ไพรมารีโหวตสู่สนามเลือกตั้ง

กทม. 18 มิ.ย.-คับข่าวมีของ มีประเด็นร้อนเรื่องไพรมารีโหวตมานำเสนอ ทั้งวิธีการ ขั้นตอน ความเห็นของพรรคการเมืองและนักวิชาการ 



หลังรัฐบาลเชิญผู้เกี่ยวข้องมาเพื่อถกปัญหาอุปสรรคในการจัดการเลือกตั้ง และเสนอ 4 ปัญหา 3 ทางออก ให้คลายล็อกเปิดช่องทำไพรมารีโหวตได้นั้น หลายคนอาจจะยัง งงๆ สงสัย ว่าระบบไพรมารีโหวต ตามรัฐธรรมนูญใหม่ ที่จะใช้สำหรับการเลือกตั้งปีหน้านั้นคืออะไร ทำไปทำไม ทีมข่าวการเมือง จะขอสรุปสั้นๆ ง่ายๆ ให้ได้เห็นภาพ ว่าไพรมารีโหวตก็คือการให้สมาชิกพรรคมีส่วนเลือกตัวแทนในดวงใจลงสมัครรับเลือกตั้ง แทนการตัดสินใจเฉพาะนายทุนพรรค ป้องกันระบบเด็กเส้นเด็กฝากนั่นเอง


ไพรมารีโหวตต้องทำทั้งผู้สมัคร ส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อ โดยที่ประชุมของสาขาพรรค หรือตัวแทนพรรคประจำจังหวัด ซึ่งการประชุมสาขาพรรคสมาชิกต้องมาประชุมกันไม่น้อยกว่า 100 คน ส่วนการประชุมตัวแทนพรรคสมาชิกต้องมาประชุมไม่น้อยกว่า50คน การลงคะแนนเพื่อเลือก ผู้สมัครส.ส.เขต ให้สมาชิกลงคะแนนเลือกได้ 1 คน ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ ให้เลือกได้ 15 คน จากทั้งหมด 150 ชื่อ


เมื่อเลือกกันเสร็จ กรรมการสรรหาจะส่งรายชื่อ 2 คนที่ได้คะแนนสูงสุดของผู้สมัคร ส.ส.เขต และบัญชีรายชื่อที่เรียงตามลำดับคะแนน 150 คน ไปให้กรรมการบริหารพรรคพิจารณาจัดทำรายชื่อเสนอ กกต.เช็คคุณสมบัติก่อนประกาศรับรองเป็นผู้สมัครแต่ละพรรค

ปฏิเสธไม่ได้ว่าไพรมารีโหวตเป็นระบบที่จะเพิ่มความยุ่งยากให้พรรคการเมือง ซึ่งขณะนี้ กำลังใจจดจ่อ รอทำกิจกรรมพรรค แต่ยังติดคำสั่ง คสช. ที่ 53/2560 อยู่ จึงยังไม่สามารถทำอะไรได้ เป็นที่มาของเสียงเรียกร้องให้ออกมาตรา 44 เพื่อไม่ต้องทำไพรมารีโหวต เพราะอาจเตรียมตัวไม่ทัน ขณะที่ความรู้สึกของฟากฝั่งการเมือง3 พรรค  ทั้งประชาธิปัตย์ เพื่อไทย และรวมพลังประชาชาติไทย เห็นตรงกันว่า พร้อมดำเนินการภายใต้กติกาที่เป็นธรรมแต่อยากให้รีบปลดล็อคให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมได้

ขณะที่ในมุมนักวิชาการหนุนให้ใช้ไพรมารีโหวต เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการเมืองยุคใหม่ ที่ให้ชาวบ้านได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย  

การตัดสินเรื่องไพรมารีโหวตคงต้องรอดูผังกรอบเวลาที่ กกต. จะจัดทำ จึงจะรู้ว่าจะเดินหน้าอย่างไร แต่ยังไงก็แล้วแต่การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นแน่ในปีหน้า ตามคำมั่นสัญญาของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แต่จะทันเดือนกุมภาพันธ์ หรือต้องขยับไปอีก 2-3 เดือน คงต้องรอดูกัน

บทสรุปที่ลงตัวของการแก้ปัญหาเรื่องนี้อาจต้องคุยกันอีกหลายรอบ รวมถึงการนัดหมายที่จะพูดคุยกับพรรคการเมือง ซึ่งคงมีคำถามมากมายที่รอคำตอบจากปากนายกรัฐมนตรี ที่จะผ่าทางตันเรื่องนี้ ไม่เช่นนั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบไพรมารี่โหวตอาจไม่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งของประเทศไทยอย่างแน่นอน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร