู่อาชีพ เป็นต้น

 

ด้าน พล.ร.ต.วัชระ การุณยวนิช รองผู้อำนวยการ สมศ. กล่าวว่า การ ประเมินแต่ละประเทศมีความหลากหลาย ตามบริบทของประเทศ  แต่ที่มีเหมือนกันคือมีหน่วยงานอิสระ หลายหน่วยเป็นผู้ประเมินแต่ละระดับการศึกษา ต่างจากไทยที่มี สมศ.ที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำงานร่วมกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานเดียวที่ทำหน้าที่ประเมิน มีสถานศึกษาดูแลกว่า 60,000 แห่งทั่วประเทศ จะทำการประเมินภายนอกทุกๆ5 ปี หมายความว่า สมศ.ต้องประเมินสถานศึกษาให้ได้กว่า1,000 แห่งต่อปี จากข้อจำกัด ทำให้การประเมินทั้ง 3 รอบที่ผ่านมาพบปัญหาเนื่องจากมีผู้ประเมินแต่ละโรงเรียนจำนวนมากและไม่ตรงสาย  ทำให้ไม่มีคุณภาพ  โดยเฉพาะระดับขั้นพื้นฐาน นับเป็นโจทย์ยาก ดังนั้นการประเมินภายนอกรอบ 4 ที่จะมีขึ้นประมาณปี 2560 นี้ จะนำหลักปฏิบัติเด่นๆบางข้อ ของทั้ง 4 ประเทศนี้มาปรับใช้  ทั้งเรื่องผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมิน ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับนั้นๆ เพื่อสามารถให้คำแนะนำหลังการประเมินได้อย่างเป็นรูปธรรม ตรงตามความต้องการ เหมาะสมมากขึ้น  ผ่านรูปแบบการประเมิน ที่เน้นการพูดคุย สัมภาษณ์ มากกว่าตัวเอกสาร และเป็นไปด้วยความสมัครของแต่ละสถานศึกษาที่มีความพร้อม ไม่ใช่การบังคับอย่างที่เคยทำมา พร้อมกับ สมศ.จะรวบรวมรายชื่อสถานศึกษาที่ต้องทำการประเมินด้วย


 

ส่วนความถี่ในการประเมินจากเดิมทุกๆ 5 ปี ก็จะขยายช่วงออกไป ขึ้นอยู่กับผลประเมิน โดยสถานศึกษาที่มีผลประเมินดี ผ่านเกณฑ์ ก็ไม่ต้องประเมินบ่อย แต่เว้นเป็นทุกๆ7 ปี ขณะที่สถานศึกษาใดที่ไม่ผ่านการประเมินก็ต้องถูกประเมินบ่อยขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการติดตามผล หลังการประเมิน ว่าสถานศึกษานั้น ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ประเมินทุก ๆ    6 เดือนด้วยจากเดิมที่จะติดตามในการประเมินรอบต่อไป .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชิงทอง

สอบเครียด! คนร้ายชิงทอง 113 บาท สารภาพเอาไปจำนำบางส่วน

สอบเครียดทั้งคืน ผู้ต้องหาชิงทอง 113 บาท รับสารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน ซื้อเบ้าหลอมเพื่อให้ยากต่อการติดตามของตำรวจ

เมียวดีระส่ำ! ปั๊มเหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน

เมียวดีระส่ำหนัก หลังไทยตัดกระแสไฟฟ้า-อินเทอร์เน็ต-น้ำมันข้ามชายแดน โดยเฉพาะน้ำมันขาดแคลนหนัก ปั๊มน้ำมันกว่า 20 แห่ง เหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน ประธานหอการค้าเมียวดี เรียกร้องรัฐบาลไทยทบทวน อยากให้ 2 ประเทศ ร่วมกันปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ถูกจุด

ข่าวแนะนำ

ทำแผนชิงทอง

คุมทำแผนโจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท

คุมตัวทำแผน โจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท ในห้างฯ ย่านลำลูกกา สารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน และซื้ออุปกรณ์หลอมทองเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่

จับเรือประมงเมียนมา

จับเรือประมงเมียนมา รุกล้ำน่านน้ำไทย

ศรชล.ภาค 3 จับกุมเรือประมงเมียนมาพร้อมลูกเรือ 13 คน ขณะลักลอบนำเรือประมงจอดลอยลำในทะเลอาณาเขตของไทย บริเวณ จ.ระนอง ใกล้เกาะค้างคาว