กม.อาหารสัตว์ฉบับใหม่มีผลบังคับแล้ว

กรุงเทพฯ 27 ก.ย. – กระทรวงเกษตรฯ ออกประกาศควบคุมอาหารสัตว์ผสมยา ตั้งเป้าลดใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ร้อยละ 30  ภายในปี 2564  หลังจากกฎหมายบังคับใช้เข้าสู่วันที่ 3 มีผู้มาขอรับจดแจ้งผลิตอาหารสัตว์ผสมยาแล้วกว่า 50 ราย 


นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดลักษณะเงื่อนไขของอาหารสัตว์ที่ผสมยาที่ห้ามผลิต นำเข้า ขาย และใช้ พ.ศ.2561 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมาเป็นกฎหมายเพื่อกำกับดูแลอาหารสัตว์ที่ผสมยา (Medicated feed) ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 ซึ่งรับผิดชอบโดยกองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์ เพื่อควบคุมการใช้ยาต้านจุลชีพให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการที่เป็นมาตรฐานสากล มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เนื่องจากหากคนบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มียาต้านจุลชีพตกค้างจะเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดปัญหาดื้อยาต้านจุลชีพ  


ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้ออกประกาศ  6 ฉบับ ตามประกาศกระทรวงฯ ข้างต้น โดยกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์จะผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยาได้ต้องจดแจ้งต่อกรมปศุสัตว์ อีกทั้งต้องเป็นโรงงานที่ได้รับการรับรอง GMP (Good Manufacturing Practice) มีสัตวแพทย์เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งและต้องได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวกับอาหารสัตว์ผสมยาจากกรมปศุสัตว์ดูแล สัตวแพทย์ต้องควบคุมกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยา เช่น ผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยาตามใบสั่งใช้ยา จากสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มที่เป็นผู้ดูแลสุขภาพสัตว์ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์และต้องลงลายมือชื่อในหลักฐานการสั่งซื้อยาต่าง ๆ เพื่อจะนำอาหารสัตว์ที่ผสมยาเหล่านั้นไปใช้ เพื่อดูแลและรักษาสัตว์ในฟาร์ม โรงงานผลิตอาหารสัตว์จะต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยาด้วยจะต้องมีการติดฉลาก เพื่อให้ทราบว่าเป็น “อาหารสัตว์ที่ผสมยา” โดยต้องระบุชื่อและปริมาณของยาที่ผสมในอาหารสัตว์นั้นด้วย นอกจากนี้ ต้องมีการจัดทำสรุปรายงานปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพชนิดต่าง ๆ แต่ละปีที่นำมาผสมในอาหารสัตว์ต่อกรมปศุสัตว์ด้วย 

นายสัตวแพทย์สมชวน กล่าวว่า ยาต้านจุลชีพหรือที่เรียกทั่วไปว่ายาปฏิชีวนะใช้รักษาโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งต้องมีการควบคุมการสั่งใช้  โดยสัตวแพทย์ต้องใช้ยาในภาคปศุสัตว์มีความถูกต้องเหมาะสม หลังจากกฎหมายมีผลบังคับขณะนี้มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์มาขอรับจดแจ้งเป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยาแล้วกว่า 50 ราย ซึ่งกรมปศุสัตว์จะกำกับดูแลโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยาให้ปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากยาตกค้างในผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ เพื่อป้องกันภาวะดื้อยาปฏิชีวนะในคนซึ่งจะส่งผลให้เมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียจะรักษาหายยาก ทั้งนี้ มีเป้าหมายลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ลงร้อยละ 30 ในปี 2564 ตามแผนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทยในภาคการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

ก.อุตฯ เตรียมส่งตรวจเหล็กตึก สตง. เพิ่ม 21 เม.ย.

ก.อุตสาหกรรม กางผลตรวจเหล็กตึก สตง.ถล่ม รอบแรก ก่อนส่งตรวจเพิ่มอีก 40 ท่อน 21 เม.ย. ย้ำผิดคือผิด! ผู้ผลิต-จนท.มีเอี่ยว เตรียมปิดเทอม

พายุฝนพัดต้นยางอายุร่วม 100 ปี ทับโรงครัววัดพังราบ

พายุฝนลมกระโชกแรง ซัดต้นยางอายุร่วม 100 ปี วัดนางเหลียว ล้มทับโรงครัวพังเสียหาย ชาวบ้านในงานศพตื่นตระหนก วิ่งหนีกระเจิง

ลุยรื้อถอนต่อเนื่องเข้าวันที่ 24 จนท.ทำงานหนักตลอด 24 ชม.

เดินหน้ารื้อถอนอาคาร สตง.ถล่ม เข้าสู่วันที่ 24 เจ้าหน้าที่ทำงานตลอด 24 ชม. เพื่อให้เสร็จตามแผน ขณะที่ภารกิจค้นหาผู้ติดค้างยังคงดำเนินต่อเนื่อง