กนอ.มั่นใจ 3 นิคมฯ อยุธยาไม่น่าห่วงปัญหาน้ำท่วม

พระนครศรีอยุธยา 7 ก.ย. – กนอ.ไม่ห่วงปัญหาน้ำท่วม  3 นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทุกแห่งระดับน้ำ-ปริมาณน้ำไหลผ่านยังปกติ แต่มีการเฝ้าระวัง และเตรียมพร้อมบริหารจัดการน้ำ


นายวิฑูรย์ อยู่ทิม รองผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สายงานปฎิบัติการ 1) ลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร เพื่อติดตามความพร้อมและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำและการเกิดอุทกภัยของ 3 นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกิดอุทกภัยสูง ซึ่งทั้ง 3 นิคม ปีนี้ไม่น่าห่วงว่าจะประสบปัญหาน้ำท่วมเหมือนปี 2554  โดยขณะนี้ทั้ง 3 นิคมระดับน้ำและปริมาณน้ำไหลผ่านยังอยู่ในระดับปกติ 


สำหรับนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ระดับน้ำตอนนี้ ปริมาณน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนพระรามหกยังอยู่ในระดับปกติ ระดับน้ำอยู่ในระดับ +2 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (MSL) ซึ่งนิคมฯ  ได้สร้างแนวคันดินแบบผสมผสานระดับของคันดินอยู่ที่ +7.50 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางรวมความยาวเขื่อน 7 กิโลเมตร  

ล่าสุดปีนี้นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนครมีการขุดลอกคลองระบายน้ำฝนและรางระบายน้ำฝน ภายในนิคมฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำฝนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกันทาง กนอ.ยังเตรียมมาตรการป้องกันอุทกภัย อาทิ การติดตั้งเครื่องสูบน้ำ  การรายงานจากศูนย์เตือนภัย รวมทั้งแผนบริหารจัดการน้ำ ซึ่งทุกแห่งเตรียมการไว้อย่างเต็มที่  ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ กนอ.จะรายงานสถานการณ์ประจำวันและจัดเตรียมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในกรณีที่เกิดอุทกภัย กนอ.ยังมีการประชุมชี้แจงสถานการณ์น้ำให้ผู้ประกอบการทราบเป็นระยะ และร่วมมือกับกรมชลประทานให้ข้อมูลแผนการบริหารจัดการน้ำในภาพรวม 


สำหรับเครื่องสูบน้ำเตรียมไว้ 5 เครื่อง ประกอบด้วย ปั๊มไฟฟ้าขนาด 5,400 ลบ.ม./ชม. จำนวน 3 เครื่อง (อยู่ที่สถานีสูบน้ำฝน)  ปั๊มเครื่องยนต์ดีเซล  2 เครื่อง ขนาด 600 ลบ.ม./ชม. อยู่บริเวณเขตอุตสาหกรรมทั่วไป (ติดตั้งแล้ว) กำลังสูบรวม 17,400 ลบ.ม./ชม. ซึ่งเครื่องสูบน้ำทั้ง 5 เครื่อง สามารถใช้งานได้ 100%

สำหรับนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร กนอ.บริหารมาตั้งแต่ปี 2559  เดิมภาคเอกชนบริหารงาน โดยก่อนน้ำท่วมปี 2554 มีผู้ประกอบการในนิคมฯ รวม 50 ราย หลังประสบปัญหาอุทกภัยผู้ประกอบการในนิคมลดลงเหลือปัจจุบัน 26 ราย ผู้ประกอบการก่อนน้ำท่วมปี 2554 ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการจากประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นกลุ่มผู้ประกอบการคนไทยมากกว่าและเร็ว ๆ นี้ จะมีผู้ประกอบการคนไทยที่มั่นใจในการบริหารนิคมฯ ของ กนอ.จะเข้ามาเปิดโรงงานเพิ่ม  4-5 ราย เป็นธุรกิจขนาดกลางในหลากหลายอุตสาหกรรม

ส่วนนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน  มีการติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาและติดตามตรวจสอบระดับน้ำและปริมาณน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนป่าสักชลสิทธ์ และเขื่อนพระรามหก รวมทั้งปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน โดยตรวจเช็คระดับน้ำ บริเวณจุดวัดระดับน้ำด้านนอกนิคมฯ  ที่กำหนดเป็นจุดเฝ้าระวัง 3 จุด   ได้แก่ จุดวัดระดับน้ำหน้าอำเภอบางปะอิน (หลังเก่า) ประตูน้ำคลองจิก และประตูน้ำคลองเปรมประชากร โดยความสูงของคันดินนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินอยู่ที่ระดับ +4.40 เมตร ระดับสูงสุดของเขื่อนอยู่ที่ระดับ +6.00 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง รวมระยะทางของคันดินกว่า 10 กิโลเมตร อีกทั้งรูปแบบเขื่อนยังเป็นเขื่อนดินบดอัดแน่นพร้อมผนังคอนกรีตเสริมความลาดเอียงของคันดินป้องกันการซึมและการกัดเซาะของน้ำด้วยแผ่น Geotextile โดยมีการเริ่มติดตามเฝ้าระวังระดับน้ำตั้งแต่วันที่ 1  สิงหาคม ซึ่งเกณฑ์เฝ้าระวังพบว่ายังอยู่ในระดับปกติ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้เตรียมสถานีสูบน้ำไว้  4  สถานี  ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 18 เครื่อง ความสามารถการสูบเท่ากับ  32,400  ลบ.ม./ชั่วโมง รวมทั้งมีการติดตั้งปั๊มสูบน้ำสำรองอีก 3 เครื่อง ขนาด 600 ลบ.ม./ชั่วโมง ซึ่งสถานีสูบมีการติดตั้งและตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน (GENERATOR)  ขนาด 450, 500 และ 800 KVA ที่ติดตั้งไว้ทุกสถานีพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิงสำรอง

นอกจากนี้ นิคมฯ บางปะอิน ยังตั้งศูนย์ควบคุมภาวะฉุกเฉินและศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และรายงานสถานการณ์ทุกวันต่อศูนย์ปฏิบัติการ กนอ. โดย นิคมฯ ได้สื่อสารให้ผู้ประกอบการภายในทราบความเคลื่อนไหวของสถานการณ์อุทกภัยเป็นประจำทุกวัน โดยแจ้งข่าวสารให้ทราบผ่าน www.bldc.co.th แบบเรียลไทม์

ด้านนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้าได้จัดระบบติดตามสถานการณ์น้ำ ระบบระวังน้ำภายนอกและระบบแจ้งเตือนภัยโดยได้ติดตาม ตรวจสอบข้อมูลปริมาณน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนป่าสักชลสิทธ์ และเขื่อนพระรามหก รวมทั้งระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก รายงานสภาพภูมิอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา น้ำทะเลหนุนจากกรมอุทกศาสตร์ รวมทั้งติดตามสถานการณ์น้ำประจำวันจากชลประทานพระนครศรีอยุธยา พบว่าเกณฑ์การเฝ้าระวังทั้งหมดยังอยู่ในระดับปกติ 

ทั้งนี้ ภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมนิคมฯ บ้านหว้าเมื่อช่วงปี 2554 ได้มีการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมตามเกณฑ์การออกแบบที่ กนอ.ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และสมาคมนิคมอุตสาหกรรมไทยและพันธมิตรกำหนด โดยความสูงของคันดินอยู่ที่ระดับ +5.40 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง รอบพื้นที่โครงการมีสันคันกว้าง 2.50 เมตร และฐานกว้าง 10.60 เมตร รวมระยะทางของคันดินกว่า 11กิโลเมตร รวมถึงเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์/เครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติงาน โดยเครื่องสูบน้ำแบบ Submersible pump  5 เครื่อง อัตราสูบ 10,800 ลบ.ม./ชม. รวมความสามารถสูบ 54,000 ลบ.ม./ชม.และมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองที่ใช้น้ำมันดีเซลรองรับ

นายโบว์แดง ทาแก้ว ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ได้ร่วมบูรณาการกับกนอ.และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง จ.พระนครศรีอยุธยา หาแนวทางบริหารจัดการน้ำภาพรวมเพื่อป้องกันเหตุน้ำท่วม ผ่าน 3 มาตรการหลัก ได้แก่ 1.จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ 93 เครื่อง ติดตั้งพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม 54 จุดทั่วพระนครศรีอยุธยา และรถสูบน้ำ 3 คัน  2.เตรียมพร่องน้ำจากลำคลอง เพื่อรักษาระดับน้ำให้อยู่ต่ำกว่าตลิ่งและระดับที่ปลอดภัย  และ 3.การรายงานสถานการณ์ทุกวัน เพื่อสื่อสารให้ผู้ประกอบการภายในทราบความเคลื่อนไหวของสถานการณ์อุทกภัยเป็นประจำทุกวัน และตรวจเช็คปริมาณน้ำอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม  ปริมาณน้ำที่จะเพิ่มเติมเข้ามาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คาดการณ์ว่าช่วงเดือนกันยายนถึงจะทราบปริมาณน้ำ เพราะต้องประเมินจากปริมาณของฝนที่ตกลงมา. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

ไตรภาคีเคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค.68

ไตรภาคี เคาะค่าจ้าง 400 บาท ลูกจ้าง 4 จังหวัด 1 อำเภอ “ภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อ.เกาะสมุย” มีผล 1 ม.ค.68 ขึ้นค่าจ้าง 7-55 บาท 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้วันละ 337 บาท

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น

ฉายารัฐบาลปี67

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี 67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง” ฉายานายกฯ “แพทองโพย” ด้าน 7 รัฐมนตรีติดโผ “บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี” พ่วง 3 รัฐมนตรีโลกลืม ส่วนวาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”