เวทีเสวนาเรียกร้อง กทม.แก้ไขระบบระบายน้ำ

จุฬาฯ 17 ต.ค.-นักวิชาการเรียกร้องให้ กทม.แก้ไขระบบระบายน้ำ ชี้การออกแบบไม่คำนึงถึงสภาพเมืองในปัจจุบัน  พร้อมเตือนคนกรุงเทพฯ เจอฝนไปจนถึงกลางเดือน พ.ย.นี้


สถาบันโลกร้อนศึกษาประเทศไทย มูลนิธินภามิตร  ร่วมกับหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จัดเวทีเสวนาสาธารณะ TGWA ครั้งที่ 7 เรื่อง สถานการณ์น้ำปลายปี 60 : กทม น้ำรอระบายนาน หรือ …? หลังมีฝนตกหนักถล่มเมืองกรุง จนเกิดวิกฤตน้ำท่วมฉับพลันเมื่อวันเสาร์ ที่ 14ต.ค.ที่ผ่านมา


ศาสตราจารย์ธนวัฒน์  จารุพงษ์สกุล  อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวว่า สถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ กทม.เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่ามีปริมาณฝนตกรวมสูงสุดมากกว่า 200 มิลลิเมตร เพราะตกต่อเนื่องกว่า 6 ชั่วโมง แต่ถ้าเฉลี่ยแล้วจะพบว่าฝนตกไม่ถึง 40 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งศักยภาพการระบายน้ำของ กทม.รับได้ที่ 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง สะท้อนถึงปัญหาระบบระบายน้ำที่ กทม.ต้องเร่งดำเนินแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพเมืองในปัจจุบัน ที่พบว่าระดับน้ำในคลองต่างๆ สูงกว่าปลายท่อระบายน้ำ เนื่องจาก กทม.ก่อสร้างผนังป้องกันน้ำท่วมตลอดแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยา และเมื่อเข้าสู่ฤดูน้ำหลาก หรือน้ำทะเลหนุนสูง ย่อมทำให้ระดับในแม่น้ำสูงกว่าในคลอง จึงยากต่อการระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ถึงแม้จะมีอุโมงค์ยักษ์ทั่วกรุง ก็ต้องเสียงบประมาณในการสูบน้ำออกจากพื้นที่ ซึ่งในทางตรงกันข้าม หากระบบระบายน้ำของอุโมงค์เกิดขัดข้อง อาจทำให้มวลน้ำทั้งหมดไหลย้อนกลับเข้ากรุง 


นักวิชาการจากจุฬาฯ กล่าวอีกว่า จากการติดตามสภาพอากาศปีนี้ พบว่าตั้งแต่ต้นปีมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทั้งภาคเหนือ อีสาน รวมถึงกรุงเทพฯ ทำให้มีมวลน้ำทางภาคเหนือไหลมาท่วมในภาคกลาง แต่ไม่วิกฤติเท่ากับปี 2554 โดยในช่วงนี้ไปจนถึงกลางเดือน พ.ย.กทม.ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนักจากร่องมรสุมและอาจมีพายุ เหมือนกับปี2495 และปี2526 อย่างไรก็ตามมาตรการเร่งด่วน คือการพร่องน้ำในคลองลดระดับน้ำให้ต่ำกว่าปากท่อระบายน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ รวมถึงการขุดลอกคูคลอง จะช่วยเพิ่มพื้นที่กักเก็บปริมาณน้ำ ส่วนในระยะยาวคงต้องรื้อระบบระบายน้ำ พร้อมกับออกกฎหมายเก็บค่าการระบายน้ำ บังคับคอนโดมิเนียม ต้องมีที่เก็บน้ำ เพื่อควบคุมประชาชนให้ใช้น้ำอย่างประหยัด 

ด้าน รศ.อภิชาติ อนุกูลอำไพ นายกสมาคมทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย กล่าวว่า วิธีการระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพและประหยัดงบประมาณ คือ การระบายน้ำโดยแรงโน้มถ่วงของโลก ควรใช้ระบบรางระบายน้ำแบบเปิด ไม่เสี่ยงขยะอุดตันเหมือนกับระบบการวางท่อฝังลึก พร้อมขยายคลองให้กว้าง และขุดคลองให้เชื่อมต่อกันเป็นระบบ  เพื่อกระจายน้ำจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ที่สำคัญนักวิศวกรควรเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบผังเมือง ก่อสร้างอาคารที่ไม่ขวางทางน้ำไหล จะช่วยแก้ปัญหาน้ำรอการระบายของเมืองกรุงได้อย่างยั่งยืน .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทักษิณเหยียดผิว

“อังคณา” จี้ “ทักษิณ” ขอโทษ หลังปราศรัยเหยียดสีผิว-เชื้อชาติชาวแอฟริกัน

“อังคณา” จี้ “ทักษิณ” ขอโทษ หลังปราศรัยเหยียดสีผิว-เชื้อชาติชาวแอฟริกัน ชี้เสี่ยงทำประเทศไทยถูกนานาชาติตั้งคำถาม ขัดหลักการสิทธิมนุษยชน

ข่าวแนะนำ

พระราชพิธีสมมงคล

นายกฯ เชิญชวนประชาชนร่วมงาน “พระราชพิธีสมมงคล” 14 ม.ค.นี้

นายกฯ เชิญชวนประชาชนร่วมงาน “พระราชพิธีสมมงคล” 14 ม.ค.นี้ ทั่วประเทศ พร้อมเลื่อนประชุม ครม. สัปดาห์หน้า เป็นวันจันทร์ที่ 13 ม.ค. แทน

ซิงซิงดาราจีน

นายกฯ เผยเจอ “ซิงซิง” แล้ว ตำรวจภูธร​ภาค 6 รอรับอยู่ที่แม่สอด

นายกฯ เผยเจอ “ซิงซิง” นักแสดงจีนแล้ว ตำรวจภูธร​ภาค 6 รอรับอยู่ที่แม่สอด สั่ง “ดีอี” ดูข่าวลือ ไม่ให้กระทบภาพลักษณ์ไทย หลังโซเชียล​โหมกระแสเมืองไทยน่ากลัว พร้อมประสานทูตจีนเข้มข้น หลังคนจีนเข้ามาใช้พื้นที่ไทยก่อเหตุ รับฟังข้อเสนอฝ่ายค้านจัดโซนนิ่งฟรีวีซ่าจีน