กทม. 9 มิ.ย.-บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อสงสัยว่าเหตุใดจะต้องมีการทำลายของกลางที่ละเมิดลิขสิทธิ์ต่างๆ ทั้งที่น่าจะนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้ เรื่องนี้ความจริงเป็นอย่างไร ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์.-สำนักข่าวไทย
บทสรุป : จริง แชร์ต่อได้
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท สอบถาม นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ระบุการทำลายของกลางคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเพราะเป็นของผิดกฎหมาย เป็นไปตามข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างไทยกับอีกหลายประเทศที่เป็นภาคีร่วมกันเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาว่าจะไม่มีสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์กลับไปสู่ท้องตลาด หรือส่งออกไปยังต่างประเทศ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบการที่สุจริต ปกป้องความปลอดภัยและสร้างความเป็นธรรมแก่สังคม
ภายหลังการจับกุม-ยึดของผิดกฎหมายแล้วจะมีกระบวนการควบคุม ประสานงานกับตำรวจ ศุลกากร นับจำนวน จัดเวรยาม และทำลายในวิธีที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม โดยปี 2560 มีการทำลายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว 3 ล้าน 6 แสนกว่าชิ้น จำนวน 300 กว่าตัน ของที่ทำลายส่วนมากเป็นของนำเข้าจากต่างประเทศ
อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ย้ำว่าการใช้สินค้าปลอมนอกจากจะเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นแล้ว บางครั้งยังเสี่ยงอันตราย-สิ้นเปลือง เพราะสินค้าปลอมหลายอย่างไม่ได้มาตรฐาน มีส่วนทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย จึงต้องมีการปลูกฝังให้ประชาชนเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ควรใช้ของปลอม
วิธีการ • Add LINE ของสำนักข่าวไทย เข้าไปที่เพิ่มเพื่อน แล้วพิมพ์ @TNAMCOT ถ้าได้รับแชร์อะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาให้เราตรวจใน “ชัวร์ก่อนแชร์” พบกับสกู๊ปข่าวนี้ได้ในข่าวค่ำสำนักข่าวไทยทุกวัน
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter