Save the Children จัดงานเนื่องในสัปดาห์วันผู้ลี้ภัยโลก 2561 ชี้ปัญหาสิทธิของเด็กที่ลี้ภัย

องค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทย (Save the Children) จัดงาน Because Education Matters เปิดตัววิจัย “อนาคตที่ถูกลืมของเด็กผู้ลี้ภัย” และ เวทีเสวนา “เปิดอนาคตที่ถูกลืมของเด็กผู้ลี้ภัย สู่การจัดการที่เหมาะสมของรัฐไทย” เนื่องในสัปดาห์วันผู้ลี้ภัยโลกประจำปี 2561 โดยมี รติรส ศุภาพร ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการโยกย้ายถิ่นฐานและการพลัดถิ่น องค์การช่วยเหลือเด็ก, อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ตัวแทนจากเครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ  และ กรแก้ว พิเมย ผู้อำนวยการโครงการ Urban Education Project(UEP) องค์การเยสุอิตสงเคราะห์ผู้ลี้ภัย ร่วมเสวนาชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กผู้ลี้ภัยในประเทศไทย โดยเฉพาะเด็กผู้ลี้ภัยในเมื่องที่ต้องอยู่อย่างขาดอิสระภาพ เลื่อมล้ำทางด้านการศึกษา รวมถึงการถูกคุกคามทางเพศ พร้อมทั้งชมการจำลองห้องเรียนของผู้ลี้ภัยในค่าย


นางสารรติรส ศุภาพร ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการโยกย้ายถิ่นฐานและการพลัดถิ่นองค์การช่วยเหลือเด็กระดับภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ ผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราวตามแนวชายแดนไทยเมียนมา และผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจากข้อมูลล่าสุดของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้ระบุตัวเลขผู้ลี้ภัยในเมืองว่ามีประมาณ 6,000 คน ซึ่งเป็นเด็กมากกว่า 2,000 คน จากกว่า 50 ชาติพันธุ์ ประมาณ 55% เป็นคนปากีสถาน 10% จากเวียดนาม 6% จากปาเลสไตน์ และที่เหลืออีกกว่า 30% มาจากโซมาเลีย ซีเรีย อิรัก ศรีลังกา กัมพูชา จีน อิหร่าน และอื่น ๆ โดยผู้ลี้ภัยเหล่านี้กำลังรอโอกาสที่จะได้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ประเทศที่สาม อย่าง แคนาดา ไม่ได้ต้องการตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย แต่มีโอกาสน้อยมาก


ถึงแม้ไทยไม่ได้เป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย แต่สำหรับผู้ลี้ภัยที่มาจากลุ่มแม่น้ำโขง กรุงเทพถือว่าใกล้ที่สุด เป็นที่ที่มีสำนักงาน UNHCR ที่ดำเนินการเรื่องการออกสถานะผู้ลี้ภัย และสามารถเข้ามาได้โดยง่ายทำให้มีผู้ลี้ภัยหลายกลุ่มเลือกมาลี้ภัยในประเทศไทย แต่ประเทศไทยก็ยังไม่ได้มีมาตรการที่จะให้การดูแลแก่เด็กผู้ลี้ภัยเหล่านี้ ทำให้สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ลี้ภัยในประเทศไทยโดยเฉพาะเด็กมีความยากลำบากต้องใช้ชีวิตอย่างหลบๆ ซ่อนๆ ขาดอิสระ ไม่ได้รับการศึกษา เมื่อป่วยไม่กล้าเข้ารับการรักษา หรือ หากมีปัญหา ไม่กล้าที่จะแจ้งความ เพราะกลัวการถูกจับ ด้วยมีสถานะการเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมาย เช่น การแอบเข้าเมือง และ วีซ่าหมดอายุ ซึ่งหากถูกจับได้จะถูกคุมตัวอยู่ที่สถานกักกันของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทำให้เด็กผู้ลี้ภัยไม่สามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน เพราะสถานกักกันเหล่านั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาให้อยู่ในระยะยาว มีสภาพแออัด และไม่ถูกสุขลักษณะอนามัย อีกทั้งการจัดการแยกกักผู้ชาย และผู้หญิงและเด็ก ทำให้เด็กชายที่เริ่มโตจะถูกแยกไปอยู่กับชายแปลกหน้าซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการรายงานถึงเหตุข่มขืนและล่วงละเมิดทางเพศ


โดยความคืบหน้าล่าสุด รัฐบาลไทยกำลังทำบันทึกข้อตกลงและกระบวนการคัดกรองผู้ลี้ภัย และยังพยายามหามาตรการทางเลือกแทนการกักขังเด็กผู้ลี้ภัย แม้ว่าการทำงานเหล่านี้มีความล่าช้า แต่ก็ถือว่ากำลังเป็นไปในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยในประเทศ

สำหรับงานวิจัย “อนาคตที่ถูกลืมของเด็กผู้ลี้ภัย” ที่ทาง องค์การช่วยเหลือเด็กได้จัดทำขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นเรื่องการศึกษาและการให้ความคุ้มครองต่อเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองของอินโดนีเซียและไทย ซึ่งจากการศึกษานี้ ได้มีข้อเสนอแนะต่อผู้ที่ทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยทั้งในกรุงเทพและกรุงจาการ์ตา รวมถึงองค์กรช่วยเหลือเด็กเองด้วยในประเด็น การเข้าถึงชุมชนและการสื่อสาร การรณรงค์และสร้างความตระหนักต่อสาธารณะ การอบรมและการพัฒนาศักยภาพ การศึกษาวิจัย การประสานงาน และแนวทางการทำงานใหม่ ๆ

นอกจากนี้สำหรับในบางคนที่ยังมองว่าผู้ลี้ภัยเหล่านี้ถือเป็นภาระของประเทศไทย อยากให้มองว่าผู้ลี้ภัยไม่ใช่คนร้ายที่กระทำผิดมา เพียงแต่เขาต้องการลี้ภัยจากปัญหาสงคราม หรือ ความไม่สงบในประเทศบ้านเกิด จนไม่สามารถอยู่ได้ เราจึงควรให้ความช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ นางสารรติรส กล่าวเสริม

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

นายกฯ วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

นายกรัฐมนตรี วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พุทธศักราช 2568 ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า

เครื่องจักรหนักทำงานต่อ เน้นรื้อถอนซากอาคาร โซน D

ช่วงบ่ายวันนี้ เครื่องจักรหนักเริ่มทำงานต่อ เน้นเคลียร์รื้อถอนซากอาคาร โซน D พร้อมเจาะหาโพรงเข้าหาผู้สูญหายเพิ่ม

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ คาดโซน C พบผู้เสียชีวิตมากสุด

เข้าสู่วันที่ 10 ค้นหาผู้ประสบภัยในซากตึก สตง.ถล่ม “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” คาดโซน C น่าจะพบผู้เสียชีวิตมากที่สุด เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิตบริเวณนี้ประมาณ 10-20 ร่าง ด้าน “ช่างเบิร์ด” ที่ทำงานวางระบบไฟฟ้า เผยเจรจากับบริษัทผู้จ้างมาแล้ว 3 ครั้ง แต่จนถึงวันนี้ยังไม่ได้รับเงินที่ค้างอยู่