ไทยใช้ก๊าซฯ ล่วงหน้า JDA-บงกช รองรับวิกฤติประมูลแหล่งก๊าซบงกช-เอราวัณล่าช้า

กรุงเทพฯ18 พ.ค. – ไทยใช้ก๊าซฯ ล่วงหน้า JDA-บงกช รองรับวิกฤติประมูลแหล่งก๊าซบงกช-เอราวัณล่าช้า ให้ ปตท.ขยายคลังแอลเอ็นจีแห่งแรกรับ 15 ล้านตัน ด้าน ปตท. สผ.แต่งตัวพร้อมประมูลและคงกำลังผลิตบงกชถึงปี 2563


จากปัญหาการบริหารงานพลังงานของไทยสะดุด เพราะมีการคัดค้านทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินและการเปิดประมูลแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งบงกชและเอราวัณล่าช้าส่งผลกระทบต่อก๊าซที่จะหายไปช่วงปี2564-2567 คิดเทียบเท่ากำลังผลิตไฟฟ้า 1,700 เมกะวัตต์

นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า คณะกรรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) เห็นชอบแผนบริหารจัดการ ซึ่งในส่วนก๊าซของไทยจะนำก๊าซล่วงหน้าหรือก๊าซที่เดิมมีแผนจะใช้ในระยะยาวนำมาใช้ก่อน มีผลทำให้ก๊าซจะหมดเร็วกว่าแผนเดิมหากไม่พบสำรองก๊าซใหม่ โดยจะนำมาใช้ก่อนทั้งแหล่งบงกชและแหล่งพัฒนาร่วมไทย- มาเลเซีย หรือเจดีเอ ส่วนแหล่งเอราวัณนั้นทางเชฟรอนฯ ผู้ผลิตยังไม่ตอบตกลง นอกจากนี้ จะนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีเพิ่มขึ้น โดยให้ ปตท.ขยายการก่อสร้างสถานีรับจ่ายก๊าซแอลเอ็นจีจาก 11.5 ล้านตัน/ปี เป็น 15 ล้านตัน/ปี


สำหรับแหล่งบงกชที่ดึงก๊าซปลายแผนมาใช้นั้น จะส่งผลให้ปริมาณสำรองก๊าซฯ ที่พิสูจน์แล้วเพื่อผลิตต่อได้อีก 10 ปีก็อาจคงเหลือเพียง 8 ปี ซึ่งจะส่งผลให้ราคาประมูลของแหล่งบงกชอาจจะต่ำกว่าแหล่งเอราวัณ ส่วนราคาก๊าซฯ ในส่วนเพิ่มที่ให้ผู้ผลิต คือ บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) คงระดับการผลิตนั้นจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1-2 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู จากหลักเกณฑ์เดิม  

ส่วนแหล่งเจดีเอขณะนี้กำลังหารือกับมาเลเซียว่าจะเลือกรูปแบบใด โดยแหล่งนี้แต่ละฝ่ายจะรับก๊าซฯ จากแหล่งผลิตตามสัดส่วนฝ่ายละครึ่ง แนวทางแรกไทยจะขอเร่งใช้ในส่วนของไทยเพิ่มการรับก๊าซฯ อีก 120 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ส่วนแนวทางที่ 2 อาจซื้อก๊าซฯ ในสัดส่วนของมาเลเซียมาใช้ตามราคาที่ตกลงนำเข้า เพื่อให้ผ่านพ้นในช่วงวิกฤติก๊าซฯ ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กรณีนี้จะต้องรอความชัดเจนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่จะยืนยันแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ โรงที่ 3 ขนาดประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะมีความต้องการใช้ก๊าซฯ ประมาณ 120-140 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน หากดำเนินการได้ทันก็พร้อมที่จะรับก๊าซฯ เพิ่มเข้ามาได้ในช่วงปี 2564 

สำหรับความคืบหน้าการประมูลแหล่งเอราวัณ- บงกช ที่จะหมดอายุสัมปทานปี 2565 และ2566 กำลังผลิตรวม 2,100 ล้าน ลบ.ฟ./วัน หรือประมาณร้อยละ  40  ของความต้องการใช้ก๊าซฯ ของประเทศ 


ขณะนี้กรมฯ อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารเชิญชวนประมูล (TOR) ของแหล่งบงกชและเอราวัณให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เบื้องต้นหากได้รับอนุมัติจาก ครม.แล้ว คาดว่าจะออก TOR ได้ภายในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม และใช้เวลาหลังจากนั้นอีก 6-7 เดือน เพื่อคัดเลือกผู้ชนะประมูลให้แล้วเสร็จ

นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. กล่าวว่า ตามแผนของภาครัฐ ปตท.สผ.จะคงกำลังผลิตแหล่งบงกชประมาณ 900 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ไปจนถึงปี 2563 หากการประมูลแหล่งหมดอายุเป็นไปอย่างรวดเร็วผู้ผลิตจะได้มั่นใจลงทุนได้ แต่เมื่อประมูลล่าช้าก็จะกระทบต่อกำลังผลิตโดยการคงกำลังผลิตต้องมีการลงทุนเพิ่ม ก็ต้องเจรจาราคาที่เหมาะสม และไม่กระทบค่าไฟฟ้าประชาชน เกณฑ์เบื้องต้น คือ ไม่สูงกว่าราคาสัญญาแอลเอ็นจีระยะยาว

โดยเบื้องต้นบริษัทได้เตรียมความพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลแหล่งปิโตรเลียมที่จะหมดอายุ หลังในช่วง 3 ปีที่ราคาน้ำมันต่ำบริษัทได้ปรับกลยุทธ์จนสามารถทำให้ต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) ลดลงถึงร้อยละ 30 อีกทั้งการประมูลในแหล่งบงกช ที่บริษัทเป็นผู้รับสัมปทานอยู่ในปัจจุบัน ทำให้มีความคุ้นเคยก็จะใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่เพื่อเตรียมเข้าประมูล ซึ่งน่าจะทำให้บริษัทสามารถแข่งขันในการประมูลครั้งนี้ได้ดี  

นายสมพร กล่าวด้วยว่า บริษัทเตรียมพร้อมในการประมูลแหล่งบงกชที่บริษัทเป็นผู้ดำเนินการ   ขณะเดียวกันก็ให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลแหล่งเอราวัณด้วย กำลังหารือร่วมกับเชฟรอน อาจจะเป็นการประมูลร่วมกับกับกลุ่มเชฟรอนที่เป็นเจ้าของสัมปทานในปัจจุบัน ซึ่งรูปแบบอาจเป็นการตั้งบริษัทใหม่ร่วมกันเพื่อเข้าประมูล ส่งผลให้มีสัดส่วนการถือหุ้นที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ถือหุ้นอยู่เพียงร้อยละ 5 ในโครงการคอนแทร็ค 3 ซึ่งเป็นหนึ่งในแปลงของแหล่งเอราวัณ หรือ ปตท.สผ.อาจจะเข้าประมูลโดยบริษัทเอง ทั้งนี้เงื่อนไขก็ขึ้นอยูกับจะสรุปกับเชฟรอนอย่างไร

“เรื่องการประมูลแหล่งบงกช บริษัทมีความมั่นใจ เพราะเป็นโอเปอเรเตอร์อยู้แล้วและจากในช่วง 3 ปีที่ราคาน้ำมันต่ำบริษัทได้ปรับกลยุทธ์จนสามารถทำให้ต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) ลดลงถึงร้อยละ 30 ทำให้เชื่อว่า ต้นทุนต่ำบวกความชำนาญก็ทำให้แข่งขันได้” นายสมพร กล่าว

 ส่วนเรื่องที่รัฐบาลอินโดนีเซียฟ้องร้องว่าได้รับผลกระทบจากน้ำมันรั่วในแหล่งมอนทาราประเทศออสเตรเลียนั้น จนถึงขณะนี้ทางบริษัทยังไม่ได้รับเอกสารแจ้งอย่างเป็นทางการจากอินโดนีเซียแต่อย่างใด.- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่