ลงทะเบียนแรงงานต้างด้าววันแรกกว่า 3 หมื่นคน เมียนมาร์มากสุด

ภูมิภาค 24 ก.ค. – หลายพื้นที่ทั่วประเทศ แม้จะมีนายจ้างตื่นตัวนำลูกจ้างมาขึ้นทะเบียนกันอย่างคึกคัก แต่ส่วนใหญ่ยังติดปัญหานำเอกสารมาไม่ครบ 


บรรยากาศที่ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวภายในวัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร อ.เมือง นครปฐม มีนายจ้างนำหลักฐานแรงงานมาลงทะเบียนคึกคัก โดยที่นครปฐมมีแรงงานกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ ทำงาน 500,000 คน มีที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนน่าจะอยู่ 40,000 คน

ส่วนที่พระนครศรีอยุธยา ที่นี่ในช่วงเช้าเกิดความสับสนเล็กน้อย เมื่อนายจ้างเตรียมมายื่นขอจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด แต่กลับพบว่ามีการออกหน่วยรับลงทะเบียน ที่หอประชุมสำนักงานเทศบาลเมืองอโยธยาเพียงแห่งเดียว อย่างไรก็ตาม นายจ้างบางรายต้องผิดหวังซ้ำ เนื่องจากเตรียมเอกสารมาไม่ครบ แต่เจ้าหน้าที่ก็อำนวยความสะดวกให้นำเอกสารส่วนที่ขาดมายื่นเพิ่มในวันถัดไป 


ขณะที่การรับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่ศูนย์ราชการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จ.เชียงราย วันแรกพบว่ามีนายจ้างและผู้ประกอบการให้ความสนใจมาลงทะเบียนกว่า 500 คน แต่ก็ยังพบปัญหาด้านการสื่อสารโดยเฉพาะความไม่เข้าใจในขั้นตอนการลงทะเบียน 

ส่วนที่ศูนย์จังหวัดตาก มีนายจ้างอาชีพเกษตรกรรมตามแนวชายแดนตื่นตัวมาลงทะเบียนขอใช้แรงงาน แต่ก็ไม่คึกคักตามเป้าที่คาดไว้ ขณะที่ด่านอำเภอแม่สอด มีแรงงานสัญชาติเมียนมาร์ทยอยกลับประเทศต่อเนื่อง โดยตลอด 1 เดือนมีแรงงานกลับประเทศแล้วกว่า 40,000 คน

แตกต่างจาก จ.ระนอง ที่นี่มีนายจ้างและแรงงานต่างด้าว มาลงทะเบียนคึกคัก ตั้งแต่เริ่มเปิดศูนย์ ผ่านไปไม่ถึงชั่วโมง มีผู้มาลงทะเบียนแล้วเกือบ 300 คน แต่นายจ้างหลายคนก็ยังติดปัญหานำเอกสารหลักฐานมาไม่ครบเช่นกัน


สำหรับการเปิดศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ 101 แห่งทั่วประเทศ กระทรวงแรงงานจัดเตรียมไว้ให้จังหวัดละ 1 แห่ง หากพื้นที่ใดมีจำนวนแรงงานต่างด้าวมากเป็นพิเศษจะตั้งศูนย์เพิ่มให้เช่นที่กรุงเทพฯ มีการตั้งศูนย์ 11 แห่ง ชลบุรีมีมากถึง 4 แห่ง รองลงมาที่มี 2 แห่ง เช่น จ.ตาก ปทุมธานี ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสุราษฎร์ธานี 

ส่วนแรงงานต่างด้าวที่มีกระจายอยู่ในไทย ข้อมูลในเดือนพฤษภาคมของกรมการจัดหางาน พบว่า 5 จังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวมากที่สุด คือ กรุงเทพฯ 243,982 คน ปทุมธานี 175,612 คน  สมุทรสาคร 151,727 คน นนทบุรี 82,253 และนครปฐม 79,737 คน 

ขณะที่ตัวเลขแรงงานต่างด้าวทุกสัญชาติ ถ้าแยกเป็นพื้นที่ เฉพาะที่กรุงเทพฯ มีแรงงานทำงานมากถึง 243,982 คน ภูมิภาค 1,237,553 คน รวมทั้งประเทศประมาณ 1,480,000 คน 

ส่วนยอดลงทะเบียนการทำงานของคนต่างด้าววันแรก ตรวจสอบเมื่อเวลา 18.00 น. พบว่ามีนายจ้างมายื่นเอกสารขอใช้แรงงาน 10,507 คน คิดเป็นจำนวนแรงงานต่างด้าว 31,354 คน มากที่สุดคือแรงงานเมียนมาร์ 20,006 คน รองลงมาคือกัมพูชา 7,044 คน และลาว 4,302 คน ตัวเลขนี้ถือว่าเกินเป้าหมายที่กระทรวงแรงงานตั้งไว้ว่าจะมีแรงงานใต้ดินเข้าสู่ระบบเฉลี่ยวันละ 15,000 คน ทั้งนี้การผ่อนผันเปิดลงทะเบียนการทำงานของคนต่างด้าวจะมีไปจนถึงวันที่ 7 สิงหาคม. – สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง