สนช.ไม่เซ็ตซีโร่ผู้ตรวจการแผ่นดิน

รัฐสภา 27 ก.ค.- การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้ (27 ก.ค.) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาเรื่องบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 23/2560 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาความต่อเนื่องของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 5 เมษายน 2560 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 25/2560 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 23/2560 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2560) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นมา 1 ชุด เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินทั้ง 7 คน พร้อมกำหนดกรอบเวลาในการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 12 วัน ก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป


จากนั้นเข้าสู่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยพลเอกธีรเดช มีเพียร ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีทั้งหมด 63 มาตรา ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้แก้ไขส่วนของคำปรารภและอีก 12 มาตรา พร้อมตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาในการสรรหาตามมาตรา 18 วรรค 6 ที่กำหนดไว้ 90 วัน รวมถึงการกำหนดไม่ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเข้ารับการอบรมในหลักสูตรหรือโครงการใดๆ ในมาตรา 21 และการกำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจการแผ่นดินตามมาตรา 8 ว่า ควรกำหนดแนวทางให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดความรอบคอบ

พลเอกมารุต ปัชโชตะสิงห์ สมาชิก สนช. อภิปรายถึงกรณีที่หากวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการสรรหารายใด ในการดำเนินการสรรหาใหม่ก็ไม่ควรให้ผู้ที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาในครั้งนี้ ได้รับการสรรหาใหม่ได้ ซึ่งตนเองมีความเห็นต่าง จึงขอแปรญัตติเพื่อเพิ่มข้อความเข้าไปว่า ผู้ที่เคยไม่ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา ไม่ว่าจะในครั้งใดก็ตาม ไม่ควรมีสิทธิ์ที่จะได้รับการสรรหาใหม่ เนื่องจากผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีมลทิน และเป็นผู้ที่ใสสะอาดจริงๆ


ด้านนายธนาวัฒน์ สังข์ทอง กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงว่า การเข้ารับการสรรหาใหม่ ไม่ควรไปตัดสิทธิ์ผู้ที่เคยไม่ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาในครั้งอื่น แต่ควรกำหนดให้ผู้ที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาในครั้งล่าสุดเท่านั้น เพราะการไม่ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภานั้น มีหลายสาเหตุ

ด้านพลเรือเอก ธราธร ขจิตสุวรรณ สมาชิกสนช. ได้ขอแปรญัตติในมาตรา 39 เพื่อขอให้เพิ่มข้อความในการจัดทำรายงานประจำปีของผู้ตรวจการแผ่นดินว่า ควรทำตามหลักเกณฑ์มาตรฐานของระบบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ พร้อมเผยแพร่ให้ผู้สูงอายุและผู้พิการสามารถเข้าถึงได้ด้วย พร้อมขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินคนใดคนหนึ่งต้องมาแถลงรายงานประจำปีต่อรัฐสภาด้วยตนเองเท่านั้น โดยไม่ให้ส่งผู้แทนมามาแถลงรายงานประจำปีแทน

สำหรับการพิจารณาในหมวดที่ 4 เรื่องบทกำหนดโทษ มาตรา 56 มีสมาชิก สนช. ขอแปรญัตติหลายคน โดยมองว่า ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2552 โดยขอแปรญัตติให้เพิ่มข้อความว่า “หรือพ้นจากตำแหน่ง” เข้ามาด้วย 


ขณะที่นายสมชาย แสวงการ สมาชิก สนช.แปรญัตติให้เพิ่มข้อความที่ระบุให้ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 18 (1)(2) พร้อมให้เหตุผลว่า องค์กรอิสระแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน ดังนั้น จึงไม่ควรใช้รูปแบบเหมือนกันทุกองค์กร แต่ควรดูความเหมาะสม และอำนาจหน้าที่ที่ได้รับตามรัฐธรรมนูญ

ด้านนายธนาวัฒน์ ยอมรับว่า การกำหนดคุณสมบัติผู้ตรวจการแผ่นดินในร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเกณฑ์ที่สูงขึ้น แต่ยืนยันว่ายังอยู่ในกรอบตามที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนด พร้อมให้เหตุผลว่า การกำหนดคุณสมบัติ รวมถึงบทลงโทษต่างๆ ที่มีความเคร่งครัด เข้มงวดมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องการให้ผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน เกิดปัญหาร้องเรียนจากบุคคลอื่นกรณีขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติและที่มา

อย่างไรก็ตาม ประธานได้สั่งให้พักประชุมเพื่อให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้หารือเกี่ยวกับการปรับแก้ถ้อยคำให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกันระหว่างเนื้อหาในมาตรา 56 มาตรา 57 และมาตรา 58 กรณีการคงอยู่และการพ้นจากตำแหน่งของประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน จากนั้น จึงได้ข้อสรุปว่า ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระหรือพ้นจากตำแหน่งได้ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2552 และตามที่มาตรา 18 ระบุไว้ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ แก้ไขในร่างมาตรา 56 ด้วยคะแนน 130 ต่อ 8 เสียง งดออกเสียง 15 เสียง

จากนั้น ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ด้วยคะแนน 143 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นศ.ซิ่งเก๋งชนเสาไฟล้ม 12 ต้น ทับรถ 3 คัน โค้งถนนกาญจนาภิเษก

นักศึกษาซิ่งเก๋งชนเสาไฟฟ้าล้ม 12 ต้น ทับรถที่วิ่งผ่านไปมาเสียหาย 3 คัน บริเวณโค้งถนนกาญจนาภิเษก ตัดเพชรเกษม ประชาชน 150 ครัวเรือนเดือดร้อนไฟดับ การไฟฟ้านครหลวงเร่งซ่อมแซม คาดเย็นนี้กลับมาใช้การได้ตามปกติ

นายหน้าลอยแพ 250 แรงงานไทย ไร้ตั๋วบินทำงานต่างประเทศ

ฝันสลาย แรงงานไทย 250 ชีวิต เหมารถมาสนามบินเก้อ หวังได้ไปทำงานในต่างประเทศ สุดท้ายไม่มีตั๋วบิน รวมตัวแจ้งความตำรวจ หวั่นถูกหลอกสูญเงินกว่า 12 ล้านบาท

สั่งปิดกิจการโรงงานลอบขนขยะอิเล็กทรอนิกส์

“เอกนัฏ” ลุยจับโรงงานลักลอบขนย้ายขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกยึดอายัดจากปราจีนบุรี มามหาชัย จ.สมุทรสาคร พบเป็นเครือข่ายเดียวกับ 2 โรงงานที่ถูกสั่งปิดก่อนหน้านี้ ขยายผลตามจับจนเจอขยะอิเล็กทรอนิกส์ลอตใหม่อีกกว่า 1,200 ตัน สั่งปิดกิจการทันที

ข่าวแนะนำ

อธิการบดี ม.สยาม ยันไม่เกี่ยวข้องคอร์สอบรมอาสาตำรวจ

อธิการบดี ม.สยาม แถลงโต้ หลังตกเป็นข่าวมีคอร์สอบรมอาสาตำรวจคนจีนในมหาวิทยาลัย ลั่นมหาวิทยาลัยไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เตรียมดำเนินคดีกับทุกบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ประธาน Google Cloud ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก พบนายกฯ

ประธาน Google Cloud ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เข้าพบนายกรัฐมนตรี ยืนยันความร่วมมือด้านความมั่นคงทางไซเบอร์และการป้องกันภัยจาก online scams

“เม้งการยาง” ยันไม่ทราบขวดที่ให้ “แบงค์ เลสเตอร์” กิน เป็นเจลหล่อลื่น

“เม้งการยาง” พบตำรวจไซเบอร์ เผยไม่ทราบว่าขวดที่ให้ “แบงค์ เลสเตอร์” กิน เป็นเจลหล่อลื่น หลังถ่ายรายการยังให้เงินน้องไป 2,000 บาท ด้าน “เมลาย รัชดา” เผยจะเลิกคอนเทนต์ขยะ และเลิกจัดทริปน้ำไม่อาบ

“ภูมิธรรม” ขอไม่ลงรายละเอียด ช่วย 4 ลูกเรือประมงไทย

“ภูมิธรรม” รมว.กลาโหม เผยปล่อยตัว 4 ลูกเรือประมงไทย ต้องรอจบกระบวนการ ย้ำรัฐบาล-กต.ประสานอยู่ตลอด แต่ขอไม่ลงรายละเอียด เพราะอาจกระทบการเจรจา