กรุงเทพฯ 12 ก.ค.-ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยระบุ
การพัฒนาการเงินในอนาคตในโลกที่มีความซับซ้อนสูง ทำให้ต้องวางนโยบายสำคัญ 3
เรื่องรองรับทั้ง ผลิตภาค ระบบภูมิคุ้มกันและการสร้างประโยชน์แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย
นายวิรไท สันติประภพ
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวในการประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจในอาเซียนหรือ
บลูมเบิร์ก อาเซียน บิสสิเนส ซัมมิต (Bloomberg ASEAN Business Summit) ครั้งที่
4 ถึงการพัฒนาด้านการเงินแห่งอนาคตว่า
ในโลกที่มีความไม่แน่นอน
มีความซับซ้อนสูงขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างหลายอย่าง ธปท. มี 3 เรื่องสำคัญที่เป็นแนวนโยบายหลักใช้สำหรับการพัฒนาระบบการเงินในอนาคต คือ
1.ระบบการเงินไทยต้องมีผลิตภาพที่สูงขึ้น
เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
2. ระบบการเงินต้องมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีมีเสถียรภาพที่ดีในระดับหนึ่ง
มีกันชนรองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ และ 3.ประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยจะต้องได้รับประโยชน์ซึ่งข้อนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญ
นายวิรไท กล่าวว่า ที่ผ่านมาธปท.มีแนวร่วมพัฒนาระบบการเงินแห่งอนาคตกับหลายธนาคารพาณิชย์
ที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ โครงการพร้อมเพย์
เป็นโครงการที่เพิ่มผลิตภาพเพราะช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกรรมโอนเงินให้กับประชาชนและภาคธุรกิจช่วยลดต้นทุนการบริหารเงินสดของประเทศโดยรวม
ขณะที่สถาบันการเงินได้รับประโยชน์จากต้นทุนการบริหารเงินสดที่ลดลง
ประชาชนรายย่อยได้รับประโยชน์จากการโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีค่าธรรมเนียม
ขณะที่เศรษฐกิจของอาเซียนยังเติบโตในระดับดีมากที่ผ่านมามีทั้งธนาคารพาณิชย์ไทยและธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยเห็นศักยภาพของอาเซียนจึงออกไปลงทุนรวมทั้งสร้างการเชื่อมโยงทางด้านการเงินทางด้านห่วงโซ่การผลิตในหลายมิติ
ตลาดอาเซียนยังเป็นตลาดสำคัญที่สถาบันการเงินไทยและธุรกิจไทยจะให้ความสำคัญต่อไป
ดังจะเห็นได้จากมีการออกไปลงทุนมากในประเทศเพื่อนบ้านและในประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียนซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงศักยภาพของเศรษฐกิจอาเซียน
สำหรับความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางของกลุ่มประเทศในอาเซียนที่ผ่านมาได้มีการหารือกันได้แก่การส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นเพราะธุรกรรมทางการค้าของกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเพิ่มสูงขึ้นโดยขณะนี้ประเทศไทยได้เริ่มกับประเทศอินโดนีเซียแล้วและขยายไปยังประเทศอื่น
การส่งเสริม qualify arsean bank ที่ช่วยให้ธนาคารพาณิชย์จากประเทศในกลุ่มอาเซียนประเทศใดประเทศหนึ่งไปเปิดให้บริการในอีกประเทศหนึ่งได้ง่ายขึ้นซึ่งประเทศไทยได้สรุปการเจรจากับประเทศมาเลเซียไปแล้วขบวนการต่อไปคือผ่านการพิจารณาของสภาของทั้งสองประเทศรับรองต่อไป
นอกจากนี้ยังเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาระบบป้องกันความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์ของธนาคารในกลุ่มประเทศอาเซียน
ตั้งแต่การแลกเปลี่ยนข้อมูลกรณีที่สถาบันการเงินในประเทศใดประเทศหนึ่งถูกภัยไซเบอร์เพื่อให้ประเทศอื่น
ๆ ได้เตือนสถาบันการเงินในประเทศของตนและมีมาตรการป้องกันได้รวดเร็ว อีกเรื่องคือ
การส่งเสริม ให้มีการใช้เทคโนโลยีทางการเงินใหม่ ๆ เพราะปัจจุบันมี Fintech Firm อยู่จำนวนไม่น้อยขณะที่ธนาคารพาณิชย์ หา application หาเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้
-สำนักข่าวไทย