ก.อุตฯ ยืนยันญี่ปุ่นสนใจลงทุนอีอีซี

กรุงเทพฯ 12 ก.ย. – กระทรวงอุตสาหกรรมระบุนักธุรกิจญี่ปุ่นสนใจลงทุนในอีอีซี พร้อมยืนยันอุตสาหกรรม 4.0 ไม่ทำให้คนตกงาน แต่อนาคตแรงงานอาจขาดแคลน


นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการที่นายฮิโรชิเกะ เซโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (เมติ) นำคณะนักธุรกิจญี่ปุ่นมาดูลู่ทางการลงทุนในไทยโดยเฉพาะโครงการระเบียงเศษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ขณะนี้พบว่านักธุรกิจญี่ปุนให้ความสนใจถึงโอกาสการลงทุนและความร่วมมือกับภาครัฐและผู้ประกอบการไทย 

ส่วนเม็ดเงินลงทุนจะเข้ามาจริงจำนวนเท่าใดนั้น จะต้องรอการดำเนินการสืบเนื่องต่อจากไปสักระยะหนึ่ง เพราะการพิจารณาตัดสินใจลงทุนมีขั้นตอนที่จะต้องรอการติดต่อประสานงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ผ่านมามีการลงทุนไปแล้ว เช่น โครงการลงทุนผลิตรถยนต์ไฮบริดของบริษัทญี่ปุ่น เป็นต้น สำหรับระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์การลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายและการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรม 4.0 และอีอีซี จะเกิดความร่วมมือและกิจกรรมต่อเนื่องไป 


ทั้งนี้ ได้ขอให้รัฐมนตรีเมติตั้งทีมทำงานร่วมกันพิจารณาขั้นตอนการดำเนินการ เช่น อุตสาหกรรม 4.0 การนำ Internet of Things (IOT) มาเชื่อมโยงผู้ประกอบการไทย-ญี่ปุ่น ระบบโลจิสติกส์ และบิ๊กเดต้า โดยจะทำงานแนวลึก เช่น การเชื่อมโยงเอสเอ็มอีไทย-ญี่ปุ่นลักษณะพื้่นที่ต่อพื้นที่ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกันการส่งเสริมให้จับมือกันทำตลาดจะมีขั้นตอนอย่างไร การพัฒนาบุคลากรที่จะเริ่มจากในพื้นที่อีอีซี อย่างโครงการ Flex campus และการพัฒนาบุคลากรสายอาชีพ เป็นต้น 

นายอุตตม กล่าวว่า ทางญี่ปุ่นขณะนี้มุ่งหวังให้ไทยเป็นประเทศที่พัฒนาห่วงโซ่มูลค่าการผลิตในแนวคิด conneted In dustry และศูนย์กลางพัฒนาบุคลากร ไม่เพียงประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาบุคลากรในกลุ่มประเทศ CLMV และอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงหรือ GMS และกลุ่มประเทศอาเซียนต่อไป ส่วนเรื่องแรงงานไทยที่ขณะนี้มีความเป็นห่วงว่าจะได้รับผลกระทบจากการนำหุ่นยนต์หรือรีะบบไอทีเข้ามาใช้นั้น จากการหารือเจ้าของโรงงานพบว่า โรงงานที่พัฒนาระบบมีการนำพนักงานไปเพิ่มทักษะและให้ไปทำงานส่วนอื่นที่สร้างมูลค่าเพิ่มมากกว่า ซึ่งในส่วนของประเทศไทยความท้าทายที่แท้จริง คือ ในอนาคตแรงงานจะไม่พอ จึงจำเป็นต้องนำเทคโลยี ระบบอัตโนมันและ IOT เข้ามาช่วย

ปัจจุบันนักลงทุนญี่ปุ่นจำนวนมากลงทุนในไทยอยู่แล้ว สำหรับโครงการอีอีซีคาดหวังว่านักลงทุนญี่ปุ่นจะมีการขยายธุรกิจเพิ่ม เนื่องจากรัฐบาลไทยส่งเสริมการลงทุนปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรม 4.0 นำสู่โอกาสใหม่ ๆ และการเดินทางมาเยือนของคณะนักธุรกิจญี่ปุ่นกว่า 570 คนครั้งนี้ก็จะนำมาซึ่งโอกาสใหม่เกิดขึ้นตามมาในที่สุด ที่ตัดสินใจลงทุนเพิ่ม เช่น โตโยต้า ฮอนด้า และมิตซูบิชิ เป็นต้น ส่วนมาสด้าผู้บริหารเข้ามาหารือที่กระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว และหารือทีมงานกระทรวงอุตฯ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพราะมีเทคโนโลยีจะผลิตรถยนต์ในอนาคตเป็นยุทธศาสตร์ในเอเชีย จึงสนใจที่จะลงทุนเพิ่มขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการหารือ 


ส่วนนักลงทุนรายใหม่ การพบกันระหว่างนายกรัฐมนตรีและคณะนักลงทุนญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา นายกรฐมนตรีขอให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าโครงการขนาดใหญ่ โครงการอีอีซี ที่ต้องการให้มหามิตรอย่างญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนจะมีความต่อเนื่องแน่ เพราะอีอีซี มีการพัฒนากฎหมายขึ้นมารองรับ สำนักงานอีอีซีก็มีกฎหมายรับรอง รวมถึงกฎหมายสิทธิประโยชน์ใหม่ ๆ ส่วนอีกประเภทที่สะท้อนความต่อเนื่องของไทย คือ กฎหมายอำนวยความสะดวกนักลงทุน สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความมั่นใจนักลงทุนได้เพราะมีกฎหมายรองรับ นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายให้หน่วยงานรัฐบาลไทยต้องอำนวยความสะดวก หรือ Ease of doing business ด้วย รวมถึงมีกฏหมายยุทธศาสตร์ประเทศ 20 ปีที่แม้เปลี่ยนรัฐบาลก็จะต้องดำเนินการต่อไป การจะเปลี่ยนนโยบายไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย 

นายคณิต  แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวว่า การลงทุนในอีอีซี ที่ระบุว่าสำนักงานอีอีซี คาดว่าร้อยละ 80 เป็นการลงทุนโดยภาคเอกชนนั้น ยืนยันว่าจะมีการดูแลนักลงทุนอย่างเท่าเทียมกัน โดยในส่วนโครงสร้างพื้นฐานจะเปิดประมูลลักษณะ PPP โดยเปิดประมูลทั่วโลกมีนักลงทุนญี่ปุ่นสนใจลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้า พัฒนาท่าเรือ และพัฒนาสนามบิน อย่างไรก็ตาม ไทยเป็นประเทศเปิดรับการลงทุนจากทุกชาติไม่เฉพาะญี่ปุ่นเท่านั้น การที่นักลงทุนชาติอื่นจะเข้ามาลงทุนมากขี้นกว่าญี่ปุ่นนั้น ขณะนี้เริ่มมี เช่น ธุรกิจอากาศยาน โดยเป็นนักลงทุนจากสหรัฐและนักลงทุนจากสหภาพยุโรป ซึ่งให้ความสนใจเข้ามาลงทุนแล้วไม่เฉพาะนักลงทุนจากประเทศจีนเท่านั้น ส่วนที่ 2 การลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย สำนักงานอีอีซี หวังว่านักลงทุนญี่ปุ่นจะเป็นกลุ่มนักลงทุนหลัก และจากการรับฟังนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น พบว่าตามนโยบาย conneted In dustry ของรัฐบาลญี่ปุ่น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมญี่ปุ่นจะมีการเชื่อมโยงการผลิตทั่วโลกเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยเทคโนโลยีดิจิท้ล ดังนั้น โรงงานผลิตของญี่ปุ่นในประเทศไทยน่าจะดำเนินการเช่นกัน นอกจากนี้ เครือ SCG ยังจะมีการลงทุนกับทางญี่ปุ่น และการลงทุนด้านท่องเที่ยว  ทางญี่ปุ่นจะมีบทบาทมาก  ขณะนี้สำนักงานอีอีซี ได้ขอให้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นทำการศึกษาว่าการลงทุนในอีอีซี นักลงทุนญี่ปุ่นได้ประโยชน์อะไร นักลงทุนต้องการอะไร และแผนที่จะร่วมกันกับไทยพัฒนาโครงการ EECD และโครการ EECI นอกจากนี้ ยังมีการลงนามกับฮิตาชิ ทำ BIG DATA

นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมของ บมจ. อมตะคอร์ปอเรชัน ได้รับการยกระดับโดยปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น พร้อมกับขยายพื้นที่ใหม่ในลักษณะสมาทซิตี้บนพื้นที่ 19 ตารางกิโลเมตร โดยร่วมกับสถาบันวิจัยญี่ปุ่น  เพื่อรองรับโรงงานญี่ปุ่นในนิคมฯและที่อยู่ใกล้ ๆ กับประเทศไทย สำหรับโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ร้อยละ 60 เป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ ยังร่วมกับฮิตาชิสร้างสมาทแฟกตอรี  ระยะยาวนิคมอุตสาหกรรมอมตะหวังให้มีการตั้งโรงงานญี่ปุ่นในสมาร์ทซิตี้ 1,000 โรง ตอนนี้มี 700 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานด้านวิจัยและพัฒนาประมาณ 50 โรงงาน. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

เขากระโดง

“อนุทิน” ยัน เพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง

“อนุทิน” ย้ำพรรคร่วมรัฐบาลมีเป้าหมายเหมือนกัน ทำประโยชน์ให้ประชาชน-ประเทศ หลัง “ทักษิณ” ชมพรรคร่วมสามัคคีกันดี ยันเพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง ขอคนไม่อยู่ในวงอย่าคาดคะเน ชี้ไม่มีเหตุผลต้องปกป้องผลประโยชน์ใคร โอดกว่าจะนั่งคุม มท. แทบตาย ไม่ให้ใครมาด่าสาดเสียเทเสีย

สนามบินสุวรรณภูมิ

ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” 1 ใน 6 สนามบินสวยสุดในโลก

“สุริยะ” รมว.คมนาคม ปลื้ม ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ติดอันดับ 1 ใน 6 สนามบินสวยที่สุดในโลก ประจำปี 2567 ด้าน “อาคาร SAT-1” สุดปัง! หลังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสนามบินที่มีสถาปัตยกรรมสวยที่สุดของโลก โชว์ความโดดเด่นด้านความงาม-ความคิดสร้างสรรค์ ชูอัตลักษณ์ความเป็นไทย จ่อประกาศผล 2 ธ.ค.นี้

รฟท. คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินทับซ้อนเขากระโดง

การรถไฟฯ ลุยยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ที่ดินทับซ้อนเขากระโดง ย้ำปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โปร่งใสและเป็นธรรม