สศค. 25 มิ.ย.- สศค.ร่วมมือกับจุฬาฯ ศึกษามาตรการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลสังคมผู้สูงอายุ คาดว่า 3 เดือนข้างหน้าจะมีความชัดเจนของมาตรการ
นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ลงนามร่วมกับ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษามาตรการ เตรียมความพร้อมในการดูแลสังคมผู้สูงอายุ เพื่อสร้างโอกาสและความท้าทายจากสังคมผู้สูงอายุของสังคมไทย คาดว่าในช่วง 3 เดือนข้างหน้าจะเสนอมาตรการมาดูแลสังคมผู้สูงอายุเพิ่มเติม และคาดว่าในอีก 6 ปีข้างหน้า สำนักงาน กพ.จะสรุปกลุ่มตำแหน่งงานให้ชัดเจน เพื่อขยายเวลาทำงานออกไป ตามตำแหน่งภาระหน้าที่ และความสมัครใจ และผลตอบแทน โดยต้องหารือกับกระทรวงแรงงานให้ชัดเจน ส่วนหนี่งเพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานมีรายได้ และขยายไปยังรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน
จากปัจจุบันได้มีมาตรการส่งเสริมผู้สูงอายุ ด้วยการเปิดโอกาสหักลดหย่อนภาษีการมีบุตรที่ 2 จำนวน 3 หมื่นบาทต่อคน ,ภาคเอกชนนำค่าใช้จ่ายหลักลดหย่อน 1.5 เท่า เมื่อจ้างผู้สูงอายุทำงาน ในขณะนี้มีแนวทางการขยายเวลาทำงานหลังเกษียณของข้าราชการ ซึ่งจะเป็นมาตรการดูแลผู้สูงอายุ ที่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อไม่ให้เเกิดภาระทางสังคมในอนาคต ปัจจุบันผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 11 ล้านคน หรือร้อยละ 17 ของประชากร ภายในปี 68 คาดว่าจะมีสัดส่วนร้อยละ 20 หรือจำนวน 13.8 ล้านคน และในปี 2578 คาดว่าจะมีจำนวน 20.09 ล้านคน หรือสัดส่วนร้อยละ 30.2 ของประชากร ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยกว่า 1 แสนบาทต่อปี มีจำนวน 2.36 ล้านคน ผู้สูงอายุที่มีรายได้ 3 หมื่นบาทต่อคนต่อปี จำนวน 1.7 ล้านคน และพบว่า 1ใน 3 ของผู้สูงอายุ 3.5 ล้านคน มีรายได้หลังเกษียณต่ำกว่าเส้นความอยากจน ย่อมกระทบต่อศักยภาพการผลิต การย้ายแรงงาน และภาระทางการคลังของประเทศ
นางวิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สังคมผู้สูงอายุ นับว่าเป็นแนวโน้มสังคมผู้สูงอายุเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ในช่วงปี 2578 ญี่ปุ่นคาดว่าจะมีผู้สูงอายุร้อยละ 39.9 ของประชากร เกาหลีใต้ร้อยละ 35.5 สิงคโปร์ร้อยละ 34.1 ไทยร้อยละ 30.2 จีนร้อยละ 28.5 จากประเด็นท้าทายในอนาคต ทั้งค่าครองชีพ การรักษาพยาบาล ภาระทางสังคม คนวัยทำงาน จะลดหดหายไปจากปี 65 สัดส่วนร้อยละ 4.9 ลดเหลือร้อยละ 3.9 ในปี 70 คนเสียภาษี คนทำงานจะเลี้ยงสังคมลดลง จึงต้องดึงศักยภาพของผู้สูงอายุ ร่วมทำงานกับสังคมให้ได้นานที่สุด เพื่อให้พึ่งพาตนเอง จะพบปัญหาทางเศรษฐกิจยิ่งแก่ ยิ่งจน สัดส่วนมูลค่าทรัพย์สินและการออมในปี 59 ผู้สูงอายุไมมีเงินออมสัดส่วนร้อยละ 16.3 ออมเงินหรือมีทรัพย์สินต่ำกว่า 1 แสนบาท สัดส่วนร้อยละ 19.3 เงินออมต่ำกว่า 1-4 แสนบาท นับว่าเงินออมรองรับการใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาลจะมีปัญหาทางสังคมอย่างมาก
นายสุวิชญ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน และแพร่กระจายไปยังสหภาพยุโรป ด้วยการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าหลายรายการ ยืนยันว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของไทย แต่กลับจะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทยให้ได้รับอานิสงค์ในทางบวกเพิ่มเติม เพราะถือเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกสินค้าเข้าไปทดแทนทั้งเหล็ก อลูนิเมียม เพื่อให้ทั้ง 2 ประเทศหันมาซื้อสินค้าจากไทยแทน และอาจส่งผลต่อการส่งออกของไทยให้ขยายตัวดีขึ้น จากเดิมคาดการณ์ไว้ร้อยละ 8 .-สำนักข่าวไทย