fbpx

เทคโนโลยี VAR กับการชี้ขาดเกมฟุตบอล

กทม. 1 ก.ค.- เทคโนโลยีการตัดสินที่ฟีฟ่านำมาใช้ในศึกคอนเฟเดอเรชันส์ คัพ อย่าง Video Assistant Referee หรือ VAR พร้อมฟังทรรศนะจากกูรูฟุตบอลเมืองไทย


ก่อนหน้านี้ในวงการฟุตบอล มีการวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของทีมงานผู้ตัดสินในสนามที่ผิดพลาด หรือตามเกมไม่ทัน ไม่ว่าจะเป็นจังหวะล้ำหน้า, จังหวะฟาวล์ และการให้จุดโทษกับคู่แข่ง ที่มักก้ำกึ่งว่าควรจะเป็นจุดโทษหรือไม่ ซึ่งมีหลายกระแสเรียกร้องให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตัดสินเหมือนกับกีฬาชนิดอื่นๆ


คณะกรรมการบริหารสมาคมฟุตบอลนานาชาติ หรือ IFAB ไม่ได้นิ่งนอนใจ และจัดประชุมกันตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2016 นำมาซึ่งการใช้เทคโนโลยีภาพช้า หรือ Video Assistant Referee ชื่อย่อ VAR มาใช้ในการตัดสิน โดยเริ่มครั้งแรกในฟุตบอลระดับท้องถิ่นของสหรัฐ ต่อเนื่องมาจนถึงเกมกระชับมิตรระหว่างฝรั่งเศส และอิตาลี รวมถึงฟุตบอลเอลีก ออสเตรเลีย และเมเจอร์ลีก ของสหรัฐอเมริกา ก็เคยนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการตัดสินด้วยเช่นกัน

1 ปีต่อมาเทคโนโลยีนี้ก็เป็นที่พูดถึงทั่วโลก เมื่อสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือฟีฟ่า นำ VAR มาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลฟีฟ่า คอนเฟเดอเรชันส์ คัพ โดยผู้ตัดสินจะเป็นผู้ชี้ขาดในการเรียกดูวิดีโอ ซึ่งกรณีที่จะนำวิดีโอมาใช้ได้มี 4 กรณีคือ การทำประตูมีจังหวะทำฟาวล์รุนแรงเกิดขึ้นหรือไม่, การให้หรือไม่ให้จุดโทษ ต้องดูว่ามีการสัมผัสตัวเกิดขึ้น ตั้งใจทำฟาวล์ หรือผู้ที่ได้บอลพยายามพุ่งล้มหรือไม่, จังหวะเข้าฟาวล์รุนแรง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นใบแดงโดยตรง และการแจกใบเหลืองหรือใบแดงผิดคน ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง


ทั้งนี้ ในศึกคอนเฟเดอเรชันส์ คัพ รอบแรกที่ผ่านมา เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากแฟนบอลว่า การตัดสินแบบนี้ทำลายอรรถรสในการชม เพราะบางจังหวะที่ดูโปร่งใสอยู่แล้วแต่ผู้ตัดสินก็เลือกใช้ต่อหน้า

ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือ ทีมบุกต่อเกมขึ้นมาจนทำประตูได้ และฉลองกันเรียบร้อยแล้ว แต่ผู้ตัดสินกลับเรียกดู VAR และตัดสินไม่ให้เป็นประตู เหมือนที่เกิดขึ้นในเกมรอบแรกระหว่างแคเมอรูน กับ ชิลี ที่ผู้ตัดสินปฏิเสธที่จะให้ประตูกับเอดูอาร์โด วาร์กาส ในช่วงท้ายครึ่งแรก เนื่องจากมองว่าเป็นลูกล้ำหน้า

ส่วนอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในเกมระหว่างแคเมอรูนกับเยอรมนี ในจังหวะที่เออร์เนสต์ มาบูกา ไปทำฟาวล์ เอ็มเร ชาน จังหวะนี้ผู้ตัดสินวิลมาร์ โรลดาน เรียกขอดู VAR แต่กลับเดินมาแจกใบแดงให้ผิดคนคือ เซบาสเตียน ซิอานี ซึ่งจุดนี้ถือเป็นความผิดพลาดของตัวผู้ตัดสินเอง ก่อนที่เจ้าตัวจะขอไปดูวิดีโออีกครั้ง และแจกใบแดงให้กับ มาบูกา ในที่สุด

จากเหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ทางฟีฟ่าต้องประชุมกันอีกครั้ง โดยล่าสุด มัสซิโม บูซัคกา หัวหน้าทีมผู้ตัดสิน ยอมรับว่าเทคโนโลยี VAR ทำให้เกมเสียเวลาไปหลายนาที ซึ่งถือว่าเป็นข้อเสีย ขณะเดียวกัน บูซัคกา เปิดเผยเพิ่มเติมว่าอีกหนึ่งความเป็นไปได้คือการให้แฟนบอลฟังการสนทนาระหว่างผู้ตัดสินกับทีมงาน VAR เพื่อไม่ให้เกิดข้อกังขา

ด้าน “โค้ชง้วน” สุรชัย จตุรภัทรพงศ์ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย และผู้ฝึกสอนชาวไทย เห็นด้วยกับการใช้ VAR เข้ามาตัดสิน แต่ก็ยอมรับว่าการที่เกมต้องหยุดชะงักหลายช่วงทำให้เกมฟุตบอลขาดความไหลลื่น และขาดอรรถรส ทั้งนี้ ยังไม่มีการยืนยันว่า ฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย จะมีการนำ VAR มาใช้ในการตัดสินหรือไม่ ต้องรอฟีฟ่า ประชุมเพื่อหาข้อสรุปอีกครั้ง. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้