ระบบสั่งรดน้ำพืชผลอัตโนมัติผ่านมือถือ!! พลิกโฉมเกษตรกรรม

31 ต.ค.- รู้จักต้นแบบ “โรงเรียน IoT” (Internet of Things) นำร่องระบบควบคุมปล่อยน้ำรดน้ำพืชผลอัตโนมัติผ่านมือถือ-วัดความชื้นดิน  ลดสิ้นเปลืองค่าน้ำ พลิกโฉมเกษตรกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล  เปลี่ยน “ปัญหา” เป็น “ความสำเร็จ” ไปกับโครงการ “CAT Digital Come Together มีส่วนร่วมและพัฒนาเติบโตไปด้วยกัน” 


หากไม่นับภารกิจในการขยายเครือข่ายมือถือและอินเทอร์เน็ต ให้เข้าถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศของบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคม  เพื่อตอบสนองความต้องการผู้ใช้บริการในยุคที่ให้ความสำคัญกับ “ชีวิตบนโลกออนไลน์” เป็นอย่างมาก สิ่งที่เราควรพิจารณา ก็คือประโยชน์ของเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อ “ยกระดับชีวิตและสังคม” อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่การทำโครงการส่งเสริมการขาย หรือโครงการส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรที่ต่างมาแบบรวดเร็วฉับไว จบโครงการแล้วผ่านไป หากแต่เป็นโครงการ CSR ที่เน้นการปลูกฝังแนวคิด วางพื้นฐานทางเทคโนโลยีการสื่อสาระยะยาวสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย


หนึ่งโครงการที่น่าสนใจสำหรับแนวคิดของการขยายโอกาสด้านเทคโนโลยีสู่ชุมชนและสังคมที่เราอยากให้มีโอกาสได้ทำความรู้จักคือ “CAT Digital Come Together” โครงการที่อาจจะทำให้ใครหลายๆ คนเห็นภาพของ CAT หรือ กสท โทรคมนาคม ในยุค IoT ที่อินเทอร์เน็ตมีศักยภาพในการเชื่อมโยงและช่วยควบคุมอุปกรณ์ผ่านเครือข่ายอย่างเด่นชัดขึ้น มากกว่าแค่ประโยชน์ด้านการสื่อสาร จากบทบาทผู้เชื่อมโยงการสื่อสารของไทย สู่บทบาท “ผู้นำเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสังคม” ที่พร้อมเติบโตไปกับคนไทย

ต้นแบบไอเดีย ต่อยอด IoT พลิกโฉมการเกษตร โครงการ CAT Digital Come Together คือสิ่งที่ CAT สะท้อนประโยชน์ของ IoT สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับเกษตรกรรม ผ่านวิทยากรผู้มีประสบการณ์ ความรู้และความชำนาญบุคลากรในหน่วยงาน CAT ที่ทุ่มเทและตั้งใจมาเปลี่ยนวิถีชีวิตคนในชุมชนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยดูแลพืชผลทางการเกษตร พัฒนาวิธีปั้มน้ำเพื่อรดน้ำพืชผลโดยอัตโนมัติ แทนการเดินไปเปิด-ปิดปั้มน้ำซึ่งต้องสิ้นเปลืองแรงงานและเวลา 


การได้รับโอกาสในการทดลองใช้เทคโนโลยีระบบ IoT ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตและแนวคิดของครู นักเรียน และบุคลากร โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านต่ำบุญศิริ จังหวัดนครนายก ไปอย่างสิ้นเชิง จากที่เคยมีปัญหาใช้น้ำปริมาณมากส่งผลกระทบให้สิ้นเปลืองค่าน้ำเป็นจำนวนมากต่อเดือน สู่การวางท่อน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกพืชของโรงเรียน พร้อมกับใช้เทคโนโลยีเพื่อวางระบบวัดอุณหภูมิความชุ่มชื้นในดินและแจ้งผลผ่านมือถือ เพื่อสั่งการและควบคุมระบบปล่อยน้ำเพื่อรดน้ำแก่พืชผลโดยอัตโนมัติ แม้ระบบดังกล่าวอาจดูเรียบง่าย แต่สามารถใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการได้อย่างแท้จริง ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ นี่อาจเป็นต้นแบบการต่อยอดไอเดียสู่ความไฮเทคอื่นๆ ที่ดียิ่งขึ้นในอนาคตของทั้งเด็กๆและครู ที่มองเรื่องเทคโนโลยีเป็นเรื่องสนุก น่าเรียนรู้ ไปซะแล้ว 

เปลี่ยน “ปัญหา” เป็น “ความสำเร็จ” สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตการจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการนำเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้งานร่วมกันผ่านรูปแบบ IoT เพื่อเกษตรกรรมนั้น จำเป็นต้องมีการลงพื้นที่เพื่อรับทราบและเห็นปัญหาจริง ก่อนจะนำมาประเมินหาขั้นตอนที่เหมาะสมในการแก้ไข ซึ่งทีมงานจาก CAT ที่ลงพื้นที่รับฟังปัญหา ก็ได้ยึดถือและปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าว ทำให้สามารถเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง โดยเฉพาะปัญหาการเสียแรงงานและความเสี่ยงในการถูกสัตว์มีพิษทำอันตรายจากการเดินผ่านดงหญ้าเพื่อรดน้ำพืชผล

นี่คือสิ่งยิ่งตอกย้ำว่าแนวคิดระบบ IoT รดน้ำอัตโนมัติ คือ ตัวอย่างในการประยุกต์เทคโนโลยีเข้ากับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็นปัญหาที่ยังไม่เคยมีภาพของผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานที่มีเทคโนโลยี เข้ามาดูแล ให้คำแนะนำ หรือช่วยคลี่คลายอย่างเป็นชัดเจน ทั้งหมดสะท้อนถึงความสำเร็จในการใช้อินเทอร์เน็ตและเปลี่ยนบทบาทจากช่องทางสื่อสาร ค้นหาข้อมูล สู่ประโยชน์ในการพัฒนาแนวคิด พัฒนาคุณภาพชีวิต ไปจนถึงการพัฒนาสู่เกษตรกรรมวิถีใหม่ ที่เกษตรไทยต้องก้าวไปให้ถึง

ขยายโอกาส ส่งต่อความยั่งยืนสู่ชุมชน และสังคม จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ปัจจุบันโครงการ CAT Digital Come Together ได้สร้างองค์ความรู้ให้โรงเรียน ขยายต่อไปยังชุมชน สู่คนในครอบครัว และยังจุดประกายความคิดต่อยอดสู่สิ่งที่ดีขึ้น การนำผลผลิตมาแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้การทำตลาดทางออนไลน์ที่มีทีมงาน CAT คอยเป็นพี่เลี้ยงเป็นรูปธรรมที่ทำให้เห็นว่าโอกาสต่างๆ สามารถขยายได้ออกไปอย่างไม่สิ้นสุด ภายใต้เป้าหมายของ CAT ที่มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์และพัฒนาสู่สังคม สู่การสร้างอาชีพและความสำเร็จของคนไทย ควบคู่กับการใช้ชีวิตอย่างมั่งคงยั่งยืน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร