มอบ1.3 ล้าน ญาติแรงงานเสียชีวิตเหตุหอระฆังทรุด

ก.แรงงาน 3 ต.ค.-รมว.แรงงาน มอบเงินสิทธิประกันสังคมกว่า1.3 ล้านแก่ญาติแรงงานที่เสียชีวิตจากเหตุหอระฆังทรุด พร้อมกำชับนายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย


พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานมอบเงินให้แก่ทายาทของนายสุริยันต์ สายทอง อายุ 46 ปี ที่ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ซึ่งนายสุริยันต์เป็นลูกจ้างที่เสียชีวิตในที่เกิดเหตุจากเหตุเจดีย์เก่าแก่ภายในวัดพระยาทำ ซอยอรุณอมรินทร์ 15 เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เศษวัสดุถล่มทับคนงานขณะกำลังซ่อมแซมเมื่อวันที่ 25 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนเป็นค่าทำศพจำนวน 33,000 บาท เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 1,152,000 บาท และเงินบำเหน็จชราภาพอีกจำนวน 211,299.89 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,396,299.89 บาท


รมว.แรงงาน กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงวานนี้ (2 ต.ค.) เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรุงเทพมหานครพื้นที่ 6 (สรพ.6) ได้ร่วมกับศูนย์ความปลอดภัยแรงงานเขต11 ดำเนินการสอบข้อเท็จจริงกับนายจ้างแล้ว ได้ข้อสรุปว่า นายจ้างบริษัท ฟีเนสส์ ซอยส์ เทสติ้ง จำกัด ให้ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงาน ที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิตร่างกาย โดยไม่ได้จัดให้มีคู่มือและขั้นตอนการทำงานให้ลูกจ้างทราบก่อนการทำงาน 


สำหรับกรณีลูกจ้างเสียชีวิต 1 คน นายจ้างได้จัดการงานปลงศพให้และให้เงินเยียวยาครอบครัว 200,000 บาท  พร้อมทั้งรับลูกชายผู้เสียชีวิต ทั้ง 2 คนเข้าทำงาน กรณีลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บ 10 คน ขณะนี้ยังรับการรักษาตัวอยู่ที่ รพ.ศิริราช 4 คน เนื่องจากบาดเจ็บสาหัส นายจ้างได้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลลูกจ้างทุกคน ขณะนี้ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลแล้ว200,000 บาทและจ่ายเงินเยียวยาลูกจ้างทุกคน คนละ 3,000-30,000 บาท เป็นเงินประมาณ 165,000 บาท บริษัท ปรียะกิจ จำกัด ผู้รับเหมาชั้นต้น ได้จ่าย เงินช่วยเหลือผู้เสียชีวิต 100,000 บาท และมอบเงินเยียวยาลูกจ้างทุกคน คนละ 3,000 – 30,000 บาท รวม 265,000 บาท

ทั้งนี้ สรพ.6 พิจารณาแล้วเห็นว่านายจ้างและผู้รับเหมาชั้นต้น ซึ่งถือเป็นนายจ้างตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯ กระทำความผิดตามมาตรา14 เนื่องจากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยแต่นายจ้างไม่ได้แจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานและไม่ได้แจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนทราบก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงานการทำงานอันเป็นสาเหตุโดยตรงในการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ จนเป็นเหตุให้ลูกจ้างบาดเจ็บและเสียชีวิต  มีโทษตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาทและจะมอบหมายนิติกรดำเนินคดีกับนายจ้างต่อไป ส่วนความผิดอื่นจะได้มอบหมายพนักงานตรวจความปลอดภัยดำเนินการ ออกคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติต่อไป .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : สุดอาลัย…ดาวลับฟ้า ปี 2567

ตลอดปี 2567 นับเป็นปีที่สูญเสียบุคคลมีชื่อเสียง ทั้งในแวดวงบันเทิง ศิลปินแห่งชาติ และวงการสื่อสารมวลชน ที่มีคุณูปการต่อประเทศชาติ

นายกฯ เสียใจ “เจจูแอร์” ไถลออกรันเวย์ สั่งตรวจสอบช่วยเหลือหากมีคนไทย

นายกฯ แสดงความเสียใจเหตุเครื่องบินสายการบินเจจูแอร์ ไถลออกรันเวย์ไฟลุกท่วม พร้อมสั่งตรวจสอบช่วยเหลือหากมีคนไทย

“บิ๊กต่าย” สั่งขยายผลแก๊งทำคอนเทนต์ รุมแกล้ง “แบงค์ เลสเตอร์”

“บิ๊กต่าย” สั่งการขยายผลกระทำผิดของแก๊งทำคอนเทนต์ ที่รุมแกล้ง “แบงค์ เลสเตอร์” ทั้งในอดีตและปัจจุบัน หากการกระทำไหนเข้าข่ายความผิด ก็ดำเนินคดีตามกฎหมายในทุกกรณี