แนะเลี่ยงสัมภาษณ์ญาติผู้หญิง-เด็ก ‘ถ้ำหลวง’ เพิ่มทุกข์-เครียด

สธ.27 มิ.ย.-กรมสุขภาพจิตเผยผลเยียวยาจิตใจครอบครัวและญาติทีมนักฟุตบอล 13 รายที่พลัดหลงในถ้ำหลวง พบมีความเครียด ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ  มี 3 รายเครียดระดับรุนแรง วอนสื่อเลี่ยงสัมภาษณ์ญาติที่เป็นผู้หญิง วัยรุ่น เด็ก เกิดวิตกกังวล


น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์การช่วยเหลือครอบครัวและญาติ ของทีมนักฟุตบอลหมูป่าพร้อมโค้ช รวม 13 คนที่พลัดหลงอยู่ในถ้ำหลวง เขตวนอุทยาน         ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.2561 เป็นต้นมา และอยู่ระหว่างการเร่งค้นหาของทีมเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ว่า ทีมสุขภาพจิตเอ็มแคทจากศูนย์สุขภาพจิตที่1 ,โรงพยาบาลสวนปรุง และทีมเครือข่ายสุขภาพจิตจังหวัดเชียงราย ได้ประเมินสุขภาพจิตของผู้ปกครองเด็กที่มารอ ณ จุดรวมญาติใกล้ปากถ้ำ และได้ให้คำปรึกษาญาติจำนวน 13 ครอบครัว พบว่ามีความเครียดมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ ตัวร้อนและนอนไม่หลับ ได้ให้ยารักษาเบื้องต้นแล้ว โดยมี3 รายที่มีความเครียดในระดับรุนแรงอยู่ในความดูแลของทีมจิตแพทย์ใกล้ชิดแล้ว ทีมงานได้วางแผนดูแลจัดทีมเฝ้าระวังในพื้นที่     อย่างต่อเนื่องตลอด 24  ชั่วโมง


อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ระดมพลกำลังเข้าไปช่วยเหลือค้นหาผู้พลัดหลงทั้ง 13 คนอย่างเต็มที่  มีความเป็นห่วงสุขภาพจิตของทีมค้นหา เนื่องจากต้องทำงานภายใต้ความกดดัน แข่งกับเวลาและมีความเสี่ยงภัยอาจเกิดความเหนื่อยล้าและเครียดสะสมได้ จึงขอแนะนำให้ทีมค้นหาเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันในเบื้องต้น ขณะเดียวกันควรสับเปลี่ยนกำลัง เพื่อลดความล้าทางกายที่ส่งผลทางจิตใจ  ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หากรู้สึกว่าตัวเองไม่ไหว ขอให้นั่งพักหรือคุยกับหัวหน้าทีมหรือผู้บังคับบัญชาเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งไม่ใช่เป็นการยอมแพ้หรือไม่เอาไหน แต่เป็นการทำให้พลัง การทำงานดีขึ้นโดยสามารถปรึกษาคลายเครียดที่หน่วยแพทย์บริเวณหน้าถ้ำ  


ด้าน นพ.ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่  จากการสังเกตของทีมสุขภาพจิตที่ลงพื้นที่พบว่าทีมช่วยเหลือยังมีพลังกายและใจดี กระตือรือร้น มีความหวัง ไม่ท้อถอย แต่ปัญหาที่พบและน่าเป็นห่วงคือทีมสื่อมวลชนจากหลายสำนักที่เข้าไปสัมภาษณ์ซักถามญาติของผู้พลัดหลงอยู่ตลอด หากเป็นไปได้ขอให้เลี่ยงการสัมภาษณ์ญาติที่เป็นผู้หญิง วัยรุ่นและเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจิตใจเปราะบาง เกิดความเครียดได้ง่าย 

อย่างไรก็ตามหากมีความจำเป็นก็ขอให้ใช้ท่าทีที่นุ่มนวล หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่ก่อความกลัว ความวิตกกังวล เนื่องจากอาจไปกระตุ้นทำให้ญาติเกิดภาวะที่เรียกว่า ไฮเปอร์ เวนติเลชั่นซินโดรม คือภาวะหายใจเร็วผิดปกติจากความเครียด เกิดอาการมืดหน้า เป็นลมได้ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกริยาของร่างกายต่อความเครียดที่ฉับพลันรุนแรง อาการดังกล่าวต้องได้รีบการดูแลรักษาโดยเร็ว แม้ว่าจะไม่มีอันตรายถึงชีวิตก็ตามสิ่งที่กระตุ้นให้เกิด ไฮเปอร์เวนติเลชั่นซินโดรม ได้แก่ ความทุกข์ทรมานใจ ภาวะเครียด ดื่มกาแฟมากเกินไป หรืออยู่ในที่ที่มีผู้คนจำนวนมากแออัด เป็นต้น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

ค่าฝุ่นกทม.

กทม. เช้านี้ ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน 54 พื้นที่

กรุงเทพฯ เช้านี้ พบว่าค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 54 พื้นที่ แนะสวมกากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร

ซุ้มไฟเฉลิมพระเกียรติฯ สุดตระการตา รับประเพณียี่เป็ง

ยามค่ำคืนในตัวเมืองเชียงใหม่ ประดับประดาด้วยแสงไฟรับประเพณียี่เป็ง หรือลอยกระทงเชียงใหม่ โดยเฉพาะบนถนนท่าแพ มีการสร้างซุ้มประดับไฟเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 14 ซุ้ม ยาวกว่า 200 เมตร.