ม.รัฐ-เอกชน หนุนความร่วมมือการศึกษาไทย-ยูนนาน

สาธารณรัฐประชาชนจีน 1 ก.ค.-มหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชน  เห็นตรงกัน  ความร่วมมือการศึกษาของมหาวิทยาลัยไทยและยูนนานมาถูกทาง เพื่อขับเคลื่อนไปสู่นโยบายประเทศไทย 4.0 และหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน 


ผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์  รองอธิการบดีฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า จากการเข้าร่วมงานประชุมหารือความร่วมมือด้านการศึกษาไทย-ยูนนาน ประจำปี 2560 ณ นครคุนหมิง  ระหว่างวันที่ 27-28 มิ.ย.ที่ผ่านมาพบว่า นโยบายของสองประเทศมีความสอดคล้องกัน   โดยจีนมี One Belt ,One Road หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ส่วนไทยมี Thailand 4.0 สามารถนำมาสู่ความร่วมมือกันได้ 


ทั้งนี้ ในที่ประชุมตนได้นำเสนอความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งหลายเรื่องสามารถทำร่วมกันได้ และไม่จำกัดเฉพาะเรื่องนี้ในด้านสังคมศาสตร์ หรือด้านอื่นก็สามารถร่วมมือกันได้ โดยอาจเพิ่มความร่วมมือระดับอาจารย์ การวิจัย หรือระดับสถาบันที่เข้มแข็งขึ้น  ซึ่งบางแห่งก็มีอยู่แล้วแต่ขอเพิ่มจำนวนนักศึกษา การแลกเปลี่ยนอาจารย์ที่มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ก็แล้วแต่นโยบายของแต่ละมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามเชื่อว่าน่าจะขยายความสัมพันธ์ได้อีกมาก เพราะเดิมก็รู้จักกันไม่กี่มหาวิทยาลัย แต่ครั้งนี้ได้พบเจอมากขึ้น ทำให้เห็นโอกาสและช่องทางที่สามารถพัฒนาเพิ่มขึ้นได้


“ได้เจอเกือบหมด 30กว่าที่ ทุกที่รู้จักมหาวิทยาลัยไทยอย่างดีหลายที่เสนอให้ความช่วยเหลือ หลายที่ต้องการความช่วยเหลือ คิดว่าเป็นการประชุมที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย งานนี้ถ้าไม่ได้สถานกงสุลใหญ่ก็อาจลำบาเพราะปกติก็เข้ามาแต่ครั้งหนึ่งได้เจอเพียง 2-3 หรือ 4-5 แต่ครั้งนี้มาทั้งมณฑลเลย เป็นโอกาสที่ดีมาก” ผศ.ดร.ภัทร กล่าว 

ด้าน ผศ.ดร.ลักคณา วรศิลป์ชัย รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  กล่าวขอบคุณสถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กรมศึกษาธิการมณฑลยูนนาน ที่จัดงานครั้งนี้ได้ดีมากและเหมาะสมกับทั้งประเทศไทย 4.0 และหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โดยหัวใจสำคัญของประเทศไทย 4.0 คือต้องการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีมูลค่า สร้างคนให้เข้าไปอยู่ในโลกยุคที่สามารถสร้างมูลค่าให้ประเทศได้ ส่วนจีนก็มีความจริงจังในการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ในการเชื่อมเส้นทางการค้า เศรษฐกิจต่างๆ จากประเทศตนเองผ่านไทยไปยังหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งจากสองส่วนนี้ สิ่งที่จะเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้นโยบายของสองประเทศเกิดความยั่งยืน คือเรื่องการผลิตคน เรื่องทรัพยากรมนุษย์ และระบบการศึกษาจะเป็นกลไก  ที่สำคัญมากในการผลิตทรัพยากรมนุษย์ให้ตอบโจทย์ในอนาคต

‘เชื่อว่าทุกมหาวิทยาลัยที่มาร่วมงานจะได้รับประโยชน์ เพราะได้เห็นความตื่นตัวที่เดินเข้ามาจับคู่กัน  หาพาร์ทเนอร์ที่สนใจเรื่องเดียวกัน เช่นแพทย์ก็สนใจแพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน วิจัยทางวิศวะ ก็เชื่อมโยงกัน ในส่วนมหาวิทยาลัยก็เน้นมากเรื่องการใช้ภาษาจีนที่ใช้สำหรับธุรกิจ สาขาการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งหลายพาร์ทเนอร์ก็สนใจร่วมมือในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาจีน การใช้ภาษาไทยและเกี่ยวกับการค้า  บริหารธุรกิจ’ ผศ.ดร.ลักคณา กล่าว .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่