เปิดความสำเร็จพัฒนาวัคซีน เนื่องในวันวัคซีนเอชไอวีสากล

กทม.18 พ.ค.-นักวิจัยวัคซีนไทย เปิดเผยความสำเร็จการพัฒนาวัคซีน  ในโอกาสวันวัคซีนเอชไอวีสากล ที่ผ่านมา20 ปีมีความก้าวหน้ามากและไม่ต้องรออีก20 ปีที่ประชากรโลกจะได้ใช้วัคซีนเอชไอวีที่นักวิจัยไทยประชาชนไทยและผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดความสำเร็จนี้ 


พญ.พรรณี  ปิติสุทธิธรรม ศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า 18 พฤษภาคมของทุกปีถูกกำหนดเป็นวันวัคซีนเอชไอวีสากลเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับวัคซีนเอชไอวี ที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญยุติการแพร่ระบาดของการติดเชื้อเอดส์  ไทยเป็นประเทศสำคัญที่ทำโครงการวิจัยวัคซีนเอดส์มาตั้งแต่ปี 2536 ชื่อวัคซีน rgp120 ทดลองในผู้ติดยาเสพติดที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี โดยความร่วมมือของ กทม.คณะวิทยาศาสตร์เขตร้อน  มหาวิทยาลัยมหิดล  กระทรวงสาธารณสุขและ ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา


ต่อมาปรับแนวคิดใหม่ทดสอบใช้วัคซีนแบบปูพื้น- กระตุ้นในกลุ่มผู้ใหญ่ชาวไทย หรือเรียกว่า  การฉีดวัคซีนปูพื้น-กระตุ้นผลการทดสอบระยะที่ 1 และ 2 ในปี2542-2545 พบวัคซีนปลอดภัยสามารถกระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันทางน้ำเลือดและในเซลล์ได้ นำสู่การวิจัยในมนุษย์ระยะที่  3 พ.ศ.2546 หรือที่เรียกอาร์วี 144 ทดสอบในกลุ่มผู้ใหญ่ จ.ชลบุรี ระยอง           ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี กว่า 16,000 คน โดยความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข  คณะเวชศาสตร์เขตร้อน  มหาวิทยาลัยมหิดล  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร และสถาบันวิจัยสุขภาพสหรัฐอเมริกา  


ผลวิเคราะห์ ปี 2552 สรุปว่าวัคซีนมีประสิทธิผล สามารถลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ 31.2เปอร์เซ็นต์ มีภูมิคุ้มกันระยะเวลาประมาณ 3 ปี นับ เป็นก้าวสำคัญยิ่งของการพัฒนาวัคซีนเอดส์ เพราะเป็นครั้งแรกของโลก        ที่พบว่าวัคซีนเอดส์มีประสิทธิผลในการป้องกัน ต่อมาวัคซีนนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นวัคซีนสายพันธุ์ C โดยใส่สารเสริมฤทธิเรียกว่า เอ็มเอฟ 59 ซึ่งขณะนี้กำลังทดสอบหาประสิทธิผลในประเทศแอฟริกา  คาดจะทราบผลอีก 2 ปีข้างหน้า 

พัฒนาการของวัคซีนในปัจจุบันมีการศึกษาประสิทธิภาพให้กว้างขวางออกไปอีก ซึ่งขณะนี้คณะเวชศาสตร์เขตร้อนและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารกำลังศึกษาอุบัติการ การติดเชื้อในกลุ่มชายรักชายโดยหวังจะมีกันศึกษาหาประสิทธิผลของวัคซีนปูพื้นAD2 6 ซึ่งกระตุ้นด้วยโปรตีนGp140ซึ่งเป็น สายของโปรตีนที่ยาวขึ้นเพื่อประสิทธิผลในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ยาวนานมากขึ้นนั่นเอง เนื่องจากวัคซีนเอชไอวีนักวิจัยจะต้องพัฒนาให้มีวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงพอที่จะสามารถนำมาใช้ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ในราคาที่เหมาะสมกับประชากรกลุ่มใหญ่และกลุ่มเสียงได้ครอบคลุม

งานวิจัยวัคซีนเอชไอวีของไทยแสดงให้โลกเห็นถึงความมุมานะและพัฒนาวัคซีนตลอด 20 ปีที่ผ่านมาซึ่งวัทีมนักวิจัยของคณะเวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรไทยและผู้เกี่ยวข้องทุกคนหวังว่าในวันครบรอบ 20 ปีของวัคซีนเอชไอวีสากลนี้ชาวโลกคงไม่ต้องรอไปอีก 20 ปีเพื่อได้รอฟังข่าวดี ๆ เกี่ยวกับวัคซีนเอชไอวีหวังว่าความสำเร็จครั้งต่อไปคงมาถึงในระยะเวลาอันใกล้.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง