รู้จัก “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ช่วยผู้มีรายได้น้อย ใช้ที่ไหน-ทำอะไรได้บ้าง?

อสมท 7 ก.ย.-ภายหลังรัฐบาลเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนขอรับสวัสดิการตาม “โครงการประชารัฐสวัสดิการ การช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชน


ยอดประชาชนที่มาลงทะเบียนเป็น “ผู้มีรายได้น้อย” ทั้งหมด 14,176,118 คน จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่าส่วนใหญ่จบการศึกษาต่ำกว่า ป.6  มีถึง 5,777,702 คน รองลงมาเป็นผู้ที่จบ ป.6 มีอยู่ 3,075,817 คน ส่วนที่จบชั้น ม.3 มีจำนวน 1,572,943 คน จบชั้น ม.6 จำนวน 1,410,373 คน ขณะที่ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่ได้เรียนหนังสือมีถึง 1,233,691 คน


ขณะที่ผู้ลงทะเบียนที่มีการศึกษาสูงกว่า ปวช.ขึ้นไป แบ่งเป็นผู้ที่จบระดับ ปวช.-ปวส. 568,730 คน ระดับอนุปริญญา 77,274 คน ระดับปริญญาตรีมีถึง 359,543 คน ซึ่งส่วนใหญ่จบมาแล้วยังว่างงานอยู่ เป็นที่น่าสังเกตคือ ยังมีผู้ที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมาลงทะเบียนถึง 6,508 คน คือ ผู้ที่จบระดับปริญญาโทมาลงทะเบียนถึง 5,810 คน และจบระดับปริญญาเอก แต่ก็ยังมาลงทะเบียนถึง 698 คนทีเดียว ทั้งหมดกว่า 14 ล้านคนนี้ ไม่ระบุวุฒิการศึกษาในเอกสารถึง 93,537 คน

จากที่ลงทะเบียนไว้ ตรวจสอบประวัติต่างๆ และระดับรายได้แล้ว ตัดสิทธิไปราว 2.5 ล้านคน เพราะมีรายได้และทรัพย์สินเกิน 100,000 บาท แม้บางคนเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ที่มาลงทะเบียน แต่เมื่อคุณสมบัติตรงตามระเบียบ รายได้ต่ำกว่าเส้นยากจน ก็ได้รับสิทธิ เหลือผู้ที่มีคุณสมบัติตรง เป็นผู้มีรายได้น้อยรวม 11.67 ล้านคน


งบ “กองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก” ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงินไปแล้ว 50,000 ล้านบาท ใช้ไปกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 41,940 ล้านบาท/ปี หรือเฉลี่ย 3,615 ล้านบาท/เดือน

แบ่งเป็น 1) วงเงินรายเดือนเพื่อซื้อสินค้า มี 2 ระดับตามรายได้ ดังนี้ ผู้มีรายได้มากกว่า 30,000-100,000 บาท/ปี ได้รับวงเงินผ่านบัตร 200 บาท/เดือน หรือ 2,400 บาท/ปี ส่วนผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/ปี ได้รับวงเงินผ่านบัตร 300 บาท/เดือน หรือ 3,600 บาท/ปี

วงเงินส่วนนี้ใช้ได้ที่ร้านธงฟ้าประชารัฐ ร้านค้าชุมชนกองทุนหมู่บ้าน และร้านที่ขึ้นทะเบียนกระทรวงพาณิชย์ไว้ ส่วนความกังวลการรูดซื้อเหล้า-บุหรี่นั้น กรมบัญชีกลางขอความร่วมมือ “งดจำหน่าย” เหล้า เบียร์ และบุหรี่ เพราะถือว่าเป็น “สิ่งไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพ”

ตามแนวทางของ “ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ” จะจำหน่ายสินค้าแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น ชุดนักเรียน อุปกรณ์เครื่องเขียน และสินค้าปัจจัยการเกษตร เช่น ปุ๋ย อุปกรณ์เกษตร เท่านั้น ขณะนี้มีร้านค้าทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการแล้ว 4,506 แห่ง โดยจังหวัดที่มีร้านค้าเข้าร่วมมากที่สุด คือ อุดรธานี 315 แห่ง อุบลราชธานี 155 แห่ง ลำพูน 149 แห่ง และพิษณุโลก 123 แห่ง ร่านเหล่านี้จะมีสติกเกอร์ติดไว้ที่หน้าร้าน พร้อมเครื่องชำระเงินอัตโนมัติ (EDC) ไว้ตัดยอดเงินในบัตร โดยรัฐบาลจะชำระค่าสินค้าแทนผู้ถือบัตรให้ร้านค้าเป็นรายวัน โอนเงินเข้าบัญชีภายใน 3 วัน

บัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย ยังมีวงเงินส่วนที่ 2) คือ วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จากร้านค้ากระทรวงพลังงาน 45 บาท 3 เดือน วงเงินที่ 3) วงเงินค่าโดยสารรถ บขส. จำนวน 500 บาท/เดือน วงเงินที่ 4) วงเงินค่าโดยสารรถไฟ จำนวน 500 บาท/เดือน วงเงินที่ 5) วงเงินส่วนลดค่าโดยสารรถเมล์ รถไฟฟ้า 500 บาท/เดือน

ทั้งนี้ หลังจากวันที่ 15 กันยายนนี้ ผู้ที่ลงทะเบียนไว้สามารถตรวสอบรายชื่อว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ที่เว็บไซต์ www.epayment.go.th หากมีรายชื่อก็รอรับบัตรได้เลย โดยจะมี 2 แบบ คือ แบบ 1 ชิป และ 2 ชิป โดยทั่วไปจะเป็นบัตร 1 ชิป ที่จะแจกจ่ายไปยังผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศ

มาตรการครั้งนี้จะไม่รวมถึงการช่วยเหลือเรื่องค่าไฟฟ้าและน้ำประปา วงเงินทุกประเภทของบัตร หากแต่ละเดือนใช้ไม่หมดก็ไม่สามารถสะสมไปเดือนหน้าได้ เมื่อเต็มวงเงินก็ต้องรอเดือนถัดไป วงเงินในบัตรจะเข้ามาทุกวันที่ 1 ของเดือน ถ้า “บัตรหาย” เสียเงินค่าธรรมเนียมทำบัตรใหม่ โดยบัตร 1ชิป ค่าธรรมเนียม 50 บาท ส่วนบัตร 2 ชิป เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท

ส่วนบัตร 2 ชิป คาดว่าจะใช้กับวงเงินส่วนที่ 4 และ 5 แจกให้ผู้มีรายได้น้อย ในกรุงเทพฯ และอีก 6 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม ที่มีอยู่ประมาณ 1,370,000 คน เพื่อใช้กับบริการรถเมล์และรถไฟฟ้า ที่มีวงเงิน 500 บาท/เดือน แต่จะไม่สามารถเติมเงินลงไปในบัตรได้ หากเดินทางบ่อยครั้งอาจต้องมี “บัตรแมงมุม” แยกต่างหาก ซึ่งระบบตั๋วร่วมนี้ยังต้องรอความชัดเจนการหารือของกระทรวงคมนาคมกับหน่วยงานที่จะให้บริการตั๋วร่วมอีกครั้ง เพื่อลดความซ้ำซ้อนการใช้งานระหว่างบัตรสวัสดิการและบัตรแมงมุมในอนาคต

อย่างไรก็ตาม สศค.มีความเป็นห่วงว่าเงิน “กองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก” เดิมมีอยู่ 46,000 ล้านบาท จะเหลือเพียง 5,000 ล้านบาท โดยงบประมาณราว 41,900 ล้านบาท ถูกใช้ไปในโครงการระยะแรกนี้ จำเป็นต้องเพิ่มเงินกองทุน เพื่อใช้กับโครงการในระยะที่ 2 หลังเดือนตุลาคมไปแล้ว เพื่อช่วยเหลือผู้รายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/ปี ผ่านการจัดฝึกอบรมสร้างอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ต่อไปในอนาคต.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“พิธา-ทักษิณ” ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

“พิธา” ลงพื้นที่ตลาดต้นลำไย จ.เชียงใหม่ พบปะพี่น้องประชาชน ด้านพรรคเพื่อไทย “ทักษิณ” ขึ้นเวทีแนะนำ “พิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือ สว.ก๊อง” ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

ไตรภาคีเคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค.68

ไตรภาคี เคาะค่าจ้าง 400 บาท ลูกจ้าง 4 จังหวัด 1 อำเภอ “ภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อ.เกาะสมุย” มีผล 1 ม.ค.68 ขึ้นค่าจ้าง 7-55 บาท 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้วันละ 337 บาท

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น