ก.แรงงาน 2 ธ.ค.-รมว.เเรงงานออกนโยบายเร่งด่วน เเก้ปัญหาเเรงงาน 11 ด้านโดยเฉพาะเร่งรัดจัดระเบียบต่างด้าวผิดกฎหมายให้ทัน 31 มี.ค.ปีหน้าเเละลดการค้ามนุษย์ ย้ำทุกหน่วยงานต้องทำงานเชื่อมโยงกัน ส่วนกรณีเรียกร้องขอขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ ขอศึกษาปัญหาก่อน
พล.ต.อ.อดุลย์ เเสงสิงเเก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเเรงงาน เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายการปฏิบัติราชการในปีงบประมาณ 2561 ให้เเก่ผู้บริหารระดับสูงเเละข้าราชการกระทรวงเเรงงาน โดยกล่าวว่า รัฐบาลวางยุทธศาสตร์ไว้ 6 ด้าน ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเเรงงานโดยตรงคือ 3 ด้านได้เเก่ ความมั่นคง การมีความสามารถในการเเข่งขันกับนานาชาติ เเละพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างโอกาสความเสมอภาคเเละความเท่าเทียม ซึ่งส่วนตัวมองว่ากระทรวงเเรงงานมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจเเละสังคม จึงต้องมีทิศทางการพัฒนาเเรงงานให้ได้มาตรฐาน ออกเป็นนโยบายที่เร่งด่วน 11 ด้าน ได้เเก่
1.เร่งรัดจัดระเบียบเเรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ให้ถูกกฎหมายภายในวันที่31 มีนาคม 2561 วางเป้าหมาย 1,137,000 คน ซึ่งเบื้องต้นได้เเนะนำให้มีการตั้งศูนย์บูรณาการติดตามประเมินผลเพื่อให้มีการลงทะเบียนเเละการพิสูจน์สัญชาติ การเปลี่ยนนายจ้างหรือทุกขั้นตอนในการจัดระเบียบเเรงงานเป็นไปอย่างรวดเร็วเเละสะดวก ซึ่งคิดว่าจะเสร็จทันภายใน 31 มี.ค.เเน่นอน
2.ผลักดันเเละเร่งรัดเเก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายด้านเเรงงานตาม IUU Fishing ป้องกันไม่ให้มีการใช้เเรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย
3.เเก้ปัญหาการหลอกลวงเเรงงานไทยไปต่างประเทศอย่างผิดกฎหมาย
4.ส่งเสริมให้นายจ้างเเละสถานประกอบการรับคนพิการเข้าทำงานในรูปแบบประชารัฐ
5.เร่งรัดกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมงเพื่อส่งเสริมให้มีการจ้างงานผู้สูงอายุมากขึ้น
6.ขับเคลื่อนนโยบาย safety thailand ภายในสถานประกอบการ
7.ผลักดันเเรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคม เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างทั่วถึง
8.ยกระดับคุณภาพฝีมือเเรงงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายในยุคไทยเเลนด์ 4.0
9.เพิ่มขีดความสามารถเเรงงานไทยที่ไปทำงานที่ต่างประเทศให้มีสมรรถนะสูง เตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง
10.ผลักดันการสร้างหลักประกันสังคมที่เป็นธรรม เท่าเทียมเเละทั่วถึง
11.ยกระดับสายด่วน 1506 ให้สามารถเป็นเครือข่ายหลักเเละเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์ทั่วประเทศ
ส่วนนโยบายระดับพื้นที่(Area Based) เพื่อจัดระบบการทำงานที่เชื่อมโยงเเละบูรณาการร่วมกัน เเบ่งเป็น 4 ด้าน
1.ให้เเรงงานจังหวัดเป็นตัวเเทนในการขับเคลื่อนนโยบายในระดับพื้นที่
2.ให้เเรงงานจังหวัดเป็นเจ้าภาพในการบูรณาการการทำงานหน่วยงานมนสังกัดเเละภาคีเครือข่าย
3.ให้จัดทำเเผนปฏิบัติการรายจังหวัด
4.ให้สำนักงานเเรงงานจังหวัดเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านเเรงงาน
ขณะเดียวกันต้องมีนโยบายบริหารการพัฒนา โดยเน้นความมีเอกภาพ โดยเเบ่งเป็น 6 ด้าน ได้เเก่
1.ยกระดับศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงเเรงงาน(ศปก.รง.)ระดับกรมเเละพื้นที่ 2.พัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ
3.เพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ข้อมูลเเรงงานเเห่งชาติ
4.เร่งรัดการออกกฎหมายสำคัญเเก้ไขปัญหาเเรงงาน 11 ฉบับ
5.ยกระดับกระทรวงเเรงงานให้เป็นหน่วยงานที่มีมาตรฐานระดับสากล เเละ 6.จัดสวัสดิการสำหรับบุคลากร
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวต่อว่า หลังการประชุมวันนี้ ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนเริ่มลงมือทำทันทีตามนโยบายเร่งด่วน 11 ด้านเเละจะมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง หากผิดพลาดต้องรับผิดชอบ โดยไม่ได้กำหนดกรอบเวลา เเต่ย้ำว่าต้องให้สำเร็จต่อเนื่อง ส่วนปัญหานายหน้าเเรงงานเรียกรับส่วยซึ่งมีจำนวนมากในหลายจังหวัด โดยเฉพาะที่ภูเก็ต จะมีการตั้งทีมงานลงไปเก็บข้อมูลเเละจัดการปัญหา ขณะที่มีการเรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้เท่ากันทั่วประเทศนั้น ต้องขอดูข้อมูลให้หลายด้านทั้งนโยบาย ข้อเท็จจริงเเละปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนถึงจะตอบได้
ด้านนายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงเเรงงาน กล่าวว่า ปัจจุบันมีประชากรไทยที่อยู่ในวัยทำงาน 56 ล้านคน โดย 38 ล้านคนเป็นเเรงงาน เเบ่งเป็นมีงานทำ 37 ล้านคนเเละว่างงาน 4.5 เเสนคน โดยใน 37 ล้านคนอยู่ในระบบประกันสังคม 10.7ล้านคนเเละเป็นเเรงงานนอกระบบ 20 ล้านคน มีเเรงงานต่างด้าว 3 ล้านคนเเละเเรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ 4เเสนคน ซึ่งเเนวทางในการทำงานของกระทรวงเเรงงานเพื่อดูเเลเเรงงานทั้งหมดเเบ่งเป็น 6 เเนวทาง ได้เเก่ การบริหารจัดการเเรงงานไทย ให้มีงานทำมีประสิทธิภาพซึ่งเตรียมโครงการไว้ดูเเล 15 โครงการ ,การบริหารจัดการเเรงงานต่างด้าว ให้มีฐานระบบข้อมูลติดตามตัว ใน7 โครงการ, สร้างระบบประกันสังคมที่เป็นกลางเเละเท่าเทียม 19 โครงการ , สร้างมาตรฐานการจ้างงานให้เป็นที่ยอมรับ 3โครงการ , พัฒนาทักษะรองรับไทยเเลนด์ 4.0 เเละบริหารระบบราชการให้สอดคล้องการเปลี่ยนเเปลง .-สำนักข่าวไทย