สงขลา 18 มี.ค. – พระสงฆ์และญาติโยมในวัดกังวล สุนัขและแมวจรจัดภายในวัดไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เกรงจะแพร่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้า วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญ
สุนัขและแมวจรจัด ภายในวัดหลายแห่ง ในตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแต่อย่างใด ทำให้พระสงฆ์และญาติโยมต่างมีความกังวลใจ โดยพระสงฆ์ของวัดแห่งหนึ่งบอกว่า ขณะนี้สุนัขและแมวจำนวนมากที่ถูกชาวบ้านนำมาทิ้งให้วัดเลี้ยง ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ทำให้พระสงฆ์มีความกังวล โดยที่วัดแห่งนี้นั้น มีสุนัขและแมวรวมกันไม่น้อยกว่า 20 ตัว โดยไม่ทราบว่าตัวไหนมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าอยู่บ้าง จึงกังวลว่า หากกัดชาวบ้าน หรือแม้แต่เล่นกันจนมีรอยขีดข่วน ก็อาจจะติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว จึงอยากให้ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้แก่สุนัขและแมวจรจัด ภายในวัดด้วย เพราะเชื่อว่ากลุ่มเหล่านี้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อและแพร่เชื้อมากกว่าสุนัขและแมวที่เลี้ยงเอาไว้ตามบ้านเรือนทั่วไป
อย่างไรก็ตาม สุนัขและแมวจรจัดนั้น นอกจากจะเป็นเป็นความกังวลของชาวบ้านแล้ว ยังเป็นความกังวลของเจ้าหน้าที่ด้วย เนื่องจากไม่มีเจ้าของ การที่จะจับมาฉีดวัคซีนนั้นทำได้ยาก ต้องใช้วิธียิงยาสลบ ขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการสุรวจและจะกำหนดเข้าทำการฉีดวัคซีนให้ครบทุกพื้นที่ภายในเดือนเมษายนนี้
กรมควบคุมโรค ย้ำสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าลดลงได้ หลังมีผู้เสียชีวิตรายที่ 5 ด้วยการตระหนักถูกหมา แมว กัด เลีย รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคน เนื่องจากส่วนใหญ่ของคนโดนกัดไม่ใส่ใจ จึงเสียชีวิต อีกทั้งระยะเวลา
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงสถานการณ์ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าที่พบผู้เสียชีวิตแล้ว 5 คนนั้น อยากให้ประชาชนตระหนักแต่ไม่ตระหนก การพบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าในไทย แล้ว 5 คน ไม่ได้หมายความว่าในเดือนถนัด ๆไปจะพบผู้เสียชีวิตมากขึ้นเนื่องจากระยะการฟักตัวของโรคพิษสุนัขบ้า หากไม่โดนเส้นประสาท จะมีระยะเวลานานถึง 2-3 เดือน โดยที่เสียชีวิตล่าสุดจากพิษสุนัขบ้ารายที่ 5 ถูกแมวกัดเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว และไม่ได้ไปรับวัคซีนและทุกรายของการเสียชีวิต คือไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อรับวัคซีน ซึ่งหากทุกคนปฏิบัติตัวได้ดี ถูกเลีย ถูกข่วน ถูกกัด รับวัคซีน การเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าก็จะลดลง ในปี 2560 มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 11 ราย โดยเพิ่งมีเพิ่มจำนวนในช่วงเดือนกันยายน 2560
นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อว่า จุดที่โดนกัดและเสี่ยงได้รับผลกระทบต่อเส้นประสาท ได้แก่ ใบหน้า ลำคอ หรือในกรณีตามข้อมือและนิ้ว ที่ใกล้เส้นประสาทหรือมีบาดแผลลึกรุนแรงต้องได้รับการฉีดวัคซีนและดูแลทันที ทั้งนี้การควบคุมโรคเตรียมประสาน อสม.จัดทำรูปแบบการเฝ้าระวัง Dog Bike ออกสำรวจผู้ถูกสุนัขและแมวกัดหรือเลีย เพื่อมารับวัคซีน อีกทั้งเพื่อสานต่อพระราชปณิธานและรับสั่งของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ต้องการให้โรคพิษสุนัขบ้า หมดไปจากไทยในปี 2563. -สำนักข่าวไทย