สธ.9 ธ.ค.-สธ.ยันไม่รังแกบริษัทนมผง ห้ามแค่โฆษณาส่งเสริมการขาย ในเด็กวัย 0-3 ปี หวังเด็กไทยกินนมแม่ หลังผลสำรวจพบมียอดเด็กไทยดื่มนมแม่ แค่ร้อยละ12 ต่ำในอาเซียน
นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงการเปิดข้อเท็จจริงพ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดนมผงปกป้องสุขภาพเด็กไทยว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ความสำคัญกับการคุ้มครองเด็กที่เปราะบาง เน้นการควบคุมการส่งเสริมการขายนมผงหลังจากผลสำรวจการอัตราการให้นมแม่ในเด็กไทยแรกเกิดจนถึง 6 เดือนพบว่ามีแค่ร้อยละ 12 ขณะที่องค์การอนามัยโลกต้องการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ได้ ร้อยละ 50 และพบว่ากลุ่มแม่ที่มีอัตราการให้นมผง มีตั้งแต่แม่ที่มีโอกาสตัดสินใจให้นมผงและแม่ไม่มีสามารถให้นมลูกตามปกติได้ ซึ่งการที่แม่พบเห็นพบการโฆษณานมผงบ่อย ทำให้เกิดสับสน และมีโอกาสเลือกให้นมผงกับลูกแทนนมแม่
นพ.ธงชัย กล่าวว่า กฎหมายฉบรบนี้จะครอบคลุมการโฆษณาส่งเสริมการขาย ทั้งลด แลก แจก แถม และห้ามบริษัท นมผง ทำการตลาดกับแม่โดยตรง และผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนมต่องเป็นบุคคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ห้ามมีการบริจาคนมผง เพราะเข้าข่ายส่งเสริมการตลาด ยกเว้นอนุญาตให้มีการบริจาคเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีความผิกปกติทางร่างกาย หรือมีโรค ยืนยันว่าสิ่งที่พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนด ไม่ได้กระทบธุรกิจตลาดนม เพียงแต่ควบคุมการโฆษณาเท่านั้น ให้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ควรและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง โดยกำหนดห้ามโฆษณาส่งเสริมการตลาดนมผงในเด็กวัย 0-3 ปี หากฝ่าฝืนได้รับโทษจำคุกไม่เกิน3 ปีหรือปรับไม่เกิน300,000 บาท หรือทั้งจำทั้วปรับ และโทษรายวันหากไม่มีการปรับแก้ไขอีกด้วย
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตประธานส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กล่าวว่า ผ่านมา 35 ปี กฎหมายฉบับนี้ก็ยังไม่มีการบังคับใช้จริงจัง ที่ผ่านมาไม่มีบทลงโทษ มีเพียงประกาศกระทรวงสาธารณสุข และเป็นแค่การขอความร่วมมือ ทำให้พบเห็นการฝ่าฝืนทั้งใช้พรีเซนเตอร์เด็กในการโฆษณา ขณะที่นานาประเทศหรือแม้ในอาเซียนก็มีกฎหมายควบคุมแล้ว และไทยยังมีอัตราดื่มนมแม่น้อยในอาเซียนอีกด้วย
นายบวรสรรค์ เจี่ยดำรง อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพัฎรำไพพรรณี กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดนมผงในไทยมีมากถึง 7 บริษัท มูลค่าทางการตลาดมากถึง 25,000 ล้านบาท โดยสัดส่วนทางการตลาดในทุกบริษัทนมผง มีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท การทำการตลาด ทั้งสื่อบุคคล สื่อมวลชน การออกอีเว้นท์ และอินเตอร์เน็ต มุ่งให้เกิดแบรนด์รอยัลตี้ในที่สุด การโฆษณาตามสื่อต่างๆก็ผิดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุไว้ ทั้งสื่อโปสเตอร์ข้างรถยนต์ การใช้เด็กเล็ก .-สำนักข่าวไทย