กก.ปฏิรูปประเทศด้านสังคมจัดรับฟังความเห็นการปฏิรูปสังคมไทย สู่สังคมคุณภาพ

กรุงเทพฯ 15 พ.ย.-คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นการปฏิรูปสังคมไทย สู่สังคมคุณภาพ พร้อมนำทุกความคิดเห็นไปประกอบจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคมให้มีความครบถ้วน  และเชื่อมโยงกับการปฏิรูปประเทศด้านอื่น ๆ


วันนี้ (5 พ.ย.) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคมจัดรับฟังความเห็นต่อประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านสังคมจากกลุ่มสื่อมวลชนและผู้นาทางสังคม จำนวน 100 คน ณ โรงแรม ดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ โดยมี นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เป็นประธานในการรับฟังความคิดเห็น ร่วมกับ นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ ประธานอนุกรรมการฯ ร่วมรับฟังความคิดเห็น

โดย นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ รองประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม  กล่าวรายงานถึงความเป็นมาและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม และการจัดเวทีรับฟังความเห็นจากประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำร่างแผนปฏิรูปประเทศให้มีความครอบคลุม ครบถ้วน และสามารถบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ไปสู่ “สังคมคุณภาพ” ด้วยการสร้าง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม การสร้างโอกาสที่เป็นธรรมโดยไม่แบ่งแยก การเสริมสร้างพลังทางสังคม และการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม


จากนั้น นายปีติพงศ์ ได้เสนอประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านสังคมที่สำคัญภายใต้กรอบแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ แผนการปฏิรูปที่เป็นเรื่อง ๆ แผนการพัฒนาเป็นพื้นที่ และแผนการจัดกระบวนการเพื่อขับเคลื่อนสังคม โดยแผนการปฏิรูปที่เป็นเรื่อง ๆ ประกอบด้วย 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การปรับปรุงการออม สวัสดิการสังคม และการลงทุนทางสังคม โดยการเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนการออมแห่งชาติ สร้างระบบให้คนไทยมีบำเหน็จบานาญที่พอเพียง ปรับปรุงระบบสวัสดิการด้านต่าง ๆ ผลักดันการดาเนินการด้านวิสาหกิจเพื่อสังคม ก่อตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนด้านสังคม ขอให้วัดช่วยเหลือกิจการทางสังคม และปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี

นายปีติพงศ์ กล่าวว่า 2.การช่วยเหลือและเพิ่มขีดความสามารถกลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม อาทิ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส โดยการปฏิรูประบบขนส่งสาธารณะเพื่อประโยชน์ของทุกกลุ่ม ปฏิรูปกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุ ปฏิรูประบบคุ้มครองผู้บริโภค และปฏิรูปแนวทางการให้สัญชาติไทยแก่ผู้ไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร์ และ 3.การจัดการข้อมูลและองค์ความรู้ด้านสังคม โดยมอบหมายภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้เก็บข้อมูลและบริหารข้อมูลด้านสังคม จัดการข้อมูลภาครัฐเพื่อให้มีการเปิดเผยและเชื่อมโยงระบบข้อมูลที่ภาคประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือชุมชนต้องการทราบหรือต้องการรับบริการรวมอยู่ในระบบ Big Data ของรัฐบาล โดยเน้นข้อมูลด้านการจัดสรรทรัพยากร และการเข้าถึงกระบวนการแก้ไขปัญหาภาครัฐเป็นเบื้องต้น และการจัดการองค์ความรู้ภาครัฐ รวมถึงความร่วมมือภาครัฐและเอกชนในการจัดการ องค์ความรู้

นายปีติพงศ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับแผนการพัฒนาที่เป็นพื้นที่ เป็นเรื่องระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง โดยการกำหนดตำบลเป็นพื้นที่การพัฒนาอย่างบูรณาการ ส่งเสริมสิทธิและบทบาทชุมชน อานาจการจัดการทรัพยากรและทุนชุมชน ปรับปรุงสวัสดิการชุมชน และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ส่วนแผนการจัดกระบวนการเพื่อขับเคลื่อนสังคม เป็นเรื่องการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม โดยสร้างเสริมพลังคุณธรรมและทุนทางสังคม พลังสร้างสรรค์ และพลังสร้างภูมิคุ้มกัน รวมทั้งแผนการจัดการองค์กร


“ทุกความคิดเห็นของประชาชนมีคุณค่าอย่างยิ่งในการจัดทำแผนฯ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคมฯ จะนำประเด็นที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นมาใช้ประกอบการจัดทำร่างแผนแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคมให้มีความครบถ้วน และสามารถเชื่อมโยงกับการปฏิรูปประเทศด้านอื่น ๆ โดยมีกำหนดให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้านจัดทำร่างแผนปฏิรูปประเทศให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 24 ธันวาคม 2560 อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ผ่านช่องทางเว็บไซต์ สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) www.nesdb.go.th  เฟซบุ๊ก “ร่วมปฏิรูปประเทศ” หรืออีเมล Socialreform.opinion@gmail.com รวมทั้งโทรสาร หมายเลข 0 2282 9149 (5) ส่งมาที่ สศช. วงเล็บมุมซองว่า “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม” นายปีติพงศ์ กล่าว

นายปีติพงศ์ กล่าวอีกว่า การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งต่อไปอีก 3 ครั้ง กำหนดจัดในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ที่จังหวัดอุดรธานี ภาคใต้ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคเหนือ วันที่ 12 ธันวาคม 2560 ที่จังหวัดเชียงราย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ เจ็บ 21

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ ถนนสายเอเชีย ขาขึ้น จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้บาดเจ็บ 21 คน คาดคนขับหลับใน เบื้องต้นยังไม่พบตัว

เน้นเครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B, C คาดมีผู้ติดค้างจำนวนมาก

ฝนตกหนักช่วงเช้า เพิ่มอุปสรรคค้นหาผู้ประสบภัย และการรื้อซากอาคาร สตง.ถล่ม เจ้าหน้าที่ทุกส่วนต้องหยุดปฏิบัติภารกิจชั่วคราว วันนี้ยังเน้นใช้เครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B และโซน C ที่มีลักษณะคล้ายร่างกายมนุษย์ติดอยู่ในซาก ด้านทีม K9 ประกาศยุติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย