ไทย-ตุรกีเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอรอบ 3

นนทบุรี  20 เม.ย. – พาณิชย์นำทัพเจรจาเอฟทีเอไทย-ตุรกี เร่งหาข้อสรุปแนวทางการลดและอุปสรรคการค้าโดยเร็ว หวังขยายโอกาสการค้าและการลงทุนไทยสู่ยุโรป


นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  เปิดเผยว่า จะเป็นหัวหน้าผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-ตุรกี ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 24 – 26 เมษายน 2561 ณ กรุงอังการา โดยการเจรจารอบนี้จะเป็นการหารือต่อเนื่องจากการเจรจารอบที่แล้ว ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนธันวาคม 2560 ซึ่งมีประเด็นคงค้างในส่วนของการยกร่างข้อบทเอฟทีเอ เรื่องต่าง ๆ เช่น มาตรการเยียวยาทางการค้ากฎถิ่นกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากร มาตรฐานสุขอนามัย เป็นต้น รวมทั้งในการประชุมครั้งนี้จะมีการหารือในเรื่องรูปแบบการลดภาษีด้วย โดยทั้ง 2 ฝ่ายตั้งเป้าจะสรุปผลการเจรจาความตกลงการค้าเสรี ไทย-ตุรกี ให้เสร็จโดยเร็ว

นางอรมน กล่าวว่า เอฟทีเอไทย – ตุรกี จะก่อให้เกิดประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน โดยเริ่มแรกจะมุ่งเน้นการขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ทั้งนี้ ตุรกีเป็นประเทศที่มีศักยภาพ เป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรมากกว่า 80 ล้านคน และตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเอเชียและยุโรป อีกทั้งตุรกียังมีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง จึงสามารถเป็นประตูสู่ภูมิภาคยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง แอฟริกาตอนเหนือ สำหรับรายการสินค้าศักยภาพของไทยที่มีโอกาสในการเข้าตลาดตุรกี เช่น ยานพาหนะและส่วนประกอบ ตู้เย็น พลาสติกชนิดโพลิสไตรีน ผ้าทอ เมล็ดพืช อาหารฮาลาล เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ยางพารา เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น


ทั้งนี้  ในปี 2560 ตุรกีเป็นคู่ค้าอันดับที่ 36 ของไทยในตลาดโลก และเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยการค้า 2 ฝ่ายมีมูลค่า 1,517.39 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.33 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย และไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 1,015.52 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกมูลค่า 1,266.46 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้ามูลค่า 250.94 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2561 การค้า 2 ฝ่ายมีมูลค่า 261.23 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 11.4 และไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 154.30 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกมูลค่า 207.69 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 8 และนำเข้ามูลค่า 53.47 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าร้อยละ 26.8

สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปตุรกี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ยางพารา เส้นใยประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด เม็ดพลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เคมีภัณฑ์ สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากตุรกี ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องประดับอัญมณี เคมีภัณฑ์ ลวดและสายเคเบิล เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช กระจก แก้ว และผลิตภัณฑ์ แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ ผ้าผืน.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง