ชู ‘เถาวัลย์เปรียง’ สุดยอดสมุนไพรแก้ปวดเมื่อย

สธ.22 พ.ย.-อภัยภูเบศร ชูเถาวัลย์เปรียงสุดยอดสมุนไพรแก้ปวดเมื่อย ใช้ง่ายปลอดภัย จนได้บรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ 


ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า เถาวัลย์เปรียง เป็นสมุนไพรที่แพทย์แผนไทยรู้จักใช้กันดี ปรากฏอยู่ในตำรายาแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในหลายคัมภีร์ เป็นสมุนไพรที่มีความถี่ในการใช้และปรากฏในตำรายาสูงมากชนิดหนึ่ง โดยใช้เถาเป็นส่วนประกอบในตำรับยาแก้กษัยแก้เหน็บชา ถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายกษัย แก้เส้นเอ็นขอด แก้เมื่อยขบ ทำให้เส้นหย่อน แก้ปวด แก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคบิด แก้โรคหวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ถ่ายเสมหะลงสู่คูดทวาร ถ่ายอุจาระ บีบมดลูก สรรพคุณเหล่านี้คล้ายคลึงกับการใช้ของหมอยาพื้นบ้านทั่วไป


ภญ.สุภาภรณ์ เล่าว่า เมื่อประมาณปี 2535 คุณแม่ลีสี แซ่เอี้ยว ปัจจุบันมีอายุ 92 ปี เป็นคุณแม่ของ ภญ.พัชรี ศรานุรักษ์ (ปัจจุบันรับราชการที่ รพ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ)ในปีนั้นได้มาพบและออกปากฝากสมุนไพรชนิดหนึ่งไว้ว่าอย่าให้สูญไป ยาตัวนี้ก็คือเถาวัลย์เปรียง โดยได้ความรู้มาจากซินแส ที่จ.ราชบุรี ใช้เป็นยาแก้ตกขาว บอกให้คนรักษาตัวเองหายมาแล้วหลายราย ไม่ใช่เฉพาะตกขาวอย่างเดียว ตกเหลืองตกเขียว  ตกแดงช้ำๆ  ก็กินหายมาแล้ว ต่อมามีการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเถาวัลย์เปรียงมากขึ้นก็พบว่า มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้นกันซึ่งอาจจะเป็นกลไกที่ช่วยให้อาการตกขาวดีขึ้น


นอกจากนี้เมื่อปี 2536 มีคุณยายอายุ 70 ปี ที่รู้จักคุ้นเคยกัน ได้มาปรึกษาว่า ป่วยด้วยโรคปวดเข่า แต่กินยาแก้ข้ออักเสบไม่ได้ เพราะมีผลข้างเคียงจนเป็นโรคกระเพาะจึงทำยาเถาวัลย์เปรียงให้ลองกินปรากฏว่าช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าของคุณยายได้พอสมควร ช่วงนั้นพบว่ามีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องการยาแก้ปวดเมื่อยปวดข้อที่ไม่มีผลข้างเคียงเช่นที่เกิดจากการใช้ยาแผนปัจจุบัน เมื่อรู้ว่าเถาวัลย์เปรียงเป็นสมุนไพรที่คนโบราณใช้กันมานานเพื่อรักษาโรคกษัย แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็นตึง และยังมีการต้มกินเป็นประจำเป็นยาอายุวัฒนะ และตรวจสอบข้อมูลการศึกษาวิจัยก็พบว่าเถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์ลดการอักเสบ ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการเป็นยาแก้ปวดเมื่อยแต่เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัย จึงส่งเถาวัลย์เปรียงให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวิเคราะห์ เมื่อพบว่าไม่มีพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง จึงพัฒนาเถาวัลย์เปรียงในรูปแคปซูลแก้ปวดเมื่อยขึ้นใช้ในโรงพยาบาล

“ต่อมามีงานวิชาการพบว่า เถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกัน  ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยมะเร็ง หวัด ภูมิแพ้ และยังผ่านการทดลองทางคลินิก (ทดลองในคน) ในการแก้ปวดจากเข่าเสื่อมโดยเปรียบเทียบกับนาพร็อกเซน (ยาต้านการอักเสบแผนปัจจุบัน) แล้วพบว่าได้ผลไม่แตกต่างกันและในการแก้ปวดหลังระดับเอว เปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน คือยาไดโคลฟีแนค ก็พบว่าได้ผลไม่ต่างกันอีกเช่นกัน มิหนำซ้ำเถาวัลย์เปรียงยังมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ทำให้ปัจจุบันแคปซูลเถาวัลย์เปรียงได้รับการบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2554” ภญ.สุภาภรณ์ กล่าว .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชิงทอง

สอบเครียด! คนร้ายชิงทอง 113 บาท สารภาพเอาไปจำนำบางส่วน

สอบเครียดทั้งคืน ผู้ต้องหาชิงทอง 113 บาท รับสารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน ซื้อเบ้าหลอมเพื่อให้ยากต่อการติดตามของตำรวจ

เมียวดีระส่ำ! ปั๊มเหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน

เมียวดีระส่ำหนัก หลังไทยตัดกระแสไฟฟ้า-อินเทอร์เน็ต-น้ำมันข้ามชายแดน โดยเฉพาะน้ำมันขาดแคลนหนัก ปั๊มน้ำมันกว่า 20 แห่ง เหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน ประธานหอการค้าเมียวดี เรียกร้องรัฐบาลไทยทบทวน อยากให้ 2 ประเทศ ร่วมกันปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ถูกจุด

ข่าวแนะนำ

ทำแผนชิงทอง

คุมทำแผนโจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท

คุมตัวทำแผน โจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท ในห้างฯ ย่านลำลูกกา สารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน และซื้ออุปกรณ์หลอมทองเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่

จับเรือประมงเมียนมา

จับเรือประมงเมียนมา รุกล้ำน่านน้ำไทย

ศรชล.ภาค 3 จับกุมเรือประมงเมียนมาพร้อมลูกเรือ 13 คน ขณะลักลอบนำเรือประมงจอดลอยลำในทะเลอาณาเขตของไทย บริเวณ จ.ระนอง ใกล้เกาะค้างคาว