รับมือวิกฤติจราจรเมืองกรุง ปี 2561-2563 จากการก่อสร้างรถไฟฟ้า

กทม. 10 ม.ค. – ใน 3 ปีนี้ คือ ตั้งแต่ปี 2561-2563 จะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสาย มีความกังวลว่าทำให้การจราจรในกรุงเทพฯ วิกฤติหนัก โดยเฉพาะฝั่งตะวันออก เช่น ลาดพร้าว รามคำแหง และมีนบุรี ตำรวจจึงประเมินผลกระทบและจำลองรูปแบบการจราจรเพื่อแก้ปัญหารถติด 


นี่เป็นสภาพการจราจรบนถนนย่านมีนบุรี กรุงเทพฯ ซึ่งมีปริมาณรถหนาแน่น และเป็นแนวการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง ระยะทางกว่า 34 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี ผ่านถนนที่มีรถติดหนัก เช่น สนามบินน้ำ แยกแคราย แจ้งวัฒนะ รามอินทรา และจะมีการปิดการจราจรบางส่วนเพื่อรื้อย้ายระบบสาธาณูปโภคกลางเดือนนี้


เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ที่จะเริ่มก่อสร้างอยู่บนนถนนสายหลัก เช่นหน้า เช่น รัชดาภิเษก พระราม 9 ช่วงสำนักงาน รฟม. และรามคำแหง 151/1-159  มีการเบี่ยงเส้นทางการจราจรบางช่วงในสัปดาห์นี้ 

ส่วนอีกโครงการ คือ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สำโรง-ลาดพร้าว ระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร 23 สถานี  จะเริ่มการสำรวจแนวสาธารณูปโภคและเริ่มก่อสร้างเช่นกัน แต่ละโครงการเป็นการก่อสร้างตามแนวถนนสายหลักและมีการจราจรหนาแน่นในช่วงปกติ


รอง ผบช.น ระบุว่าในต้นปีนี้ โครงการรถไฟฟ้าหลายแห่งที่จะเกิดขึ้นและเตรียมการปิดการจราจร  จะทำให้กรุงเทพฯ ประสบปัญหารถติดเพิ่มขึ้นไปจนถึงปี 2563 จุดวิกฤติที่น่าห่วงคือ กรุงเทพฝั่งตะวันออก เป็นจุดเชื่อมต่อโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสาย มีการกำหนดมาตรการ เช่น การเบี่ยงช่องทาง การขยายผิวจราจร เปลี่ยนจุดกลับรถ นำข้อมูลที่ได้มาจำลองรูปแบบการจราจรเพื่อหาแนวทางลดผลกระทบจากปัญหารถติด

ก่อนการเข้าดำเนินการก่อสร้างและปิดการจราจร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งผู้รับเหมา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ประชุมเพื่อสรุปแผนงานร่วมกัน เพื่อให้การก่อสร้างส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ถนนน้อยที่สุด 

นักวิชาการด้านคมนาคมจากจุฬาฯ ระบุว่า การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าขนส่งในกรุงเทพฯ จะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตคนเมืองในระยะยาว และต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศ จะทำให้โครงสร้างพื้นฐานที่กำลังเกิดขึ้น แก้ปัญหาด้านจราจรและคุณภาพชีวิตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

มีข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พบว่ามีรถจดทะเบียนสะสมในกรุงเทพมหานคร เกือบ 10 ล้านคัน  ทำให้ถนนที่มีความเร็วรถเฉลี่ยต่ำสุดในชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้าคือ ถนนกรุงธนบุรี และถนนพระราม 9 ส่วนช่วงเย็น คือ ถนนสุขุมวิท และถนนราชวิถี ขณะที่การก่อสร้างรถไฟฟ้าบางสายอยู่ในถนนที่มีการจราจรหนาแน่น รวมขณะนี้มีการก่อสร้างกว่า 6 โครงการ บางเส้นทางกำหนดสร้างแล้วเสร็จในอีก 3- 4 ปีข้างหน้า. – สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

ก.อุตฯ เตรียมส่งตรวจเหล็กตึก สตง. เพิ่ม 21 เม.ย.

ก.อุตสาหกรรม กางผลตรวจเหล็กตึก สตง.ถล่ม รอบแรก ก่อนส่งตรวจเพิ่มอีก 40 ท่อน 21 เม.ย. ย้ำผิดคือผิด! ผู้ผลิต-จนท.มีเอี่ยว เตรียมปิดเทอม

พายุฝนพัดต้นยางอายุร่วม 100 ปี ทับโรงครัววัดพังราบ

พายุฝนลมกระโชกแรง ซัดต้นยางอายุร่วม 100 ปี วัดนางเหลียว ล้มทับโรงครัวพังเสียหาย ชาวบ้านในงานศพตื่นตระหนก วิ่งหนีกระเจิง

ลุยรื้อถอนต่อเนื่องเข้าวันที่ 24 จนท.ทำงานหนักตลอด 24 ชม.

เดินหน้ารื้อถอนอาคาร สตง.ถล่ม เข้าสู่วันที่ 24 เจ้าหน้าที่ทำงานตลอด 24 ชม. เพื่อให้เสร็จตามแผน ขณะที่ภารกิจค้นหาผู้ติดค้างยังคงดำเนินต่อเนื่อง