สมชัย ห่วงพรรคใหม่ ชี้เป็นเรื่องยากในการหาทุนประเดิม 1 ล้าน

กรุงเทพฯ 6 มี.ค.- “สมชัย” โพสต์เฟชบุ๊คห่วงพรรคใหม่ เงื่อนไขทุนประเดิมพรรคการเมือง 1 ล้านบาท ที่กำหนดให้สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งต้องสละเงินเป็นทุนประเดิม เป็นเรื่องยาก  จับตาจะทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็งตามที่ผู้ร่าง รธน.ต้องการหรือไม่ 


นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟสบุ๊ค  กล่าวถึง มาตรา 141 (3) พ.ร.ป.พรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และ คำสั่ง คสช.ที่ 53/2560  กำหนดให้พรรคการเมือง ต้องมีทุนประเดิม 1 ล้านบาท ภายใน 180 วัน  นับตั้งแต่ 1 เมษายน 2561 การได้มาซึ่งทุนประเดิมหนึ่งล้านบาท สำหรับพรรคใหม่และพรรคเก่ามีเงื่อนไขแตกต่างกัน  สำหรับพรรคเก่าสามารถนำเงินที่มีอยู่ในบัญชีของพรรค หรือ ตีมูลค่าทรัพย์สินที่มี รวมเป็นทุนประเดิมหนึ่งล้านบาทได้    

นายสมชัย กล่าวว่า แต่พรรคใหม่ กลับกำหนดวิธีการที่ให้สมาชิกก่อตั้ง 500 คน  ต้องมีส่วนร่วมในการสละเงินเป็นทุนประเดิมอย่างทั่วหน้า คือ ต้องไม่น้อยกว่า 1,000 บาทและไม่เกิน 50,000 บาท ต่อสมาชิกก่อตั้ง 1 คน   แค่หาสมาชิกก่อตั้ง 500 คนก็เป็นเรื่องยาก  ยังต้องให้สมาชิก 500 คนแรก มีส่วนในการเสียสละเงินเป็นทุนประเดิมขั้นต่ำ 1,000 บาท ยิ่งดูยากเย็นมากขึ้น


นายสมชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ ในมาตรา 30 ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง   ยังห้ามพรรคหรือผู้ใด เสนอให้เงินหรือทรัพย์สิน ไม่ว่าโดยตรงหรืออ้อมเพื่อจูงใจสมัครเป็นสมาชิก ซึ่งมีโทษแรงถึงจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี เป็นการปิดประตูกรณีจะมีคนออกเงินแทนกันอีก

นายสมชัย  กล่าวเห็น ทุนประเดิมหนึ่งล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขสมาชิกก่อตั้ง 500 คน ต้องมีส่วนร่วมในการบริจาคนี้ คำนวณด้วยหลักคณิตศาสตร์ง่ายได้ 2  แบบ   ซึ่งเรียกว่า แบบเฉลี่ยทุกข์ และ แบบเฉลี่ยสุข  แบบเฉลี่ยทุกข์ คือให้ทุกคนมีส่วนในการเสียสละเท่าเทียมกัน  คือให้ทุกคนเสียสละบริจาคเท่า ๆ กัน ในอัตราคนละ 2,000 บาท ก็จะได้ทุนประเดิมตามกฎหมายกำหนด    และแบบเฉลี่ยสุข สูตรนี้จะเป็นสูตรคนมีเงินมาก ช่วยคนที่มีเงินน้อยกว่าให้มีความสุข คือ จะต้องมีคนรวยจำนวน 11 คน  ยอมจ่ายมากหน่อย   เพื่อให้คนจนจ่ายน้อยที่สุดตามที่กฎหมายกำหนด  ต่ำกว่านี้ ไม่ครบล้าน   เช่น คนรวย 11 คน ออกเงินคนละ 50,000  บาท  นอกนั้น 489 คน จะออกแค่คนละ 1,000 บาท  

“คนเขียนกติกา เขาต้องการให้พรรคเข้มแข็ง มีคน มีเงิน ในระดับหนึ่ง ถึงอาสาตัวเข้ามา   จึงเป็นประเด็นต้องติดตามต่อไปว่า ท้ายสุดจะเป็นดังที่ต้องการหรือไม่”นายสมชัย กล่าวและว่า ข้อกำหนดดังกล่าวมีเวลา 180 วัน หลังจาก 1 เมษายน 2561  หรือไปถึงประมาณต้นตุลาคมปีนี้   แต่อย่าชะล่าใจ    เพราะหาก พ.ร.ป.ว่าด้ายการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง  ส.ว. ผ่านสนช.   และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว   ตามคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560  ให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง  ครม. กกต. กรธ. ประธาน สนช. และ ผู้แทนพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง    เพื่อกำหนดแผนขั้นตอนการดำเนินการไปสู่การเลือกตั้ง   จังหวะนั้นจะรู้ว่า การเลือกตั้งจะช้าหรือจะเร็วกว่าที่คิด.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง