บทเรียน ‘ทีมหมูป่า’ ปรับหลักสูตรการศึกษา เพิ่มทักษะชีวิต

สำนักข่าวไทย12 ก.ค.-นักวิชาการยกทีมหมูป่ารอดชีวิตจากถ้ำหลวง ถอดบทเรียนการศึกษา ผลิตสื่อ-ปรับหลักสูตร เพิ่มทักษะชีวิต ให้เหมาะสมแต่ละช่วงการศึกษา พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ชีวิตเด็กเมืองกับชนบท    


นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการถอดบทเรียนในภาคการศึกษาจากเหตุการณ์เยาวชนทีมหมูป่าอะคาเดมีและโค้ช 13 คนติดถ้ำหลวง จ.เชียงราย ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์สำคัญ สิ่งที่อยากเสนอแนะและตรงกับสิ่งที่เป็นปัญหาและความต้องการของสังคมไทย คือการผลิตสื่อ เปลี่ยนหลักสูตร เปลี่ยนวิธีคิด วิธีสอน โดยการผลิตสื่อคือเด็กอนุบาล ต้องเป็นหนังสือประเภทนิทาน เช่น เรื่องเจ้าหญิงเชียงรุ้ง เรื่องความรัก , พอประถมศึกษาสอนภาษาอังกฤษในชีวิตเพื่อการผจญภัย ให้เด็กมีทัศนคติและรู้ความสำคัญของภาษา ,ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสอนเรื่องออกกำลังกาย เล่นฟุตบอล สอนการเล่นเป็นทีม สอนให้มีสติ ฝึกสมาธิ 


มัธยมศึกษาตอนปลายสอนให้เกิดแรงบันดาลใจ เห็นคนเก่ง เชี่ยวชาญ มีจริยธรรม ลงมาช่วยกันเต็มไปหมด เป็นมืออาชีพ คนเก่ง และยังมีความรัก ความเอาใจใส่ เด็กๆ ต้องสร้างแรงบันดาลใจ อยากเป็นซีล อยากเป็นหมอ  หรือนักประดิษฐ์ นักดำน้ำอย่าคิดแต่จะขายของตามตลาดออนไลน์เท่านั้น เพราะอาชีพดีๆ และช่วยเหลือทำประโยชน์สังคมมีมากมายและอุดมศึกษา ต้องสอนเรื่องวิธีคิด สติ คุณธรรม จริยธรรม ไม่เอาเปรียบสังคม มีจิตอาสา จิตสาธารณะ

นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า โดยสรุประบบหลักสูตรต้องรื้อ ไม่เน้นเนื้อหา เน้นเรื่องทักษะสมรรถนะ เรียนครึ่งวันทำครึ่งวัน ทำเรื่องแอคทีฟเลิร์นนิ่ง เรียนหนังสือไป แต่ช่วงบ่ายต้องไปปฏิบัติตั้งโจทย์ เอาชีวิตรอดอย่างไร สมมติ ว่าหากมีวาตภัยเกิดขึ้นหรือติดถ้ำทำอย่างไร มีอาหารแค่นี้มีโจทย์ อุปกรณ์ และลงมือปฏิบัติ วิชาลูกเสือต้องเลิกหน่อมแน้ม ไม่ต้องกลัวเด็กเสี่ยง เจ็บ ดูห่างๆ ปล่อยให้ใช้ชีวิตเองและแก้ไขปัญหา เด็กจะได้มีภูมิ มีทักษะชีวิต สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ถ้าครูยังสอนแต่ในห้องเรียนและสอนวิชาภัยพิบัติ คืออะไร จำอะไร และไปสอบก็จบ ไม่เกิดประโยชน์จากการเรียนรู้เหตุการณ์ครั้งนี้ 


นายสมพงษ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ด้วยลักษณะวิถีชีวิตของเด็กในเมืองกับชนบทมีความแตกต่างกัน เด็กกรุงเทพฯส่วนใหญ่อยู่แต่ในห้องแอร์ ถูกเลี้ยงประคบประหงมไม่ได้ลองใช้ชีวิตอะไร ดังนั้น อีกวิธีสอนทักษะการใช้ชีวิต คือการลองแลกเปลี่ยนกันระหว่างเด็กในเมืองและชนบทให้มาเรียนรู้ เข้าใจซึ่งกันและกัน ไปใช้ชีวิตในต่างจังหวัด ลองไปดู เช่น ต้องไปว่ายในแม่น้ำ ปีนเขา ลอดถ้ำ ปีนต้นไม้  ฯลฯ

‘เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเหตุการณ์สำคัญที่เด็กไทย ควรจะได้เรียนรู้มากที่สุด บทเรียนครั้งนี้สิ่งที่เราเห็นคือน้ำใจมนุษยชาติเห็นเด็กสำคัญ มาช่วยเหลือกันหลายประเทศ และนำไปทำสอนเด็กของเขา เช่น ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย อเมริกา สอนลูกหลาน หากเราไม่ทำ แสดงว่าล้าหลังมาก’ นักวิชาการด้านการศึกษา กล่าว  .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เพลิงไหม้โรงอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

เพลิงไหม้โรงงานอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่เร่งนำรถดับเพลิงเข้าระงับเหตุ เพื่อควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้

พุ่งไม่หยุดราคาทองคำโลกนิวไฮอีก คาดไปต่อถึง 3 พันดอลลาร์/ออนซ์

ราคาทองคำตลาดโลกพุ่งแตะ 2,800 ดอลลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ นักวิเคราะห์คาดมีโอกาสพุ่งต่อถึง 3,000 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่งผลราคาทองไทยวันนี้ขึ้นต่อจากราคาปิดวานนี้ และทำนิวไฮเท่าวานนี้

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงทำเนียบขาว 2024 : คอมมาลา แฮร์ริส

รายงานศึกชิงทำเนียบขาว 2024 พาไปรู้จักกับนางคอมมาลา แฮร์ริส ที่เพิ่งได้เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต ไม่กี่เดือนก่อนเลือกตั้ง เปรียบเหมือนการเปลี่ยนม้าใหม่กลางศึก หากชนะได้เธอจะกลายเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐด้วย

เปิดโครงการ “เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต” ครั้งที่ 10

นายกฯ ควง “คุณหญิงพจมาน-ครอบครัว” นำ ครม.-ประชาชน ร่วมโครงการเดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สาว อบต.ตกใจ ตำรวจตามรอยเงิน 39 ล้านบาท ที่แท้ชื่อซ้ำกัน

สาว อบต. ตกใจ ตำรวจมาถึงที่ทำงาน ถามถึงเงิน 39 ล้านบาท ที่แท้ชื่อซ้ำกัน ยันไม่เคยรู้จัก “มาดามอ้อย-ทนายตั้ม” มาก่อน