fbpx

ยอดใช้เอฟทีเอ-จีเอสพี 10 เดือนโตต่อเนื่อง

นนทบุรี 14 ธ.ค. – พาณิชย์โชว์ยอดใช้สิทธิ์เอฟทีเอ-จีเอสพี 10 เดือนโตถึงร้อยละ 8.98 มูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ พุ่ง 62,418 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มั่นใจทั้งปีสูงทะลุเป้า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 


นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ แถลงการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (จีเอสพี) โดยในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.) มูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ รวมอยู่ที่ 62,418.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ฯ อยู่ที่ร้อยละ 75.02 ขยายตัวจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 8.98 แบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิ์จากเอฟทีเอ  58,391.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการส่งออกภายใต้จีเอสพี 4,026.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 


ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยจัดทำความตกลงเอฟทีเอ 12 ฉบับ และมีการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงเอฟทีเอ คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 58,391.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 76.40 ของมูลค่าการส่งออกรวมภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไปยังประเทศคู่ภาคีความตกลง เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 8.82 โดยตลาดส่งออกที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อาเซียน มูลค่า 22,409.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  จีน มูลค่า 14,708.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ออสเตรเลีย มูลค่า 7,837.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ญี่ปุ่น มูลค่า 6,338.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอินเดีย มูลค่า 3,719.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวของมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ พบว่าตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด คือ เปรู ขยายตัวร้อยละ 58.62 รองลงมาอินเดียและเกาหลี ซึ่งมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 23.58 และ 22.73 ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 3 ตลาดดังกล่าวนอกจากจะมีอัตราการขยายตัวสูงแล้วยังพบว่ามีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์สูงเช่นเดียวกัน 

สำหรับกรอบความตกลงการค้าเสรีที่มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ไทย-ชิลี ไทย-ญี่ปุ่น  ไทย-เปรู  ไทย-ออสเตรเลีย และอาเซียน-จีน  และรายการสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์บรรทุก ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ ทุเรียน น้ำตาลจากอ้อย และน้ำมันปิโตรเลียม 


อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 คาดว่าจะมีความตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้เพิ่มอีก 1 ฉบับ คือ อาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA) ซึ่งได้ข้อสรุปการเจรจารอบสุดท้ายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการภายในของแต่ละประเทศสมาชิก เพื่อให้มีผลบังคับใช้ โดยความตกลงฯ ดังกล่าวถือเป็นทางเลือกผู้ส่งออกไทยที่สนใจจะใช้เป็นช่องทางให้สินค้าไทยเจาะตลาดจีนและตลาดอื่น ๆ โดยใช้ฮ่องกงเป็นประตูการค้าและการลงทุนเชื่อมโยงไทยไปสู่ตลาดใหญ่อย่างจีนและตลาดในภูมิภาคอื่นทั่วโลก เนื่องจากฮ่องกงมีบทบาทสำคัญในนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road) ของจีน และได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ จากจีนภายใต้ความตกลงทางการค้ากับจีน รวมถึงมีความเชี่ยวชาญภาคบริการ โดยเฉพาะด้านการเงิน การค้า และโลจิสติกส์ นอกจากนี้ ยังมีเอฟทีเอใหม่ ๆ ที่น่าติดตาม ซึ่งเริ่มเปิดการเจรจาและคาดว่าจะมีการเจรจาที่มีความคืบหน้าอย่างมากปีหน้า ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีไทย-ศรีลังกา และความตกลงการค้าเสรีไทย-ตุรกี ซึ่งทั้ง 2 ประเทศเป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจ และเอฟทีเอจะช่วยเพิ่มโอกาสส่งออกสินค้าไทย อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นประตูสู่การค้าและการลงทุนเชื่อมโยงไปภูมิภาคขนาดใหญ่ คือ เอเชียใต้ และสหภาพยุโรป ตามลำดับ 

ทั้งนี้ ยังคงต้องจับตาส่งออก  2 เดือนสุดท้ายปี 2561 ซึ่งมีแนวโน้มต้องเผชิญกับความท้าทายจากความผันผวนและปัจจัยเสี่ยงด้านต่าง ๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ความผันผวนของนโยบายการค้า และประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่ยังไม่มีความชัดเจนและอาจส่งผลกระทบในวงกว้างต่อความเชื่อมั่นทางการค้าและการลงทุน แต่กรมฯ เชื่อมั่นว่าสินค้าไทยยังมีโอกาสส่งออกไปตลาดจีนรวมถึงตลาดอื่น ๆ ที่มีศักยภาพมากขึ้น ทำให้คาดว่ามูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมาย โดยตลอดปี 2561 ตั้งเป้าหมายอัตราการขยายตัวมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ไว้ที่ร้อยละ 9 คิดเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ประมาณ 70,794 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ มูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 88.2 ของเป้าหมายมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ โดยเมื่อพิจารณาถึงมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากการส่งออกของไทยที่มีการกระจายตัวในตลาดใหม่  รวมทั้งการปรับปรุงระบบการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงมั่นใจว่ามูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การซ้อมเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 7 ณ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขณะที่ “เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ” ให้กำลังใจทำหน้าที่ได้เต็มที่-ประสบความสำเร็จ

พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนตกหนัก 76 จังหวัด 19-23 ก.ย.

พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ซูลิก” แล้ว คาดขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้ หัวพายุส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนแล้ว ช่วงระหว่างวันที่ 19-23 ก.ย.67 มีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก 76 จังหวัด