มจร. 27 พ.ค..- ปฏิญญากรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสครบรอบ 15 ปีวันวิสาขบูชานานาชาติ แห่งองค์การสหประชาชาติวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2018 (2561)
สืบเนื่องจากในวันที่ 15 ธันวาคม 1999 (2542) ผู้แทนจาก 34 ประเทศ เสนอสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาขาติ ให้วันพระจันทร์เต็มดวงของเดือนพฤษภาคม เป็นวันวิสาขบูชานานาชาติ แห่งองค์การสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ และสำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ดังนั้น วันวิสาขบูชานานาชาติ แห่งองค์การสหประชาชาติจึงถือกำเนิดขึ้นในปี 2000 (2543) เป็นต้นมา มีผู้เข้าร่วมจาก 85 ประเทศทั่วโลก มาประชุมร่วมกันในวันที่ 25-27 พ.ค. 2018 การฉลองวันวิสาขบูชานานาชาติฯ จัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากรัฐบาลไทย และคณะสงฆ์ไทย โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานในพิธี และมี พล.อ.บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ ผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เป็นผู้เปิดงาน
โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เซอริ่ง ต๊อบเกย์ แห่งราชอาณาจักรภูฏาน เป็นผู้กล่าวปาฐกถา ในหัวข้อ คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันและการร่วมมือกันระหว่างองค์กรและพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ในช่วงสรุปของการเฉลิมฉลองและการประชุมอย่างประสบความสำเร็จ ได้มีข้อตกลงร่วมกัน ดังนี้
1. เพื่อยืนยันว่า มุมมองของในโลกของพระพุทธศาสนามีความสอดคล้องกับพันธกิจที่จะทำงานอย่างอุตสาหะ เพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2023 (2573) เราได้อุทิศร่วมกันเพื่อให้บรรลุข้อตกลงดังกล่าว
2. เพื่อที่จะแสดงการขอบคุณต่อการจัดงานวันวิสาขบูชานานาชาติฯ ครั้งที่ 14 ที่ประสบความความสำเร็จ ณ กรุงโคลัมโบ และเมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา ในปี ค.ศ. 2017 (2560)
3. เพื่อชื่นชมการตีพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ฉบับภาษาอังกฤษ พิมพ์ครั้งที่ 2 และฉบับแปลภาษาไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
4. เพื่อแสดงยินดีต่อข้อตกลงที่เป็นทางการที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในนามแปลพระไตรปิฎกฉบับสากลฯ ให้เป็นภาษาจีน ฮังการี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น โปรตุเกส สเปน และเวียดนาม ที่ได้รับมอบหมายในระหว่างการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชานานาชาติ
5. เพื่อที่จะได้ทราบถึงความก้าวหน้าในการเผยแพร่บัญชีรายชื่อของพระไตรปิฎกที่จะใช้แทนพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยเพิ่มวัตถุประสงค์ของพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ ให้ครอบคลุมมากขึ้น
6. เพื่อที่จะแสดงความชื่นชมอย่างยิ่งต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แห่งประเทศไทย ซึ่งมีพื้นฐานมาจากมรรค 8 มีองค์ประกอบ 8 ส่วนคือ พอเพียง มีเหตุมีผล ภูมิคุ้มกัน
7. เพื่อที่จะแสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้ง ต่อแนวคิดของความสุขประชาชาติมวลรวม ที่ทราบกันเป็นอย่างดี ของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน โดยวัดจากความเป็นอยู่ที่ดีทางด้านจิตใจ ความผาสุกของชุมชน ความหลากหลายทางนิเวศวิทยาและวัฒนธรรม ภูมิคุ้มกัน สุขภาพ การศึกษา หลักธรรมภิบาล และคุณภาพชีวิตที่ดี
8. เพื่อส่งเสริมการพัฒนามนุษย์บนพื้นฐานของข้อมูลเชิงลึกและนำเสนอโดยผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกที่ถูกจัดเป็น 4 หัวข้อตามที่อธิบายไว้ด้านล่าง:
สำหรับหัวข้อ ความจำเป็นในการสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาด้านจิตวิทยาและจิตวิญญาณ ซึ่งไม่สามารถลดได้เพื่อให้ได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในการพึ่งพาทางร่างกายได้ ดังนั้น วิธีปกติในสังคมที่พัฒนาทางเศรษฐกิจ และพัฒนามนุษย์เพียงอย่างเดียว ในแง่ของการปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพการดูแลสุขภาพและการศึกษาซึ่งไม่เพียงพอ แต่ต้องมีปัจจัยหลายอย่างที่จำเป็น เพื่อให้มีการสนับสนุน มิติทางนิเวศวิทยา สังคม และวัฒนธรรม ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ ความยืดหยุ่นและพัฒนาชุมชน และการเชื่อมต่อที่เห็นอกเห็นใจกับผู้อื่น นอกจากนี้ ยังเป็นสิ่งสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์รุ่นสู่รุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้เยาวชนมีโอกาสในการหาวิธีการนำธรรมะในการดำรงชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในการมีชีวิตอยู่ในธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง:
8.1 หัวข้อที่ 1. คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนามนุษย์
เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างกันของการพัฒนาภายในและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก เพื่อกระตุ้นให้ผู้นำทางศาสนาและชุมชนของตนให้มีพันธสัญญาต่อกันความมุ่งมั่นในการใช้ทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อสร้างชุมชนให้มีความกรุณาต่อกันที่มีเมตตาร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อตัดวงจรของความไม่เท่าเทียมกันในสังคมและความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งผู้มีสิทธิพิเศษและผู้ด้อยโอกาสใช้หลักพุทธศาสนาและการปฏิบัติทางจิตใจเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและจิตวิญญาณอย่างสร้างสรรค์ เช่น พุทธศาสตร์สงเคราะห์
8.2 Panel 2. การเสริมสร้างศักยภาพของเยาวชนผ่านการศึกษาทางพุทธศาสนา
ใช้คำสอนทางพุทธศาสนา เช่นการดำรงชีวิตอย่างมีน้ำใจ ความเอื้ออาทร ความรู้ของมนุษย์และโลกมีความไว้วางใจในความดีงามและภูมิปัญญาของมนุษย์ในการแก้ปัญหาความท้าทายที่เยาวชนเผชิญ เพื่อยืนยันว่าการศึกษาทางพุทธศาสนาที่ดีที่สุดคือ การมีชีวิตอยู่ในธรรม เราสามารถช่วยให้เยาวชนสร้างแรงบันดาลใจและสนับสนุนพวกเขาได้ดีที่สุดเพื่อหาแนวทางที่สร้างสรรค์ในการบูรณาการธรรมในชีวิตของตนเองเพื่อส่งเสริมให้สติในเด็กและเยาวชน ยุวพุทธ ให้เป็นจุดเริ่มต้นที่มีประโยชน์สำหรับสังคมที่สงบสุข
8.3 Panel 3. พุทธศาสนาเพื่อสวัสดิการสังคม
เพื่อปรับหลักการของพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับสังคมให้เข้ากับปัญหาทางสังคมในปัจจุบันและในบริบททางโลก เช่น การให้คำปรึกษาและจิตบำบัดการรักษายาเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพื่อเปลี่ยนความรุนแรงให้กลายเป็นความไม่รุนแรง ความโลภ กลายเป็นความพึงพอใจ ความสับสนไปสู่ความเข้าใจ
8.4 Panel 4. รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในโลกที่เชื่อมต่อกัน
เพื่อส่งเสริมการเคารพซึ่งกันและกันระหว่างตัวตนทางวัฒนธรรม เราจะส่งเสริมวัฒนธรรมของความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และการเข้าใจซึ่งขึ้นอยู่กับคุณค่าสากลและความเข้าใจในกฎหมายของการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในเรื่องอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เพื่อปลูกฝังความเข้าใจเกี่ยวกับการปฎิรูปของบุคคลและการเปลี่ยนแปลงตัวตนส่วนบุคคล และส่วนรวมที่ส่งเสริมความสามัคคีภายในด้วยความหลากหลายทางอัตลักษณ์
เป็นปฏิญญากรุงเทพในการฉลองครบรอบครั้งที่ 15 วันวิสาขบูชาแห่งสหประชาชาติวันอังคารที่ 29 พ.ค. 2018.- สำนักข่าวไทย