17 พ.ค.นี้ ศธ.นำร่อง 77 โรงเรียน Public School

ศธ.14 มี.ค.-ก.ศึกษาฯ เตรียมเปิด Public School 77 เเห่งทั่วประเทศ 17 พ.ค.นี้ ให้อิสระโรงเรียนบริหารจัดการตนเอง


นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบพับบลิคสคูล (Public School) เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งโรงเรียน Public School ที่ให้อิสระโรงเรียนในการบริหารจัดการทั้งด้านบุคลากรและหลักสูตร  ว่า การจัดตั้งโรงเรียนรูปแบบดังกล่าวจะเริ่มใช้ในวันเปิดเทอมเเรกปีการศึกษา 2561 หรือวันที่ 17 พ.ค.นี้ โดยวางเป้าหมายนำร่องในโรงเรียน 77 เเห่งใน77จังหวัดทั่วประเทศโดยโรงเรียนที่จะได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนำร่อง จะเป็นกลุ่มโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีศักยภาพแต่ยังมีการบริหารจัดการได้ไม่ดี ซึ่งจะไม่ทำในโรงเรียนดัง เช่น รร.เตรียมอุดมศึกษา หรือ รร.สวนกุหลาบ เเละจะทำได้ในทุกระดับชั้นทั้งโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษาหรืออาชีวศึกษา 


นพ.อุดม กล่าวต่อว่า Public School จะมีการตั้งคณะกรรมการบริหารโรงเรียนที่มาจาก 4 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคประชาชน เอกชนและมหาวิทยาลัย โดยจะให้อำนาจภาคประชาชนเป็นประธานโรงเรียนเท่านั้น ขณะที่ภาคเอกชน จะเข้ามาทำงานในส่วนของการอำนวยความสะดวกในการศึกษา เช่น การพาเด็กเข้าไปเรียนรู้การทำงานในโรงงานและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่รัฐไม่สามารถเอื้ออำนวยให้ได้ โดยเอกชนจะต้องเข้ามาเพื่อร่วมพัฒนาการศึกษาด้วย ไม่ใช่เข้ามาผลประโยชน์ 


ขณะเดียวกัน มีอำนาจในการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนได้เอง ประมาณร้อยละ 30-35 ส่วนอีกร้อยละ 65-70 ยังต้องเป็นไปตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งการออกแบบการเรียนของตัวเอง อาจจะเป็นในรูปแบบการเรียนนอกห้องเรียน การศึกษาดูงาน หรือเข้าไปฝึกงาน ส่วนการวัดผล กระทรวงจะต้องมาปรับการวัดผลประเมินผลให้เหมาะสมกับสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการด้วย

รมช.ศึกษาฯ กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนโรงเรียนรัฐครั้งนี้ คาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกโรงเรียนของประเทศไทย ไม่ใช่แค่เฉพาะโรงเรียนนำร่องเท่านั้น คล้ายมหาวิทยาลัย เนื่องจากเห็นว่าโครงการของ ศธ.ที่ต้องดูแลโรงเรียนในสังกัดกว่า 37,000 โรงนั้น ใหญ่ และเทอะทะเกินไป นอกจากนี้ ยังไม่ใช่การกระจายอำนาจลงไปในท้องถิ่นอย่างแท้จริงเพราะ Public School ครั้งนี้ ต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนในพื้นที่เป็นหลัก เพิ่มการเข้าถึงการศึกษาและคุณภาพการจัดการเรียนการสอน และต้องการลดความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหากวดวิชา โดยยืนยันว่า โรงเรียนที่เข้าร่วมจะไม่มีการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครอง และแต่ละแห่ง จะมีรูปแบบการจัดการหลากหลาย ไม่จำกัดแค่แนวทางใดแนวทางหนึ่ง 

ทั้งนี้ ในวันที่ 21 มีนาคม 2561 นี้ จะมีการประชุมอีกครั้ง เพื่อสรุปจำนวนโรงเรียนที่จะเข้าร่วมว่ามีที่ใดบ้าง และสามารถทำได้อย่างไร เพื่อให้ทันต่อกรอบเวลาที่วางไว้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่มพาลูก-เมียกลับจากฉลองวันเกิด รถยางระเบิดเสียหลักชนเสาไฟ ดับ 3 สาหัส 2

พ่อแม่ลูก 5 คน กลับจากฉลองวันเกิด รถกระบะยางระเบิดเสียหลักหมุนชนอัดเสาไฟฟ้า พ่อและแม่พร้อมลูกคนโตเสียชีวิตคาที่ ส่วนลูกคนกลางและคนเล็กอาการสาหัส

สุดโหด! ไล่แทงหนุ่มดับปมขัดแย้งยาเสพติด

วงจรปิดจับภาพชัด คนร้ายวิ่งข้ามถนนไล่แทงหนุ่มเสียชีวิต ชาวบ้านแตกตื่น ขณะที่ตำรวจรวบตัวทันควัน คาดปมขัดแย้งยาเสพติด

กยศ.เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน พ.ค.-มิ.ย.68

กยศ. เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน ช่วยเหลือชั่วคราว พ.ค.-มิ.ย.68 ให้นายจ้างลดยอดการหักเงินเดือน ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเริ่มผ่อนชำระใหม่เป็นรายเดือนในอัตราลดลง

ข่าวแนะนำ

เตือนพายุฤดูร้อน ภาคอีสาน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง

กรมอุตุฯ เตือนพายุฤดูร้อน ภาคอีสาน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าบางพื้นที่ ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป ส่วนภาคใต้ฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ผู้เสียหาย 70 ราย ร้องสภาทนายฯ ถูกหอพักโหดเอาเปรียบ

ผู้เสียหาย 70 คน เข้าร้องสภาทนายความช่วยเหลือ หลังถูกเจ้าของหอพัก ย่านรังสิต เอาเปรียบ ข่มขู่กักขัง-ยึดทรัพย์ ด้านนายกสภาทนายความ ตั้งคณะทำงานช่วยเหลือทางคดี ทั้งแพ่ง-อาญา เชื่อมีผู้เสียหายเพิ่มอีก

คณะกรรมการแพทยสภา มีมติลงโทษ 3 แพทย์ เซ่นปม “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14

คณะกรรมการแพทยสภา มีมติลงโทษแพทย์ 3 ท่าน เซ่นปม “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14 รพ.ตำรวจ โดยว่ากล่าวตักเตือน 1 ท่าน พักใช้ใบประกอบวิชาชีพ 2 ท่าน เผยมติที่ประชุมมีความเห็น “เป็นเสียงส่วนใหญ่มาก มาก มาก”