วงสัมมนานักกฎหมายไทย 4.0 จี้มหาวิทยาลัยปรับหลักสูตร

กทม. 22 ก.ค.-สมาคมนิติศาสตร์ มธ. จัดสัมมนา
‘นักกฎหมายไทย
4.0’ คณบดีนิติศาสตร์ ม.สยาม
ชี้มหาวิทยาลัยตั้งปรับตัว-แต่ห้ามลืมจรรยาบรรณ
ผู้พิพากษาเผยศาลยุติธรรมนำร่องใช้ระบบ
e-Court แล้ว-ฟ้องผ่านเน็ตได้
เล็งสืบพยานผ่านจอภาพ-เก็บสำนวนในระบบดิจิตอล
อาจารย์นิติฯมธ.ชี้ต้องวางระบบป้องกันสูงกันถูกแฮ็ก
ปรับหลักสูตรใหม่รองรับดิจิตอล-ผลักดัน นศ.ฝึกงาน
 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2560 ที่ห้องประชุมจี๊ด เศรษฐบุตร
คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์ สมาคมนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี
2560 สมัยที่ 21 และงานเสวนาเรื่อง ‘นักกฎหมายไทย 4.0 โดยมี ผศ.ดร.สมหมาย
จันทร์เรือง คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.สยาม นายธนารักษ์ เนาวรัตน์
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา นายสัตยะพล สัจจเดชะ
อาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นผู้ร่วมเสวนา มี รศ.ศิริศักดิ์
ศุภมนตรี เป็นผู้ดำเนินรายการ


นายสมัคร เชาวภานันท์ นายกสมาคมนิติศาสตร์
ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า ต่อไปคนเรียนนิติศาสตร์ อาจตกงานกันเยอะ
โดยเฉพาะตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมาย เพราะอนาคตดิจิตอลจะเข้ามามีบทบาทด้านกฎหมาย
ในอินเทอร์เน็ตจะบันทึกรายละเอียดแต่ละคดีไว้ ต่อไปเวลาลูกความมีปัญหาอะไร
จะไม่มาปรึกษาที่ปรึกษากฎหมาย แต่เสิร์ชดูในอินเทอร์เน็ตเลยว่า มีปัญหาอย่างนี้ รู้คำตอบทันทีว่ามีปัญหาอะไร
อย่างไรก็ดีวิธีพิจารณาในศาลต้องใช้ทนายอยู่
ปัจจุบันศาลแพ่งใต้นำระบบดิจิตอลมาใช้ในการยื่นคำฟ้อง และแจ้งผลหมายเข้ามาช่วยแล้ว
ทนายไม่ต้องไปที่ศาลอีกต่อไป อยู่สำนักงานก็สามารถส่งข้อมูลไปได้
ตรงนี้สำคัญต้องเรียนรู้โดยเฉพาะทนาย หรือที่ปรึกษากฎหมาย


ผศ.ดร.สมหมาย คณบดีนิติศาสตร์ ม.สยาม กล่าวว่า
เรื่องนี้สำคัญเพราะนักกฎหมายไทยยุค
4.0 นอกเหนือจากเรื่องกฎหมายแล้ว
ต้องรู้เรื่องเทคโนโลยี และเรื่องภาษาต่างประเทศ พร้อมกับต้องคิดปรับปรุงอะไรใหม่
ๆ ให้ทันเหตุการณ์ นอกจากนี้สถาบันการศึกษา
ต้องรับทราบว่าเทรนด์ปัจจุบันตอนนี้ไปทางไหน จำเป็นต้องปรับเรื่องหลักสูตร อาจารย์
เพื่อผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน ขณะนี้ประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาทั้งหมด
74
แห่งที่เปิดสอนวิชาเกี่ยวกับนิติศาสตร์ ถ้าไม่ปรับตัวอาจเกิดปัญหาทางการแข่งขัน
เท่าที่ทราบตอนนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ม.ธรรมศาสตร์ ปรับตัวไปพอสมควรแล้ว

ผศ.ดร.สมหมาย กล่าวอีกว่า
การปรับตัวของสถาบันการศึกษา และวิชานิติศาสตร์ คือ การคิดนอกกรอบ
นำหลักสูตรไปใช้ในเชิงธุรกิจ หรือด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น แต่คำถามจากผู้ปกครองนิสิตนักศึกษาปัจจุบันคือ
ถ้าเรียนวิชานี้แล้วจะได้เป็นอัยการ ได้เป็นผู้พิพากษาหรือไม่
ตรงนี้อาจารย์ต้องมีความกล้าหาญบอกว่า การเรียนนิติศาสตร์ไม่ได้มีทางเลือกแค่นี้
แต่มีหลักสูตรใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมด้วย เช่น
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอากร นักกฏหมายเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี
หรือที่ปรึกษากฎหมายก็ได้ ถ้าสถาบันการศึกษาไทยปรับตัวเรื่องนี้ได้
นักกฎหมายไทยยุค
4.0 พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้แน่นอน

นอกจากจะปรับตัวให้เป็นไปตามยุค 4.0 แล้ว เรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพของนักกฎหมายยังจำเป็นต้องมีอยู่ด้วย
และจะทำอย่างไรให้สถาบันการศึกษาสร้างนิสิตนักศึกษาให้มีคุณธรรมอย่างแท้จริง
เพราะถ้าขาดสิ่งนี้ไป เป็นภัยต่อสังคมมาก ๆ” ผศ.ดร.สมหมาย กล่าว

นายธนารักษ์ ผู้พิพากษา กล่าวว่า
นักกฎหมายกับนักไอทีเหมือนอยู่กันคนละโลก แต่ในเมื่อเป็นยุค
4.0 ที่เทคโนโลยีจะมาแทนทุกสิ่ง จึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในเรื่องนี้
ก่อนหน้านี้ตนทราบข้อมูลว่าไทยถูกจัดอันดับการลงทุนโดยธนาคารโลก
มีข้อหนึ่งที่ใช้เป็นหลักเกณฑ์คือ
ศาลได้นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คู่ความในการเข้าถึงความยุติธรรมหรือไม่
ซึ่งตรงนี้ไทยได้ศูนย์คะแนนมาหลายปีมาก เพราะการพิจารณาคดีของศาล และทางธุรการ
แทบไม่ได้นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาช่วยในการทำงาน
และการพัฒนาระบบดิจิตอลก็ต่างคนต่างทำ และระเบียบปฏิบัติของศาลไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ
ค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร จึงเป็นโจทย์ยากในการนำเทคโนโลยีมาใช้

นายธนารักษ์ กล่าวอีกว่า
ภายหลังตนได้เป็นผู้พิพากษา และเป็นหนึ่งในคณะทำงานของนายวีระพล ตั้งสุวรรณ
ประธานศาลฎีกาคนปัจจุบัน ได้นำเทคโนโลยีของศาลต่างประเทศที่เคยไปเรียนรู้มาปรับใช้ภายในไทย
เพื่อให้ศาลไทยเป็น
e-Court เหมือนต่างประเทศได้หรือไม่
เบื้องต้นขณะนี้ไทยมีระบบยื่นฟ้อง ประทับรับฟ้อง การยืนยันตัวตน
และการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว และกำลังรวบรวมฐานข้อมูล (
Big Data) เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าค้นข้อมูลคดี หรือดำเนินกระบวนการฟ้องได้ง่ายมากยิ่งขึ้นด้วย
เบื้องต้นศาลยุติธรรมนำร่องระบบนี้อย่างเป็นทางการแล้ว
2 ศาล
ได้แก่ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และเตรียมขยายผลไปยังศาลยุติธรรมต่าง ๆ
ทั่วประเทศ

สาเหตุที่นำร่องที่ 2 ศาลแพ่งดังกล่าวก่อน
เนื่องจากคดีเกี่ยวกับธนาคาร ต้องการสร้างความเชื่อมั่นว่า
ขนาดธนาคารที่ต้องใช้เอกสารสำคัญทางคดี ยังกล้าดำเนินการผ่านทางระบบ
e-Court
นั่นแสดงถึงความเชื่อมั่นว่า
ระบบนี้ปลอดภัยและไม่มีข้อมูลสำคัญหลุดออกไปภายนอกแน่นอน” นายธนารักษ์ กล่าว

นายธนารักษ์ กล่าวว่า ระบบ e-Court จะเป็นระบบที่มองผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายศาล และฝ่ายคู่ความ
โดยเฉพาะฝ่ายคู่ความ หรือทนายความจะได้ประโยชน์ของระบบนี้มาก
ทั้งนี้ในการกำกับดูแล
e-Court จะมีสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (
DE) เข้ามาช่วยดูว่า
ระบบตรงไหนติดขัดอะไร ตรงไหนควรปรับปรุงอะไร
และดำเนินการให้สอดคล้องกับระเบียบหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อออกเป็นข้อกำหนดของศาลภายหลังได้

นายธนารักษ์ กล่าวด้วยว่า
ปัจจุบันกฎหมายไทยได้ปรับปรุงให้ศาลสามารถสืบพยาน
หรือไต่สวนทางอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว
โดยเฉพาะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์
ที่เปิดให้มีการสืบพยานทางระบบดิจิตอลได้
และจัดทำสารบบคำพิพากษาสำนวนเป็นอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการยื่นฟ้อง
และการจัดเก็บสำนวนสามารถทำได้ในระบบนี้ทั้งหมด โดยศาลต้องออกเป็นข้อกำหนด
 

ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา
กล่าวว่า สำหรับโร้ดแม็พของศาลยุติธรรมที่วางไว้
ต่อไปคือจะเพิ่มระบบอิเล็กทรอนิกส์ในห้องพิจารณาคดี โดยมีระบบ
Big Data เข้าไปช่วย เช่น ผู้พิพากษาไม่ต้องขนสำนวนมาเป็นแฟ้ม แต่ถือมาแค่แฟรชไดรฟ์
หรือแล็ปท็อปมาเครื่องเดียวจบ หรือการบันทึกการพิจารณาคดี
จากเดิมใช้กล้องตั้งไว้เฉย ๆ เวลาจะดูซ้ำต้องกรอไปมา
แต่คราวนี้จะบันทึกแบบแยกระบบภาพ และเสียง มีการบันทึกแบบหลายมิติ
หากอยากจะดูข้อมูลตรงพยานปากนี้ สามารถกดเข้าไปได้เลย ไม่ต้องกรอไปมาเหมือนเดิม
เป็นต้น นอกจากนี้ยังจะเพิ่มห้องพิจารณาคดีแบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ด้วย
ใช้วิธีสืบพยานทางไกลผ่านจอภาพ ทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด
รวมถึงระบบการบริหารจัดการคดีที่จะเป็นไฟล์ดิจิตอลทั้งหมด สำหรับความคืบหน้าของระบบใหม่นี้
อยู่ระหว่างเขียนขอบเขตร่างของงาน (
TOR) และหาผู้รับจ้างมาดำเนินการ

คนใดเป็นเจ้าของข้อมูล คนนั้นเป็นผู้ครองโลก
ศาลมีข้อมูลเยอะ แต่ไม่เคยเอาข้อมูลมารวมกันเป็น
Big Data แต่ตอนนี้กำลังดำเนินการระบบนี้อยู่
ประธานศาลฎีกาคนปัจจุบันเคยส่งคนไปดูงานที่เมืองจีน เพราะตอนแรกจีนล้าหลังมาก
แต่ตอนหลังเขาทำ
Big Data ได้เข้มแข็งมาก
ดังนั้นของไทยต่อไปจะบูรณาการเชื่อมโยงระบบข้อมูลทั้งหมดไว้ด้วยกัน” นายธนารักษ์
กล่าว

นายสัตยะพล อาจารย์นิติฯ มธ.กล่าวว่า
ปัจจุบันโลกหมุนเร็วมาก ยุคทนายความที่ใส่ครุยเก่า ๆ มีความเก๋า มันไม่ใช่อีกต่อไป
แต่ตอนนี้เป็นนยุค
4.0 นักกฎหมายถูกกำหนดด้วยเทคโนโลยี
ศาลยุติธรรมมีการใช้ระบบ
e-Court หรือระบบ e-Filling แล้ว อย่างไรก็ดีต้องถามกลับไปยังศาลว่า พร้อมกับระบบนี้จริงหรือไม่
เพราะสิ่งที่ต้องระวังคือ
Cyber Security ศาลจะทำอย่างไรที่จะเก็บรักษาข้อมูลต่าง
ๆ เหล่านี้ไว้อย่างเป็นความลับ และไม่สุ่มเสี่ยงถูกแฮ็กข้อมูล
ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของนักกฎหมาย
4.0 ต้องระวังเรื่องนี้เป็นหลักก่อน
นอกจากนี้นักกฎหมายต้องทำความเข้าใจ ศึกษาข้อกฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยี
และระบบดิจิตอลให้มากขึ้น
เชื่อว่าในอนาคตจะมีกรณีผู้เสียหายที่เกิดจากการแฮ็กข้อมูลเพิ่มขึ้น
ถ้านักกฎหมายศึกษาและมีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้แบบลึก และช่วยเยียวยา หาตัวผู้กระทำผิดให้กับผู้เสียหายได้
คงไม่ตกงาน
 

นายสัตยะพล กล่าวอีกว่า
นักกฎหมายต้องปรับตัวนอกเหนือจากความรู้พื้นฐานแล้ว
ต้องพัฒนาไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้วย นั่นคือเทรนด์ในโลกอนาคต หมดยุคนักกฎหมาย
หรือที่ปรึกษากฎหมายแบบธรรมดาแล้ว ที่ปรึกษากฏหมายหลังจากนี้จะต้องลึกซึ้ง
ไม่ใช่ให้ความเห็นแบบทั่วไป ต้องเป็นเหมือนผู้เข้ามากำหนด
หรือช่วยคิดแผนงานด้านกฎหมายด้วย ต้องลึกมากกว่าการสืบค้นที่มีในอินเทอร์เน็ต
ต้องเรียนรู้นอกเหนือตำรากฎหมาย ต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจ
การเมือง และตอบโจทย์ลูกความให้ดีที่สุด
ต่อไปจะทำงานประเภทตั้งสำนักงานนั่งให้คำปรึกษาอยู่ออฟฟิศ
หรือไปลุยงานระหว่างประเทศได้
เพราะเทรนด์ปัจจุบันนิสิตนักศึกษาเริ่มสนใจอยากเป็นที่ปรึกษากฎหมายมากขึ้น
นอกเหนือจากการเป็นผู้พิพากษา หรืออัยการ
 

นายสัตยะพล กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้สถาบันต่าง ๆ
ที่สอนหลักสูตรนิติศาสตร์ ควรเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาหลัก
เพราะสำคัญมากกับโลกในปัจจุบัน และอนาคต
รวมถึงต้องสัมมนาหลักสูตรตัวเองเพื่อรองรับระบบดิจิตอลด้วย จะใช้ระบบเก่า ๆ
หรือวิชาเดิม ๆ ไม่ได้แล้ว ที่สำคัญควรผลักวิชาสำคัญ ๆ
ที่จำเป็นกับการใช้ในวิชาชีพมาเป็นวิชาหลัก
และให้วิชาที่ไม่ได้ประเทืองสติอะไรมากนักเป็นวิชาเลือกแทน
ขณะเดียวกันควรให้ความสำคัญกับการฝึกงานของนิสิตนักศึกษา
โดยให้นิสิตนักศึกษาไปฝึกงานตามสำนักงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพมากขึ้น
โดยพัฒนามาเป็นวิชาที่มีหน่วยกิต ปัจจุบัน ม.ธรรมศาสตร์ เริ่มทำแบบนี้แล้ว
ปีการศึกษาหน้านักศึกษาปี
4 ต้องไปฝึกงาน
นับเป็นสิ่งที่ดีในการรองรับนิสิตนักศึกษาเพื่อให้เห็นกระบวนการทำงานของวงการกฏหมาย
รวมถึงควรส่งเสริมให้พบกับศิษย์เก่า หรือคนที่อยู่ในวิชาชีพ เพื่อมาเล่าประสบการณ์ความรู้ความเข้าใจของงาน
เปิดกว้างความคิดว่า ไม่ใช่มีแต่อาชีพผู้พิพากษา หรืออัยการเพียงอย่างเดียว
.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“ลิณธิภรณ์” แจงปมสะกดคำผิด ยอมรับผิดพลาดพร้อมแก้ไข

กระทรวงวัฒนธรรม 4 ก.ค.- “ลิณธิภรณ์” ยอมรับดรามาใช้ภาษาไทยสะกดคำผิด พร้อมแก้ไขปรับปรุงตัว รับปากจะไม่ให้เกิดขึ้นอีก บอก บางครั้งรีบพิมพ์ไม่ได้ตรวจทาน ทำเกิดผลเสียทุกวันนี้ แจงมีปัญหาสุขภาพ อาจทำให้ออกเสียงควบกล้ำไม่ได้ น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ถึงดรามาเรื่องการใช้ภาษาไทยในโซเชียลมีเดีย ว่า ตนขอยอมรับอย่างซื่อตรง ว่าบางครั้งในการสะกดคำของตนเองก็มีความผิดพลาด ซึ่งบางครั้งใช้การพิมพ์ด้วยเสียงผ่านโทรศัพท์มือถือ และได้โพสต์ข้อความไปแล้ว ก่อนจะมารู้ตัวอีกทีก็ผ่านไป 2-3 ชั่วโมง มันเป็นความผิดพลาด อันนี้ตนยอมรับด้วยความจริงใจ และวันนี้ตนก็เข้าใจดีว่าเมื่อมานั่งตำแหน่งตรงนี้ สิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือต้องปรับปรุง และคิดว่าหลังจากนี้ความผิดพลาดเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะตนก็อยากเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน ของประเทศเหมือนกัน รวมถึงอีกสิ่งที่ตนอยากจะบอกคือการออกเสียงควบกล้ำ ซึ่งเป็นผลกระทบ จากปัญหาสุขภาพ แต่ส่วนหนึ่งตนก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด น.ส.ลิณธิภรณ์ กล่าวว่า วันนี้ตนเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในภาพนโยบายใหญ่ คงต้องขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยใน รายละเอียดที่ชัดเจน และจะเข้ากระทรวงพร้อมกันในวันที่ 8 กรกฎาคม สำหรับตนหากใครที่เคยติดตาม ก็เคยเป็นคนหนึ่งที่ พูดเรื่องการศึกษาในส่วนของพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่เป็นโฆษกพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะเรื่องการลดค่าสอบทีแคส (TCAS) รวมถึงเรื่องการทำโครงการ ด้านสุขภาพภาวะจิต และอาจจะเป็นโครงการหนึ่งที่ตนจะสานต่อ […]

มอบ “จิราพร” เข้าร่วมประชุมผู้นำ BRICS ที่บราซิล

ทำเนียบ 3 ก.ค.-มอบ “จิราพร” เข้าร่วมประชุมผู้นำ BRICS ครั้งที่ 17 ที่บราซิล 6-7 ก.ค.นี้ นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2568 ร่วมกับผู้นำจาก 10 ประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS และประเทศหุ้นส่วนจากหลากหลายประเทศ ที่นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล โดยไทยเข้าร่วมในฐานะประเทศหุ้นส่วนของกลุ่ม BRICS (Partner Country) สำหรับการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS จะจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เสริมสร้างความร่วมมือโลกใต้เพื่อการสร้างธรรมาภิบาลที่ครอบคลุมและยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยบราซิลในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ปีนี้ ให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก 6 ด้าน ได้แก่ (1) สาธารณสุข (2) การค้า การลงทุน และการเงิน (3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (4) ธรรมาภิบาลของปัญญาประดิษฐ์ […]

Hun Sen, at event marking ruling party's 74th founding anniversary

ฮุน เซน เรียกร้องปั๊ม ปตท. งดนำเข้าน้ำมันจากไทย

พนมเปญ 3 ก.ค.- นายฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ยังคงเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเรียกร้องให้เจ้าของปั๊ม ปตท.เลิกนำเข้าน้ำมันจากไทย และหันไปนำเข้าจากประเทศอื่นแทน สื่อของกัมพูชารายงานว่า นายฮุน เซน พูดถึงเรื่องนี้ในระหว่างการประชุมกับครูและนักเรียนที่ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมในจังหวัดไพรแวงในวันนี้ เรียกร้องให้เจ้าของปั๊มน้ำมัน ปตท.ทุกแห่งในกัมพูชาเลิกนำเข้าน้ำมันจากไทย และหันไปนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่น ๆ แทน ไม่ว่าจะเป็นจากเวียดนาม  มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อปั๊ม แม้ว่า ปตท.จะเป็นรัฐวิสาหกิจของไทยก็ตาม นอกจากนี้นายฮุน เซนยังพูดถึงเรื่องที่ไทยเคยขู่ว่าจะตัดไฟฟ้า ตัดอินเทอร์เน็ต ห้ามขายเชื้อเพลิง และอื่นๆ ให้กัมพูชาด้วยว่า เมื่อไทยขู่มากัมพูชาก็ตอบโต้ทันที กัมพูชาต้องพึ่งพาตนเองให้ได้เพื่อรับมือกับภัยคุกคามในอนาคตเหมือนกับที่กำลังเผชิญจากไทยในเวลานี้ แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากไทย แต่กัมพูชาก็ได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ของกัมพูชา ประธานวุฒิสภากัมพูชาเน้นย้ำว่า มาตรการทั้งหมดที่กัมพูชาได้ดำเนินไปนั้นเป็นการตอบโต้โดยตรงกับภัยคุกคามจากฝ่ายไทย รวมทั้งการที่ไทยปิดด่านพรมแดนแต่เพียงฝ่ายเดียว เขาแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่า การเจรจากับไทยจะเริ่มขึ้นได้ ต่อเมื่อฝ่ายไทยจะต้องยอมเปิดด่านทุกจุดอย่างเต็มรูปแบบเหมือนที่เคยทำก่อนวันที่ 7 มิถุนายนแล้วเท่านั้น.-816(814).-สำนักข่าวไทย

เปิด 7 จุดยืน “ปชน.” ทางออกประเทศหาก “แพทองธาร” พ้นเก้าอี้

กรุงเทพฯ 4 ก.ค. – พรรคประชาชนโพสต์เฟซบุ๊กแสดง 7 จุดยืน หาก “แพทองธาร” พ้นตำแหน่ง เปิดเงื่อนไขโหวตนายกฯ คนใหม่ พรรคประชาชนโพสต์เฟซบุ๊กแสดง 7 จุดยืน หาก “นายกฯ แพทองธาร” พ้นจากตำแหน่ง เพื่อนำพาประเทศไปสู่ทางออกที่จะเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับประชาชนทุกคน ดังนี้ 1.สิ่งที่ประเทศต้องการมากที่สุด คือรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ มีความชอบธรรม และสามารถตั้งทีมบริหารจากความรู้ความสามารถ ไม่ใช่จากการต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง2.รัฐบาลที่จะมีคุณสมบัติดังกล่าวจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากสภาชุดปัจจุบัน ทางออกสำหรับประเทศจึงเป็นการจัดให้มี “การเลือกตั้งใหม่” โดยเร็ว3.รักษาการนายกฯ ควรประกาศให้ชัดเจนว่าจะใช้อำนาจที่ตนเองมี ในการเดินหน้าสู่การยุบสภา เพื่อคืนอำนาจให้กับประชาชนผ่านคูหาเลือกตั้ง4.หากรักษาการนายกฯ ไม่ทำ และมีเหตุใดที่ทำให้นายกรัฐมนตรีแพทองธาร พ้นจากตำแหน่ง กระบวนการในการเลือกนายกฯ คนใหม่ จะต้องนำไปสู่การได้มาซึ่งนายกฯ ที่พร้อมเดินหน้าสู่การยุบสภา5.เพื่อให้ประเทศไม่ถูกบีบไปสู่ทางตันหรือการใช้อำนาจนอกครรลองประชาธิปไตย เราพร้อมจะพิจารณาลงมติให้กับผู้เสนอตัวเป็นนายกฯ คนใหม่คนใดก็ตาม ที่ยอมรับ “เงื่อนไข” ในการเป็นรัฐบาลชั่วคราว โดยทางพรรคประชาชนจะไม่เข้าร่วมรัฐบาลและจะไม่มีใครจากพรรคประชาชนไปเป็นรัฐมนตรี 6.“เงื่อนไข” ในการเดินหน้าสู่การยุบสภา สำหรับนายกฯ คนใหม่ จะต้องประกอบไปด้วยอย่างน้อย6.1 การประกาศเส้นตายว่าจะยุบสภาภายในสิ้นปี6.2 การยืนยันภารกิจเฉพาะหน้าที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว (เช่น การดำเนินการให้มีการจัดประชามติพร้อมกับการเลือกตั้ง เพื่อถามประชาชนเรื่องการมี […]

ข่าวแนะนำ

ทลายบ่อนกลางกรุง พบเจ้ามือเป็นชาวกัมพูชา

กทม. 4 ก.ค.-“ภูมิธรรม” เอาจริง สั่งจัดระเบียบสังคมทันที หลังรับตำแหน่ง มท.1 ประเดิมงานแรก สั่งการชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง บุกทลายบ่อนพนันกลางกรุง หลังมีประชาชนร้องเรียน พบเจ้ามือเป็นชาวกัมพูชา วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 เวลา 15.30 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย สั่งการให้นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง เปิดปฏิบัติการ “ปิดบ่อนสะพานใหม่” จับกุมบ่อนการพนันกลางกรุง โดยชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง พร้อมด้วย นายรณรงค์ ทิพย์ศิริ รองอธิบดีกรมการปกครอง นายเรืองลักษณ์ เรืองยังมี ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ นายอิสรา เจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน และนายศักดิ์ชัย โรจนรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง สนธิกำลังพนักงานฝ่ายปกครอง พร้อมด้วยสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ทลายบ่อนการพนันขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนสะพานใหม่ เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร […]

ทบ.ยันไม่รุนแรง เหตุทหารไทยเจอทหารเขมร

กองทัพบก 4 ก.ค.-ทบ.ยันไม่รุนแรง เหตุทหารไทยเจอทหารเขมร หลังลาดตระเวนพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บ่อยขึ้น จากกรณีเฟซบุ๊กเพจ “Army Military Force” โพสต์คลิปทหารพรานของไทยปะทะคารมกับทหารกัมพูชา ที่กำลังพยายามรุกลํ้าเข้ามาในดินแดนไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีอาวุธปืนครบมือนั้น พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองกำลังสุรนารีว่า ชุดลาดตระเวนของกองร้อยทหารพรานที่ 2304 ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ได้ทำการลาดตระเวนพื้นที่ ตรวจพบความเคลื่อนไหวของกำลังทหารกัมพูชา ในบริเวณจุดชมวิวภูผี ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดน ใกล้บริเวณปราสาทโดนตวล และเขาพระวิหาร และบริเวณเส้นทางลาดตระเวนใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ฝ่ายไทยมีการลาดตระเวนตรวจตราอย่างต่อเนื่อง จึงได้เข้าทักทายเจรจากัน และแยกย้ายกันไป ไม่มีเหตุความรุนแรงใด พล.ต.วินธัย กล่าวต่อว่า ในช่วงที่ผ่านมา หลายจุดพบกำลังทหารกัมพูชามาลาดตระเวนในพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บ่อยขึ้น และบางครั้งมีเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับหน่วยของกัมพูชาร่วมลงพื้นที่ด้วยตนเอง เมื่อมาพบเจอกับฝ่ายทหารไทยก็จะมีพูดทักทายกัน และบางครั้งก็อาจจะมีแสดงออกทางอารมณ์ในลักษณะเหมือนถกเถียงกันบ้าง แต่ทั้งหมดไม่ถึงขั้นตั้งใจจะใช้ความรุนแรงต่อกัน เพราะต่างฝ่ายต่างระมัดระวังไม่ให้มีการละเมิดข้อตกลง และต้องยึดมั่นในแนวทางสันติวิธี ตามแนวทางผู้บังคับบัญชา.-313.-สำนักข่าวไทย

นักธรณีวิทยา​ย้ำไม่มีสัญญาณ​สึนามิ​เข้าไทย​ ไม่ต้องตระหนก

กรุงเทพฯ​ 4 ก.ค. – ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยา ย้ำขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณทางวิทยาศาสตร์​บ่งชี้ว่า​จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่อาจทำให้เกิดคลื่นสึนามิซัดเข้าสู่ประเทศไทย​ จากกรณีเกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่องบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์และสุมาตรา ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก แนะติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในช่วง​ 1-2​ สัปดาห์ที่ผ่านมา บริเวณใกล้หมู่เกาะนิโคบาร์และสุมาตรา เป็นการเลื่อนตัวในแนวราบ ไม่ใช่แนวดิ่ง จึงไม่เข้าลักษณะที่จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้ ขณะเดียวกัน จากการติดตามข้อมูลยังไม่พบสัญญาณทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่บ่งชี้ว่า​ จะมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในแนวดิ่ง ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเกิดคลื่นสึนามิ ศ.ดร.สันติ กล่าว​ว่า​ ก่อนหน้านี้​เรารู้​จักแนวมุดตัวของเปลือก​โลก​บริเวณ​หมู่เกาะ​นิโคบาร์​-สุมาตรา ที่หากมีการเคลื่อนตัวจะมีโอกาส​เกิดสึนามิ​ แต่ล่าสุด​พบ​ว่า​ มีแนวภูเขาไฟ​ใต้น้ำ​บริเวณ​หมู่เกาะ​สุมาตรา​ที่​ไม่เคยปะทุมาก่อนและบอกไม่ได้​ว่าจะปะทุ​เมื่อ​ใด ซึ่งนักธรณีวิทยา​และหน่วยงาน​ด้านภัยพิบัติ​จะต้องติดตาม​อย่างต่อเนื่อง​ต่อไป​ ทั้งนี้ แม้ในอดีตจะเคยเกิดสึนามิจากรอยเลื่อนสุมาตราที่เกิดการมุดตัวของเปลือกโลก​ แต่ย้ำว่า​ เหตุการณ์ปัจจุบันไม่มีตัวชี้วัดในลักษณะเดียวกัน จึงขอให้ประชาชนอย่ากังวลเกินควร อย่างไรก็ตาม การตื่นรู้ต่อภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น แอปพลิเคชันกรมอุตุนิยมวิทยา การติดตามข้อมูลจากภาครัฐ และระบบแจ้งเตือนภัยในท้องถิ่นเช่น Cell Broadcast​ ที่​ภาครัฐ​เร่งดำเนินการ​สำหรับ​แจ้ง​เตือน​ภัยพิบัติ​ต่าง​ ๆ ให้​ครอบคลุม​ทั่วประเทศ​ ทั้งนี้ ​การเตรียมความพร้อมคือเรื่องสำคัญ รัฐเองก็พยายามส่งสัญญาณให้ถึงประชาชนโดยเร็ว […]

“แพทองธาร” หารือผู้บริหาร ก.วัฒนธรรม

ก.วัฒนธรรม 4 ก.ค.-“แพทองธาร” หารือผู้บริหาร ก.วัฒนธรรม แจงข่าวปลอมไทยคืนวัตถุโบราณ 20 รายการ ให้กัมพูชาไม่จริง ชี้ทำตั้งแต่ “รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์” พร้อมสั่งเบรกจัดสรรงบฯ คืนวัตถุโบราณกัมพูชา จ่อแจ้งความคนปล่อยเฟกนิวส์ ปลุกปั่น “กลุ่มปราสาทตาเมือน” ยันอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยไทย ช่วงบ่ายวันนี้ (4 ก.ค.) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม โดย น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นการประชุมครั้งแรก มีข้อที่อยากจะฝากเอาไว้ และอยากจะให้ช่วยกันผลักดัน รวมถึงอยากจะอัปเดตข้อมูลให้ฟัง ซึ่งวันนี้ตนได้ทำการบ้านมาเล็กน้อย และรู้สึกดีใจที่จะได้ฟังจากทุกคนว่า แต่ละหน่วยงานแต่ละฝ่ายทำอะไรกันอยู่บ้าง และในกระทรวงฯ มีอะไรที่อยากให้ดำเนินการเพิ่มเติมบ้าง ประเด็นแรก อยากจะขอชี้แจงเรื่องข่าวปลอม เรื่องการส่งคืนวัตถุโบราณ จำนวน 20 รายการ ให้กับประเทศกัมพูชา ตนขอยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะการคืนวัตถุโบราณให้กับประเทศกัมพูชา มีมาตั้งแต่สมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งประเทศไทยได้คืนไปแล้ว […]